5 ข้อมัดใจ แรงงานไทยในบริษัทญี่ปุ่น

อัปเดตล่าสุด 4 พ.ย. 2562
  • Share :
  • 844 Reads   

เป็นที่ทราบกันดีในอุตสาหกรรมการผลิตว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นฐานการผลิตสำคัญของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นเล็งเห็นว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย และยุทธศาสตร์ “Thailand Plus One” อาจกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้บริษัทญี่ปุ่นสามารถรักษาแรงงานได้ในอนาคต สืบเนื่องจากตัวยุทธศาสตร์ จะนำมาซึ่งความต้องการแรงงานไทยในภาคส่วนอื่น นอกจากนี้ แรงงานไทยส่วนใหญ่ มักมีประสบการณ์เปลี่ยนสถานที่ หรือสายอาชีพในการทำงานอีกด้วย

Yokohama College of Commerce ได้จัดทำแบบสำรวจบริษัทญี่ปุ่นในกรุงเทพและปริมณฑล โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 136 บริษัท พบว่า 82.1% ของแรงงานไทย พอใจในอาชีพปัจจุบัน ในขณะที่ 7.5% ไม่พอใจ 

ด้วยเหตุนี้เอง Mr. Tomohito Seki ศาสตราจารย์คณะพาณิชยศาสตร์ Doshisha University และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการจัดการ SME ประเทศญี่ปุ่น จึงได้เสนอ 5 แนวทางสำคัญ ที่จะจูงใจให้คนไทยทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  1. แรงงานไทย ต้องการมีส่วนร่วมในการบริหาร หรือเล็งเห็นว่าการมีส่วนบริหารคือความคืบหน้าทางสายอาชีพ จึงควรมอบอำนาจให้กับพนักงานในไทยมากยิ่งขึ้น
  2. แรงงานไทยต้องการเป็นที่ยอมรับภายในบริษัท จึงควรมีการประเมินผล ค่าจ้าง และตอบแทนอื่นให้แก่พนักงานอย่างเหมาะสม
  3. แรงงานไทยให้ความสำคัญกับสวัสดิการ และความก้าวหน้าทางการงานมากขึ้น จึงควรนำเสนอแผนการประเมิน และสวัสดิการที่ได้รับให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น
  4. แรงงานไทยตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตัวเองมากขึ้น จึงควรสร้างสภาพแวดล้อมที่พนักงานมีโอกาสพัฒนาตัวเอง หรือให้พนักงานอบรมกันเองมากขึ้น
  5. แรงงานไทยต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น จึงควรมีพื้นที่ และเวลา ให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันมากขึ้น

 

ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า ทั้ง 5 ข้อนี้ ไม่จำกัดแต่เพียงบริษัทญี่ปุ่น แต่ใช้ได้กับผู้ประกอบการทั่วไป และหากทำให้พนักงานพอใจได้ ก็จะนำมาซึ่งความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวทางทั้งหมดนี้ เป็นผลจากการวิเคราะห์คำตอบของแบบสอบถามเท่านั้น