สุรพงศ์ ตั้งธราธร Factory Max ย้ำ ก้าวทีละขั้นด้วย Modular Automation สู่ Smart Factory

Factory Max ย้ำ ก้าวทีละขั้นด้วย Modular Automation สู่ Smart Factory

อัปเดตล่าสุด 28 ม.ค. 2563
  • Share :
  • 1,380 Reads   

บริษัท แฟ็คทอรี่ แม๊กซ์ จำกัด (Factory Max) ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์, อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลหะ จากหลากหลายแบรนด์คุณภาพทั่วโลก โดยมุ่งเน้นคัดสรรผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณสมบัติโดดเด่น ทั้งยังเป็นบริษัทที่มีการจัดอบรมทางเทคนิคเฉพาะด้าน หวังพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ทันเทคโนยีอยู่เสมอ และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตเดินมาถึงยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่ว่ากันด้วยเรื่องหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ไปจนถึง Smart Factory ผู้นำตลาดอย่าง Factory Max ไม่รอช้า เสนอโซลูชัน Modular Automation ที่จะนำพาผู้ประกอบการไทยเดินทางทีละขั้นสู่ Smart Factory อย่างมั่นคง

คุณสุรพงศ์ ตั้งธราธร ผู้บริหารกลุ่มบริษัท แฟ็คทอรี่ แม๊กซ์ (Factory Max) กล่าวกับข่าวออนไลน์ M Report ในงาน Metalex 2019 ที่ผ่านมา ถึงสถานการณ์เทรนด์การซื้อของลูกค้าที่เปลี่ยนไป จากประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในธุรกิจอุตสาหกรรม ตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจจากโรงงานแม่พิมพ์เล็ก ๆ ของครอบครัวในช่วงปี 1996 และพัฒนากระบวนการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ณ เวลานั้นมีการนำเอาเทคโนโลยี CNC เข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการในตลาดแม่พิมพ์ สะสมประสบการณ์ความรู้ด้านโลหะการ (Metalworking) ทั้งจากการศึกษาและประสบการณ์ตรงในการใช้งานจริง ความยากลำบากในช่วงเวลานั้นเป็นเรื่องของความต้องการเข้าถึงอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งถูกจำกัดด้วยเรื่องของการค้นหาข้อมูล เนื่องจากช่วงนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต ในขณะที่คุณสุรพงศ์ได้มีโอกาสศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ได้เปิดโลกทัศน์ของเทคโนโลยีการผลิต และนี่คือจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง บริษัทแฟ็คทอรี่ แม๊กซ์ (Factory Max) ซึ่งเป็นตัวแทนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปต่อยอดสำหรับงาน Metalworking และงานแม่พิมพ์ต่าง ๆ

“ ปัจจุบันลูกค้ามีความชำนาญเฉพาะทางเป็นของตัวเอง เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตแว่นตา ก็จะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการผลิตแว่นตา หากถามถึงเรื่องอุปกรณ์อย่างสกรู หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาจไม่ได้คำตอบ เพราะผู้ที่จะต้องตอบเรื่องนี้คือ ซัพพลายเออร์ เช่น Factory Max มีดอกสว่านที่คุณภาพยอดเยี่ยม แต่ลูกค้าไม่ได้ต้องการดอกสว่าน ลูกค้าต้องการ “เจาะรู” ให้มีความแม่นยำที่สูง (High Precision) โดยใช้การทำงานที่น้อยที่สุด ลูกค้าก็จะเดินมาบอก Factory Max ว่าต้องการ “เจาะรู” ไม่ได้เดินมาบอกว่าต้องการดอกสว่านที่มีคุณลักษณะแบบไหน ซึ่งซัพพลายเออร์ต้องมีคำตอบให้กับลูกค้าว่าจะทำอย่างไรถึงจะได้  “รู” คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการได้ ” คุณสุรพงศ์ กล่าว

