การทำ Marking บนชิ้นงาน

ทำ Marking อย่างไร ให้เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

อัปเดตล่าสุด 3 ม.ค. 2567
  • Share :
  • 15,309 Reads   

การทำ Marking บนชิ้นงานของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่เป็นข้อกำหนดด้านกฎหมายและการค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนของเอกลักษณ์ ตัวตน คุณภาพ และการสืบค้นผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นได้  นอกจากนี้ การทำ Marking ยังถูกใช้เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มีบทบาททั้งในการโฆษณาแบรนด์ของผู้ผลิต การตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม และอื่น ๆ ด้วยการทำเครื่องหมายโลโก้ หรือแม้แต่ลวดลายต่าง ๆ  ประโยชน์เหล่านี้ได้จาก Industrial Marking หรือ การทำเครื่องหมายอุตสาหกรรม จึงช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจละเลยได้ 

ผู้ผลิตทุกรายต้องการทำเครื่องหมาย (Marking) บนผลิตภัณฑ์ และมีวัตถุประสงค์ของการทำ Marking แตกต่างกันไป อาทิ ทำเครื่องหมายให้ลึก, ทำเครื่องหมายบนพื้นผิว, ทำเครื่องหมายรอบชิ้นส่วน, บาร์โค้ด, หรือแบบมีสี ซึ่งมีเทคโนโลยีในการทำ Marking ที่แตกต่างกันตามความต้องการของเครื่องหมายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น Laser Marking หรือ การแกะสลักด้วยเลเซอร์ เป็นหนึ่งในกรรมวิธีที่มีความซับซ้อนที่สุดแต่ก็ยืดหยุ่นสูงสุดเช่นกัน การทำ Marking บนผลิตภัณฑ์ทรงกลมอย่างไรจึงจะออกมาได้สวยงามอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ไปจนกระทั่งซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้ในการทำ Marking จะให้อิสรภาพในการออกแบบและทลายข้อจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้อย่างไร  เนื่องจากเครื่องหมายต้องมีรอยที่คมชัด และสม่ำเสมอ แต่ด้วยความแตกต่างของชิ้นงาน ทำให้การทำเครื่องหมายมีความหลากหลาย ทั้งความต้องการเครื่องหมายตื้น-ลึก และบรรทัดต่อเนื่องบนวัสดุต่าง ๆ  เช่น พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม และวัสดุที่กัดได้ยาก, การทำเครื่องหมายสำหรับชิ้นงานทรงกลม, การทำเครื่องหมายแบบใช้ความร้อนสำหรับงานหนัง, และอื่น ๆ  จะเห็นได้ว่า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายในการเลือกสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตแต่ละราย​

โดย Automator Marking System ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเครื่องหมายอุตสาหกรรม และเครื่องจักรสำหรับการทำเครื่องหมายบนทุกพื้นผิว ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1940 จวบจนปัจจุบันเป็นเวลา 80 ปีแล้ว ได้เข้ามาแนะนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Industrial Marking ให้นักอุตสาหกรรมไทย ได้รู้จัก เข้าใจ และ เลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ผ่านบริษัท PTSC: Precision Tooling Services Co., Ltd. ซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทย 

เครื่องหมาย​อุตสาหกรรมคืออะไร?

เครื่องหมายอุตสาหกรรม คือ เครื่องหมายถึงวิธีการใช้งาน หรือ เครื่องหมายที่ใช้งานได้ สำหรับการระบุคุณสมบัติที่มา หรือคุณภาพลงบนชิ้นงาน

ทำไมเราต้องทำเครื่องหมายบนผลิตภัณฑ์? 

  • เป็นไปตามกฎหมายในประเทศ ระหว่างประเทศ และข้อบังคับ ที่บังคับให้บริษัททำเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ของตน
  • สำหรับการทำการตลาด (ทำเครื่องหมายโลโก้แบรนด์ และชื่อผู้ผลิต)
  • เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับการรับประกันจากผู้ผลิต (รุ่นหมายเลขผลิตภัณฑ์, วันที่ผลิต, ฯลฯ )
  • เพื่อพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
  • เพื่อป้องกันการปลอมแปลง
  • เพื่อความสวยงามของผลิตภัณฑ์
  • สำหรับความรับผิดทางแพ่ง และทางอาญาของผู้ผลิต
  • เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ "ตรวจสอบย้อนกลับได้" ในตลาด
  • เพื่อปรับแต่งผลิตภัณฑ์
  • เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นผิว

เราจะทำเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร?

การทำเครื่องหมายบนผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการทำเครื่องหมายไม่เหมือนกัน ทำให้กระบวนการทำเครื่องหมายแตกต่างกันไปตามชิ้นงาน และความต้องการ โดยรูปแบบการทำเครื่องหมายบนผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

เลเซอร์มาร์กกิ้ง (Laser Marking)

เลเซอร์มาร์กกิ้ง เป็นวิธีการที่มีความคล่องตัวสูงสุดในการจำแนกความแตกต่างของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  ทำงานด้วยการใช้แสงเลเซอร์ลำแสงที่มีความเข้มสูง ซึ่งจะถูกส่งไปยังพื้นผิว และขับเคลื่อนด้วยกระจกที่เคลื่อนไหวหรือหัวพล็อตเตอร์เพื่อสร้างต่ำแหน่งของเครื่องหมาย 

 

Dot peen marking

เป็นเทคโนโลยีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุผลิตภัณฑ์โดยการสร้างตัวอักษร ตัวเลข หรือภาพวาด ทำงานโดยการสั่นสะเทือนความถี่สูงของเข็มโลหะซึ่งควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกระแทกวัสดุที่เลือกต่อเนื่องด้วยจุดขนาดเล็ก

 

Impact Marking

ในบรรดาวิธีการทำเครื่องหมายที่มีอยู่หลากหลาย Impact Marking เป็นการทำเครื่องหมายแบบนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่ซับซ้อนที่สุด ด้วยเหตุนี้คุณภาพของเครื่องทำเครื่องหมายแบบนี้จึงมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

 

Scribe Marking

เป็นหนึ่งในวิธีที่เร็ว และเงียบที่สุด ประกอบด้วย “รอยขีด” ที่สร้างขึ้นโดยปลายบนพื้นผิวของผลิตภัณฑ์ เหมาะสำหรับการทำเครื่องหมายลึก และบรรทัดต่อเนื่องบนวัสดุ เช่น พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม และวัสดุเนื้อแข็งที่ทนทาน กัดได้ยาก

 

การทำเครื่องหมายแบบใช้ความร้อน

การทำเครื่องหมายร้อน ใช้สำหรับทำเครื่องหมายลงบนวัสดุโดยตรง ทำเครื่องหมายด้วยสีโอนสี หรือแถบไนลอนสี . เหมาะสำหรับไม้, PVC, ABS, พลาสติก, หนัง และวัสดุอื่น ๆ โดยทั่วไป

 

ซึ่งในการทำเครื่องหมายผลิตภัณฑ์นั้น นอกจากกระบวนการที่แตกต่างกันแล้ว ยังมีอีกหลายเทคโนโลยี และแอปพลิเคชันที่เหมาะสม ซึ่ง Automator Marking Systemเป็นรายเดียวที่ให้บริการเทคโนโลยีการทำเครื่องหมายทั้งหมดนี้ในทุกประเภท รวมถึงการทำ marking ในรูปแบบกำหนดเอง และเป็นเทคโนโลยีที่พบมากที่สุดในการทำเครื่องหมายอุตสาหกรรม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://bit.ly/2xIITh8