ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้า อยู่ที่แบตเตอรี่ จริงหรือ

อัปเดตล่าสุด 17 ธ.ค. 2562
  • Share :
  • 815 Reads   

คุณภาพแบตเตอรี่ที่คงที่ อาจเป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จในการใช้รถยนต์พลังไฟฟ้าแต่อุปสรรคซ่อนเร้นของการพัฒนาประสิทภาพดของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนนับเป็นต้นทุนที่สูงถึง 60% สำหรับพาหนะพลังงานไฟฟ้าในปี 2015 วงการอุตสาหกรรมทั่วโลกจึงมุ่งเน้นไปที่การทำให้ต้นทุนถูกลง ซึ่งก็ใกล้จะบรรลุเป้าหมายแล้ว เพราะในปี 2019 แบตเตอรี่มีต้นทุนลดลงมาอยู่ที่ 33% ของต้นทุนพาหนะไฟฟ้า และยังมีแนวโน้มที่จะลดลงได้อีก ดังนั้น ก้าวต่อไปในการทำให้ตลาดส่วนใหญ่ยอมรับ คือ ประสิทธิภาพอันคงที่ของแบตเตอรี่  ภายในงาน Bühler Networking Days 2019 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 สิงหาคม ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้มีการแบ่งปันข้อมูลจาก White Paper: Is battery consistancy the key to mass e-mobility success?  โดยมีประเด็นหลักที่น่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน 

Dr. Adrian Spillmann Director Market Segment Battery Solutions, Grinding & Dispersing for Bühler (บูห์เล่อร์) ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ คือ กุญแจสู่ความสำเร็จของรถพลังงานไฟฟ้า และต้นทุนก็เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตต่างให้ความสำคัญ แต่ด้วยต้นทุนของแบตเตอรี่ลิเธียมไออน ที่ลดลงจาก 1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมงกิโลวัตต์ (kWh) ในปี 2010 มาอยู่ที่ 175 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ kWh ในปี 2018 จึงเห็นได้ว่าราคาแบตเตอรี่ลดลงเป็นอย่างมากในทุก ๆ ปี ตามข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เมื่อต้นทุนของแบตเตอรี่ต่ำกว่า 125 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ kWh จะทำให้เราสามารถเป็นเจ้าของและใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้ไม่แตกต่างจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine หรือ ICE) ในแทบจะทุกพื้นที่ของโลก ด้วยการคาดการณ์ที่จะสามารถทำราคาได้ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ kWn ภายในปี 2024 หมายความว่า ต้นทุนแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ถ้าต้นทุนไม่ใช่อุปสรรคขวางกั้นการยอมรับของตลาดแล้ว คำถามคือ อุตสาหกรรมยานยนต์พาหนะพลังไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนพร้อมจะพัฒนาไปสู่อีกระดับแล้วหรือยัง 

Dr. J. Simon Xue Member of the Expert Committee Energy Storage, Chinese Industrial Association of Power Sources (CIAPS) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานแบตเตอรี่ มีประสบการณ์วิจัยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนกว่า 24 ปี กล่าวว่า “วัฒนธรรมทุนนิยมที่จะครอบงำอุตสาหกรรมนี้กำลังทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพ และการจัดการสภาพแวดล้อมอันย่ำแย่ในขั้นตอนการผลิต” เขาเชื่อว่าสิ่งนี้จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในวงการพาหนะพลังไฟฟ้าที่ต้องรีบแก้ไขตอนนี้

ทำไมถึงสำคัญ ?

เมื่อแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนใช้งานไปเรื่อยๆ บางส่วนของสารอิเล็กโตรไลต์ภายในจะถูกใช้และแปรสภาพเป็นสารใหม่ปฏิกิริยานี้ทำให้อายุของแบตเตอรี่สั้นลง และหมดอายุการใช้งานในที่สุด ความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนอาจส่งผลกระทบอันร้ายแรงในส่วนนี้ ข้อแรก คือ ความปลอดภัย คุณภาพที่ไม่แน่นอนของแบตเตอรี่อาจทำให้เกิดอาการโอเวอร์ฮีต และอาจระเบิดได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นโดยแค่มีการปนเปื้อนเพียงเล็กน้อยในสารละลายอิเล็กโทรด ในปี 2016 บริษัท ซัมซุง ได้เรียกคืน Galaxy Note 7 กว่าล้านเครื่อง เพราะแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเกิดโอเวอร์ฮีต และในเดือนมกราคม ปี 2019 HP ได้เรียกคืนคอมพิวเตอร์แล็บท็อปถึง 150,000 เครื่อง เพราะแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพต่ำ ในประเทศจีน เมื่อปี 2019 มีรายงานอุบัติเหตุรถมินิแวนที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเกิดเพลิงไหม้ระหว่างชาร์จไฟอยู่ถึง 3 ราย ซึ่งเป็นยี่ห้อและรุ่นเดียวกันทั้งหมด อย่างที่สอง คือ คุณภาพที่ไม่คงที่สามารถนำไปสู่ปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมในระหว่างช่วงอายุการใช้งานของพาหนะไฟฟ้า