อวสาน Function อวตาร Solution

ซัพพลายเออร์ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเอง จากการช่วยซัพพลายเครื่องมือเครื่องจักร สู่การเป็นผู้มีองค์ความรู้ พร้อมมอบโซลูชันที่ดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องของลูกค้า แต่ด้าน Function หรือคุณลักษณะพิเศษก็ยังคงต้องพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โจทย์หลักคือ Solution เพราะซัพพลายเออร์ต้องลงสนามพร้อมกับเครื่องมือ เครื่องจักร วิธีการ และเทคโนโลยี ดังนั้นหากไม่เริ่มพัฒนาเข้าสู่ Smart Factory รวมทั้งระบบ Automation ก็น่าจะแข่งขันได้ยากกับโจทย์ใหม่ที่ใหญ่ขึ้นนี้


Metalex 2019 สะท้อนอะไรในอุตสาหกรรมไทยปัจจุบัน

“สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนในงาน Metalex 2019 คือการพัฒนาเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ (Automation) และ Smart Factory ทั้งฝั่งของ Supply และ Demand ด้านผู้ประกอบการหรือซัพพลายเออร์ต่างพยายาม Invent สิ่งใหม่ นำเสนอ Automation Solution ขณะเดียวกันลูกค้าเองก็แสวงหา Solution ที่จะสามารถเข้ามาสนับสนุนการทำงาน เพิ่มการผลิตและการลดต้นทุนให้กับการทำธุรกิจ แต่จะอย่างไรก็ตาม ทั้งซัพพลายเออร์และลูกค้าต่างอยู่ในช่วงที่ต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้ในทุกกรณี บางเทคโนโลยี Practical สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เลย บางเทคโนโลยีต้องคิดวิเคราะห์ให้มาก เพราะอย่างไรเทคโนโลยีย่อมมี Impractical อันเนื่องมาจากความไม่สอดคล้องกับการทำงานเดิม ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ตอบรับกับเทคโนโลยี แต่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มก้าวเข้าสู่ Smart Factory สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย ” คุณสุรพงศ์ กล่าว

ระบบ Automation มีหลากหลายแนวคิด เช่น ผู้ประกอบการญี่ปุ่น มีวิธีการใช้หุ่นยนต์ Cobot (Collaborative Robots) มาทำงานร่วมกับมนุษย์ ส่วนผู้ประกอบการสิงคโปร์จะกล่าวถึงเรื่อง Lights-out Automation ปิดไฟทำงาน 100% ทุกกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่มีการใช้แรงงานคน (Human Less) เรียกได้ว่าเป็นการใช้ระบบออโตเมชั่นแบบเต็มรูป 

“การเข้าสู่ Smart Factory ด้วยระบบอัตโนมัติ จึงขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ หรือมุมมองของผู้บริหารว่ามีความคาดหวัง หรือเป้าหมายอย่างไร บางธุรกิจอาจมีเป้าหมายให้ถึง Lights-out Automation ในขณะเดียวกันบางธุรกิจอาจมีความต้องการที่ต้องใช้แรงงานคน และยังมีความจำเป็นที่ต้องใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมร่วมด้วย ซึ่งผู้ผลิตกลุ่มนี้ก็จะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเดินหน้าทีละก้าว”


 


Solution ของ Factory Max ในงาน Metalex 2019

Factory Max นำเสนอ “แนวคิด Modular Automation สำหรับการปรับเปลี่ยนให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ ด้วยการวางแผนและปรับเปลี่ยนทีละส่วนงานจนครบทั้งหมดสู่ Smart Factory”  แนวคิดเช่นนี้จะทำให้ไม่กระทบต่อการบริหารองค์กรและระบบการผลิตในภาพรวมมากนัก และยังสามารถใช้ facilities (เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์) ส่วนใหญ่ที่มีในโรงงานต่อไปได้  สำหรับงาน Metalex 2019 ที่ผ่านมา Factory Max ได้คัดเลือกบาง Module สำคัญและจำเป็น สำหรับการผลิตด้านโลหะการ มาพรีเซนต์นั่นคือ ระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ (Quality Management System) จาก ZEISS, ระบบบริหารการผลิตอัจฉริยะ (Intelligent Production Management System) จาก YCM, และระบบบริหารจัดการทูล (Tool Management System) จาก ZOLLER 

