Smart Factory คืออะไร ถ้าเป็นโรงงานเก่าสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่

Smart Factory คืออะไร ถ้าเป็นโรงงานเก่าสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่

อัปเดตล่าสุด 7 พ.ค. 2567
  • Share :
  • 933 Reads   

Smart Factory คืออะไร สำคัญมากแค่ไหน อาจเป็นหนึ่งในโจทย์ที่หลาย ๆ โรงงานต้องหาคำตอบหากไม่อยากตกขบวน เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลได้ขับเคลื่อนโลกไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้เกิดการแข่งขันในทุกอุตสาหกรรม 

ในปัจจุบัน โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อย ไม่ได้ใช้กำลังผู้คนจำนวนมากในการผลิตสินค้าอย่างภาพจำของหลาย ๆ คนอีกต่อไป แต่ก้าวเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า Smart Factory หรือโรงงานอัจฉริยะไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมกับการทำงานในโรงงาน ส่งเสริมการทำงานแบบเก่าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การประยุกต์เทคโนโลยีดังกล่าวมีแง่ใดบ้าง หากเป็นโรงงานรูปแบบเก่าจะสามารถปรับปรุงตัวเองสู่ Smart Factory ได้หรือไม่ สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้

Smart Factory ก้าวต่อไปของโรงงานที่มีประสิทธิภาพ

Smart Factory คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเทคโนโลยีอย่าง Robotics, Internet of Things (IoT), และ Artificial Intelligence (AI) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งหมดให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยที่อยู่ภายใต้งบประมาณที่เหมาะสมของโรงงานนั้น ๆ 

สาเหตุที่ Smart Factory หรือโรงงานอัจฉริยะมีความสำคัญขึ้นมาในปัจจุบัน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลของโรงงานในระดับสากล ที่ส่งผลให้การแข่งขันทางการผลิตที่สูงขึ้นทั่วโลก ทั้งปริมาณ ความเร็ว และคุณภาพในการผลิต โดยใช้งานบุคลากรและเครื่องจักรอย่างเหมาะสม ลดความสูญเปล่าให้ได้มากที่สุด

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของโรงงานอัจฉริยะ คือการติดตั้งอุปกรณ์ IoT เพื่อเชื่อมต่อระบบการผลิต การใช้งานหุ่นยนต์เพื่อทุ่นแรงมนุษย์ หรือการใช้งานป้ญญาประดิษฐ์ เพื่อควบคุมปริมาณการผลิตให้มีความเหมาะสมตามความต้องการในขณะนั้น เป็นต้น

เปรียบเทียบกับโรงงานทั่วไป Smart Factory แตกต่างอย่างไร

 

1. ลดจำนวนแรงงาน แต่กำลังในการผลิตไม่ลดลง

Smart Factory ได้นำเทคโนโลยีเครื่องจักร และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการทำงาน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ในจำนวนเท่าเดิม แต่ก็สามารถผลิตได้ในปริมาณเท่าเดิมหรือมากกว่าได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังไม่ต้องเป็นกังวลถึงความผิดพลาดของชิ้นงานที่อาจเกิดขึ้นจาก Human Error อีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยรักษามาตรฐานของโรงงานได้เป็นอย่างดี

2. สร้างกำไรได้ในระยะยาว

แม้ว่าโรงงานอัจฉริยะจะใช้เงินทุนในการสร้างระบบที่ค่อนข้างสูง แต่หากมองในระยะยาวแล้ว จะเห็นได้ว่าการลงทุนนี้เป็นสิ่งที่คุ้มค่าต่อโรงงาน เพราะโดยปกติต้นทุนของโรงงานส่วนมากจะถูกนำไปใช้กับการจ้างแรงงาน แต่การนำเครื่องจักรเข้ามาควบคุมการผลิตภายในโรงงาน ทำให้จำนวนของพนักงานที่ต้องจ้างต่อเดือนนั้นลดลง ประกอบกับเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีความทนทานที่สูง เครื่องจักรหนึ่งเครื่องจึงสามารถใช้งานได้ยาวนานหลายปี ทำให้เมื่อเทียบกับการจ่ายค่าจ้างพนักงานในทุก ๆ เดือน กับค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงของเครื่องจักรแล้ว จะพบว่า ตัวเลือกในการปรับเปลี่ยนสู่โรงงานอัจฉริยะ มีความน่าสนใจมากกว่าพอสมควรเลยทีเดียว

