ผู้บริหารบริษัท Isuzu Motors เผย “การผลิตเครื่องยนต์ในยุค IoT”

อัปเดตล่าสุด 15 ก.ค. 2562
  • Share :
  • 850 Reads   

นำ IoT มาใช้ในการผลิตอย่างไร?

“บริษัทเรามีการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้ในสานยการผลิตเครื่องยนต์ในโรงงานหมายเลข 3 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2018 โดยออกแบบให้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการทำงานของเครื่องจักรเข้าสู่เซิฟเวอร์ ส่วนขั้นตอนการประกอบนั้น เราให้พนักงานสวมหมวกติด RFID เพื่อเก็บข้อมูลการทำงาน และนำไปปรับปรุงการทำงานด้วยการมอบหมายงาน และจัดตำแหน่งการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรามีแผนจะนำระบบนี้ไปใช้กับไลน์ผลิตระบบส่งกำลังต่อไป”


มีแนวทางการรับมือปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างไร?

“เรากำลังทดลองปรับสายการผลิตระบบส่งกำลังในโรงงานโทชิงิ และโรงงานฟุจิซาวะเป็นระบบอัตโนมัติ โดยเบื้องต้น เราเปลี่ยนบางส่วนของสายการผลิต มาเป็นสายการผลิตแบบไร้มนุษย์ ซึ่งคิดเป็นการทำงาน 2 ชั่วโมง โดยสามารถทำงานในช่วงพักเที่ยง หรือเวลาใดก็ได้ และช่วยให้พนักงานสามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องทำงานล่วงเวลา ซึ่งจะนำไปสู่การลดภาระของผู้ควบคุมโรงงานแห่งนั้นๆ ผมจึงมองว่า ระบบอัตโนมัติ คือสิ่งที่ผมอยากนำมาใช้แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่สุด”

สิ่งสำคัญของการผลิตคืออะไร?

“ปัจจุบัน เราให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถกระบะ และยานยนต์เชิงพาณิชย์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ส่วนยานยนต์รูปแบบอื่นๆ ผลิตในญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อมองเผินๆ จะเหมือนเราใช้ญี่ปุ่นเป็นฐานการผลิตหลัก แต่เราก็ให้ความสำคัญกับโรงงานทุกแห่ง เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรับผิดชอบการผลิตแบบน็อกดาวน์ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลการผลิตที่สำคัญ ซึ่งข้อมูลที่ได้ เราจะนำมาพัฒนาการผลิตในโรงงานอื่น ๆ ให้ดีขึ้น ส่วนในจีน และอินเดียนั้น เรามีกำลังการผลิตต่ำ จึงไม่ยากเกินไปที่จะบริหาร”

การมาของรถยนต์ไฟฟ้าส่งผลต่อ Isuzu อย่างไร

“ในส่วนของการประกอบรถนั้น หากเปลี่ยนขั้นตอนในส่วนของมอเตอร์ และแบตเตอรี่ เราก็สามารถผลิตต่อได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งแม้ว่าเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าจะคืบหน้าแค่ไหน หากเราแบ่งการผลิตยานยนต์แต่ละโมเดลให้เป็นสัดส่วน ก็จะสามารถผลิตตามเทคโนโลยีได้ไม่ยาก”

IoT ทำให้การทำงานเปลี่ยนไปแค่ไหน

“สำหรับ Isuzu ซึ่งสำคัญในการผลิต คือหลัก 3S ย่อมาจาก Seiri, Seiton, Seisou (การจัดการ, ระเบียบวินัย, และความสะอาด)” ซึ่งหากสามารถรักษาพื้นฐานนี้ไว้ได้ ก็จะสามารถพัฒนากระบวนการผลิตต่อไปได้ ไม่ว่ารูปแบบการผลิตจะเปลี่ยนไปแค่ไหนก็ตาม”