Smart Factory Solution - ZEISS Quality Management System, YCM Intelligent Production Management System, ZOLLER Tool Management System

ทั้ง 3 module นี้จะทำงานร่วมกับแบบ In-line เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันผ่าน Server ซึ่งทั้งหมดเป็น Modular ในการก้าวเข้าสู่ระบบ Automation โดยการปรับคนให้เข้าไปอยู่ในสภาพของ Smart Factory ทีละขั้นทีละตอน มีการเปลี่ยนทีละ Module เช่น Modular ของการจัดเก็บ (Storage System), การผลิต (Production) สามารถทำเรื่องเหล่านี้ให้เป็น Automation ค่อย ๆ Transfer จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ใช้การจัดการด้วยซอฟต์แวร์เข้ามาทีละ Module ในระยะเวลา 3 - 5 ปี ก็จะมีความคืบหน้าไปในทิศทางของ Automation โดยที่สามารถใช้ Facility เดิมได้มากที่สุด

“ และเราพยายามใช้ Machine Tools เติมเต็มการก้าวสู่ Automation อย่างเป็นระบบ อย่างการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม Cobot ในการ Loading, เคยใช้แรงงานคนทำ Quality Control ก็เปลี่ยนเป็นหุ่นยนต์, เคยใช้ Caliper วัดค่าชิ้นงานแล้วจดบันทึก ก็เปลี่ยนเป็น Management Software เก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ พอร้อยเรียงไปเรื่อย ๆ ก็จะใช้แรงงานคนน้อยลงเรื่อย ๆ ” คุณสุรพงศ์ กล่าว

ในด้านการให้บริการ Factory Max มีครบทุก Element ในการประกอบเข้ากันในระบบ Automation ที่จะนำไปสู่  Smart Factory ไม่ว่าจะเป็น Machining, Tooling, Jig Fixture, ระบบ clamping ชิ้นงาน, Macine, Metrology (เครื่องมือวัด) สำหรับการทำงาน Metalworking เกือบทั้งหมด ซึ่งในกระบวนการทำงานหากมีเพียง Element เดียว หลักการทำงานที่สอดประสานจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะไม่เกิด ควรเซ็ตสภาพแวดล้อมของอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Equipment) ให้ได้คำตอบของการผลิตสำหรับงานด้านโลหะการ (Metalworking)

“ Factory Max เรา  “Catch up the trend” เดินหน้าในด้านของ Automation Solutions ให้มากที่สุด และพยายามทำ Modular สำหรับตอบโจทย์ให้กับลูกค้ามากที่สุด นำสิ่งที่เรามีอยู่มาสร้าง Solutions ตามแนวทาง Smart Factory ให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด ” คุณสุรพงศ์ กล่าว

สิ่งที่คุณสุรพงศ์ ได้กล่าวมาทั้งหมด อาจสะท้อนให้เห็นอีกมุมหนึ่งของปัญหา Technology Disruption ซึ่งมีระบบ Automation เข้ามาเป็นโจทย์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทย หากแต่เป็นการ Disrupt สู่ศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจ อาจต้องเผชิญความยากลำบากบ้างในช่วงก้าวผ่าน แต่ปลายทางมีสิ่งเดียวตามคอนเซ็ปต์ของ Automation คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เกิดกระบวนการทำงานที่ง่ายขึ้น ไม่ซับซ้อน ชัดเจน แม่นยำ ด้วยเวลาที่เร็วขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการตามเทรนด์การซื้อ