3. เวลาในการผลิตที่ลดลง

อีกหนึ่งสิ่งที่เครื่องจักรสามารถทำได้ดีกว่ามนุษย์ นั่นก็คือความเร็วในการทำงาน เพราะมีข้อแตกต่างตรงที่เครื่องจักรนั้นสามารถทำงานได้เรื่อย ๆ โดยไม่มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย แม้ว่าจะต้องมีการพักเครื่องบ้าง แต่โดยรวมแล้ว ก็ยังนับว่ามีชั่วโมงในการทำงานที่นานกว่ามนุษย์ค่อนข้างมาก นี่จึงเป็นการช่วยยกระดับโรงงานขึ้นไปอีกขั้น ทำให้ผู้ประกอบการมีเวลาเหลือเฟือเพื่อนำไปพัฒนาส่วนอื่น ๆ อีกมากมาย

4. ข้อมูลเชิงลึก เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือชั้น

อีกหนึ่งจุดแข็งของโรงงานอัจฉริยะนั่นก็คือความสามารถในการรวบรวมข้อมูล (Data) โดยข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้น สามารถนำมาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานได้ ข้อมูลที่ได้เหล่านี้มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากต่อการคำนวณแผนการผลิต โดยสามารถนำมาคิดคำนวณเพื่อมองหาแนวทางในการลดต้นทุน หรือปรับเปลี่ยนเพื่อร่นระยะเวลาการทำงานลงได้นั่นเอง

5. ลดโอกาสในความผิดพลาด

หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้เห็นข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในโรงงานอยู่บ่อยครั้ง อย่างการบาดเจ็บเพราะการทำงานกับเครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่ง Smart Factory สามารถลดข้อผิดพลาดในจุดนี้ได้เป็นอย่างดี 

เนื่องจากระบบของโรงงานอัจฉริยะจะเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และวางแผนการทำงานภายในโรงงานให้ออกมาเป็นรูปแบบอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดได้อย่างแม่นยำ ระบบ Automation ของเครื่องจักรนั้น หากมีการตั้งค่าที่ดีพอ ก็แทบจะไม่ต้องใช้แรงงานของมนุษย์เข้าไปร่วมทำงาน ทำให้โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุนั้นลดน้อยลงเป็นอย่างมาก

 

ปรับโรงงานเก่าให้เป็น Smart Factory ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

การเริ่มเปลี่ยนโรงงานเดิมให้เป็นโรงงานอัจฉริยะนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิด แต่อาจมีความซับซ้อนอยู่บ้าง ซึ่งก่อนจะเปลี่ยนเป็น Smart Factory ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อนตัดสินใจ เพื่อให้การทำโรงงานอัจฉริยะ คุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้ในระยะยาวมากที่สุด สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำโรงงานอัจฉริยะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง

ก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนโรงงานของเรานั้นไปเป็นโรงงานอัจฉริยะ ต้องเริ่มจากการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก่อนว่า เพราะอะไรถึงอยากเปลี่ยนโรงงานธรรมดาไปเป็นโรงงานอัจฉริยะ มีความจำเป็นมากแค่ไหน ต้องการเปลี่ยนส่วนใดส่วนหนึ่งหรือระบบทั้งหมดของโรงงาน รวมถึงต้องการเปลี่ยนโรงงานไปเป็นรูปแบบใด

2. ประเมินศักยภาพโรงงาน

ก่อนที่จะยกระดับไปเป็นโรงงานอัจฉริยะ จำเป็นจะต้องมีการสำรวจ ตรวจสอบทุกอย่างของโรงงานให้ดี ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน กำลังคน ค่าใช้จ่ายคงที่ เพื่อมองภาพรวมของโรงงานก่อนว่า การเปลี่ยนโรงงานเดิมไปเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้น ทำเพื่ออะไร และคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

3. งบประมาณในการลงทุน

สิ่งสำคัญที่ต้องศึกษาก่อนเริ่มต้นเปลี่ยนโรงงานเดิมเป็น Smart Factory คืองบประมาณที่จะต้องใช้ในการลงทุน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของเครื่องมือที่ต้องติดตั้ง ผู้ประกอบการจะต้องมีความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับโรงงานอัจฉริยะให้ดีเสียก่อน เพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ดูว่าการลงทุนนั้นมีความคุ้มค่าสูงสุด

และเนื่องจากในปัจจุบัน การพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในทุกวัน ทำให้ราคาของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนโรงงานเก่าไปเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้น มีราคาที่ถูกลงและติดตั้งได้ง่ายยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ครอบคลุมไปถึงเซนเซอร์ต่าง ๆ และอุปกรณ์สำหรับการวางระบบ ซึ่งสินค้าของทาง Murata ในปัจจุบันที่จัดจำหน่ายอยู่ ก็จัดอยู่ในหมวดของสินค้าสำหรับการเปลี่ยนโรงงานเดิมให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะ โดยสินค้าดังกล่าวมีดังนี้ 

เซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแบบไร้สาย (Wireless Vibration Sensor)

เป็นเซนเซอร์สำหรับวัดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในเครื่องจักร เพื่อตรวจสอบสภาพของเครื่องจักรในขณะนั้นว่ามีสภาพอย่างไร มีด้วยกัน 2 รุ่น ได้แก่

           > รุ่น LBAC0ZZ1LZ

รุ่น LBAC0ZZ1LZ เป็นเซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแบบไร้สายแบบ Acceleration model ที่สามารถวัดได้เฉพาะค่าความเร่ง (Acceleration) ซึ่งจะเหมาะกับวัดความสั่นสะเทือนตั้งแต่ย่าน 12.5 ถึง 10,000 Hz

          > รุ่น LBAC0ZZ1TF

รุ่น LBAC0ZZ1TF เป็นเซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแบบไร้สายแบบ Velocity model ที่จะเหมาะกับการวัดความสั่นสะเทือนตั้งแต่ย่าน 10 ไปจนถึง 10,000 Hz โดยสามารถวัดได้ทั้งค่าความเร่ง (Acceleration) ในย่าน 10 ถึง 10,000Hz และ ค่าความเร็ว (Velocity) ในย่าน 10 ถึง 1,000Hz อีกทั้งยังนำค่าความเร็วไปตรวจกับตาราง ISO 10816 เพื่อพอที่จะรู้ได้ว่าเครืองจักรอยู่ในเกณฑ์สุขภาพอย่างไรบ้าง

เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Temperature Humidity Sensor)

เป็นเซนเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้นภายในอาคารและโรงงาน เพื่อตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของอุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่การทำงานว่ามีสภาพเป็นเช่นไรในขณะนั้น มีด้วยกัน 1 รุ่น คือ

            > รุ่น LBAC0ZZ1AN

รุ่น LBAC0ZZ1AN เป็นเซนเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้นที่ใช้ในการสังเกตการณ์ รวมถึงตรวจวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -10℃ ถึง 60℃ และสามารถวัดความชื้นสำหรับโรงงานและอาคารได้ตั้งแต่ 10%RH ถึง 90%RH

เซนเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าแบบไร้สาย (Wireless Current Sensor)

เป็นเซนเซอร์สำหรับวัดค่าของสัญญาณไฟฟ้าที่เครื่องจักรปล่อยออกมา แล้วนำมาประมวลผลเพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งใช้เพื่อตรวจสอบสภาพมอเตอร์ไฟฟ้า ผ่านการวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้าต่าง ๆ ออกมาด้วยกัน 2 รุ่น

   > รุ่น LBAC0ZZ1MT

รุ่น LBAC0ZZ1MT เป็นเซนเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าแบบไร้สาย ที่สามารถรองรับการวัดสายเคเบิลแบบหนา ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกได้สูงสุดถึง 36 มิลลิเมตร และวัดกระแสไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 0.1 ถึง 80A และ 0.1 ถึง 200A

            > รุ่น LBAC0ZZ1NT

รุ่น LBAC0ZZ1NT เป็นเซนเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าแบบไร้สาย ที่สามารถรองรับการวัดสายเคเบิลแบบหนา ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกได้สูงสุดถึง 36 มิลลิเมตร และวัดกระแสไฟฟ้าได้ตั้งแต่ สามารถวัดได้ตั้งแต่ 1 ถึง 500A

เซนเซอร์แปลงสัญญาณแอนะล็อกแบบไร้สาย (Analog Pulse Signal Converter Sensor)

เป็นเซนเซอร์ที่เอาไว้สำหรับเก็บข้อมูลแบบไร้สาย โดยใช้แอนะล็อกเซนเซอร์ จากกระแสไฟฟ้าที่ออกจากเซนเซอร์เดิมที่เราติดตั้งเอาไว้กับเครื่องจักร ออกมา 2 รุ่นด้วยกัน ได้แก่

             > รุ่น LBAC0ZZ1MU

รุ่น LBAC0ZZ1MU เป็นเซนเซอร์แปลงสัญญาณแอนะล็อกแบบไร้สาย ที่จะใช้การส่งสัญญาณแอนะล็อก 4-20mA ไปยังปลายทางที่เป็นห้องคอนโทรล ซึ่งมีความแม่นยำอยู่ที่ ± 0.2% mA

            > รุ่น LBAC0ZZ1RU

รุ่น LBAC0ZZ1RU เป็นเซนเซอร์แปลงสัญญาณแอนะล็อกแบบไร้สาย ที่จะใช้การส่งสัญญาณแอนะล็อก 0-5V ไปยังปลายทางที่เป็นห้องคอนโทรล ซึ่งมีความแม่นยำอยู่ที่ ± 0.2% mA

ตัวขยายสัญญาณ (Repeater)

เป็นอุปกรณ์สำหรับเพิ่มระยะการส่งสัญญาณแบบไร้สาย สำหรับการติดตั้งในโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งทาง Murata ออกมา 1 รุ่น ได้แก่

            > รุ่น LBAC0ZZ1AR

รุ่น LBAC0ZZ1AR จะช่วยเพิ่มระยะการส่งข้อมูลของเซนเซอร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้ในแต่ละจุดของโรงงาน ให้สามารถส่งไปถึงห้องคอนโทรลที่อยู่นอกระยะการส่งข้อมูลได้

ตัวรับสัญญาณ (Gateway)

เป็นอุปกรณ์สำหรับรับสัญญาณข้อมูลจากเซนเซอร์ต่าง ๆ โดยทาง Murata มีด้วยกัน 1 รุ่น  ได้แก่

      > รุ่น LBAC0ZZ1SU

 

รุ่น LBAC0ZZ1SU ตัวรับสัญญาณที่ผ่านการรับรองการใช้สัญญาณวิทยุในย่านความถี่ Proprietary ISM sub-1GHz ในประเทศไทย

4. แจ้งพนักงานและอบรม

หลังจากตัดสินใจแล้วว่าจะยกระดับโรงงานเดิมให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ สิ่งที่ขาดไม่ได้และมีความสำคัญมากต่อระบบการผลิต รวมถึงระบบการบริหารงานทั้งหมดของโรงงาน คือพนักงาน เพราะต้องมีการแจ้งและจัดการอบรมให้กับพนักงาน เพื่อให้เข้าใจการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และดูว่าเตรียมพร้อมที่จะรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้แค่ไหน

5. ทดสอบระบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ

ก่อนที่จะดำเนินการติดตั้งระบบโรงงานอัจฉริยะ เข้ากับโรงงานเดิมของเรา จำเป็นจะต้องมีการทดสอบระบบเสียก่อน เพื่อตรวจสอบและรับรู้ถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น จะได้สามารถทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ก่อนทำการติดตั้งระบบจริง และหลังจากที่ติดตั้งระบบแล้ว ต้องมีการตรวจสอบหลังติดตั้งอีกด้วย เพื่อยืนยันว่าโรงงานจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

ซึ่งหากทางโรงงานของคุณสนใจที่จะติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ต่าง ๆ กับทาง Murata ทางบริษัทก็จะติดต่อกลับไปเพื่อทำความเข้าใจว่า โรงงานของคุณนั้นต้องการที่จะแก้ไขปัญหาใด และความท้าทายของโรงงานที่กำลังเผชิญคืออะไร เพื่อที่ทาง Murata จะได้นำเสนอระบบเซนเซอร์ และการกำหนดค่าที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานเฉพาะของโรงงานนั้น ๆ 

มูราตะยังมีบริการ Onsite demo เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองใช้งานชุดอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้ง และให้ทางโรงงานประเมินความสามารถของเซนเซอร์ต่าง ๆ ที่ต้องการจะใช้งาน 

นอกจากนี้หลังจากเสร็จสิ้นการเสนอราคาที่ตกลงกันไว้ มูราตะยังมีบริการวัดระยะทางการส่งสัญญาณของเซนเซอร์ เพื่อที่จะได้ทำการปรับแก้ไข หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น มีปัญหาในเรื่องของการวัดค่า ฯลฯ ก่อนจะทำการติดตั้งชุดอุปกรณ์ทั้งหมดตามใบสัญญา

และหลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อย มูราตะจะมีการดำเนินการตรวจสอบระบบต่าง ๆ อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความแม่นยำในการตรวจจับ การดำเนินงานของอุปกรณ์ และการทำงานโดยองค์รวม เพื่อที่ท้ายสุดแล้ว ระบบการตรวจจับของทางเราจะสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ

6. ใช้งานจริงและติดตามผล

เมื่อเริ่มดำเนินการใช้ Smart Factory จริงหลังติดตั้งและตรวจสอบแล้ว ช่วงแรกผู้ประกอบการควรจะติดตามผลของระบบโรงงานอัจฉริยะอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ เพื่อประเมินผลลัพธ์ต่อไปว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน หรือได้ตามเป้าที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ เพื่อการวางแผนในระยะยาวต่าง ๆ หลังจากนี้

โดยหากทางโรงงานที่ใช้งานสินค้าเซนเซอร์ต่าง ๆ และอุปกรณ์สำหรับการวางระบบของทาง Murata มีคำถามทางเทคนิคเกิดขึ้นขณะใช้งานจริง ผู้เชี่ยวชาญของทางบริษัทก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนนอกสถานที่ ทั้งทางโทรศัพท์ และทางอีเมล หรือหากต้องการการสนับสนุนทางเทคนิคที่หน้างาน ก็สามารถติดต่อทาง Murata โดยตรงให้ส่งผู้เชี่ยวชาญลงไปตรวจสอบก็ได้เช่นเดียวกัน

สรุป

การเริ่มปรับเปลี่ยนโรงงานเก่าเพื่อทำ Smart Factory ไม่ใช่สิ่งที่ยากดังเช่นที่หลาย ๆ คนคิดเอาไว้ ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว การวางระบบไม่ใช่สิ่งที่ยาก และลงทุนมากมายเท่าแต่ก่อน ยกตัวอย่างเช่นเซนเซอร์แบบไร้สายของทางมูราตะ ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล ตรวจจับแนวโน้มการเกิดความผิดปกติ และลดความผิดพลาดในการทำงานของเครื่องจักรลง 

ทั้งเซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแบบไร้สาย เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นไร้สาย และเซนเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าแบบไร้สาย รวมไปถึงยังมีอุปกรณ์สำหรับการวางระบบต่าง ๆ อย่างเซนเซอร์แปลงสัญญาณแอนะล็อกแบบไร้สาย ตัวขยายสัญญาณ และตัวรับสัญญาณ พร้อมทั้งผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาในการวางระบบจากทาง Murata ที่ช่วยให้ก้าวแรกในการปรับเปลี่ยนโรงงานเก่าให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้นง่ายยิ่งขึ้น หากสนใจสามารถเข้าไปชมสินค้าและติดต่อได้ที่เว็บไซต์ Murata โดยตรง หรือติดต่อวิศวกรฝ่ายขายของมูราตะ 

ช่องทางติดต่อ Murata ทีมขาย: คุณเดชไชยนันท์ สอนโกษา (ทิว) โทร. 080-142-0057, คุณรชธร เอกนิตยบุญ (ปุ้) โทร. 081-132-4462