ในเดือนมิถุนายน ปี 2019 Top Gear รายการโทรทัศน์เกี่ยวกับรถยนต์ระดับโลก อ้างว่า รถ Nissan Leaf อายุ 8 ปีที่วิ่งมาแล้ว 80,000 ไมล์ สามารถวิ่งได้แค่ 35 ไมล์ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง การพาดหัวข่าวด้วยถ้อยคำโจมตีแบบนี้สามารถบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้เป็นอย่างมากปัญหาความคงที่ในการผลิตสามารถกลบความน่าเชื่อถือของพาหนะแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน “ส่วนใหญ่ (60%) ของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในโลก ถูกผลิตในประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ที่มีการผลิตออกสู่ตลาดโลกโดยทั่วไปอยู่ประมาณ 80% การผลิตอย่างไม่มีประสิทธิภาพนี้จะสิ้นเปลืองพลังงานและวัตถุดิบ และยังเพิ่มจำนวนคาร์บอนในชั้นบรรยากาศจากกระบวนการผลิตซึ่งจะส่งผลเสียต่อสภาวะแวด ล้อมโดยรวมอีกด้วย” 

Dr. J. Simon Xue  อธิบายว่าจำนวนคาร์บอนที่เกิดจากกระบวนการผลิตพาหนะพลังงานไฟฟ้าเป็นเรื่องยังไม่มีความแน่ชัด บริษัทที่ปรึกษาด้านรถยนต์ในมิวนิค Berylls Strategy Advisors ได้กล่าวว่า เมื่อคำนึงถึงขั้นตอนการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน โดยเฉลี่ยแล้ว เจ้าของรถยนต์เยอรมันสามารถขับรถยนต์ ICE ทั่วไป (เครื่องยนต์สันดาปภายใน) ได้ถึง 3 ปีครึ่ง หรือมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ก่อนที่ Nissan Leaf ที่ใช้แบตเตอรี่ 30 kWh จะแซงหน้าไปได้ ด้วยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศที่ใช้พลังงานจากถ่านหินเยอะ

คุณภาพที่ไม่สม่ำเสมอเป็นปัญหาหรือไม่

ตามที่ Dr. J. Simon Xue ได้กล่าวไว้ ความไม่แน่นอนในกระบวนการผลิตกำลังทำให้ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ทั่วโลกลดลง “ในประเทศจีน ผมเห็นผู้ผลิตที่เปลี่ยนแหล่งซื้อโคบอลต์เพื่อประหยัดต้นทุนสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของแบตเตอรี่เป็นอย่างยิ่ง ในสหรัฐอเมริกาผู้ผลิตรายหนึ่งลดเวลาขั้นตอน Gel Drying ที่ปกติต้องทิ้งไว้ข้ามคืน เหลือเพียง 5 ชั่วโมง เพื่อให้ผลิตได้ทันต่อความต้องการของลูกค้า จึงก่อให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพลดลง” ในขณะนี้ 80% ของผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนใช้การผลิตแบบเป็นชุด ๆ (Batch)ในขั้นตอนการผลิตสารละลายอิเล็กโทรด จึงทำให้เกิดความแปรผันของคุณภาพและประสิทธิภาพระหว่าง Batch อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ “หนึ่งในปัญหาใหญ่ คือ ผู้ผลิตแยกความแตกต่างระหว่างสารละลายคุณภาพดีและต่ำกว่ามาตรฐานได้ยาก เพราะให้ผลลัพธ์ไม่ต่างกันในขั้นตอนการผลิต แต่การควบคุมคุณภาพและความสม่ำเสมอนั้นขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคของผู้ผลิตเป็นอย่างมาก” Dr. J. Simon Xue กล่าวว่าอีกหนึ่งปัญหาคือการให้นิยามความสม่ำเสมอ ผู้ผลิตส่วนใหญ่กำหนดให้ความแปรผันและความต้านทานเป็นตัววัดคุณภาพ ซึ่งเป็นเพียงแค่ตัววัดแบบคงที่เท่านั้น ความสม่ำเสมอแบบผันแปรเมื่อเกิน 1,000 รอบต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ แต่อาจใช้เวลานานถึง 5-6 เดือนในการทดสอบ ด้วยการผลิตแบบ Batch แล้วยังทำให้ต้องมีการสุ่มตรวจเป็นประจำด้วย

วิธีแก้ปัญหาคือ?

Dr. J. Simon Xue แย้งว่า วิธีการแก้ปัญหาคือการควบคุมขั้นตอนการผลิตให้ดี และหาวิธีวัดความสม่ำเสมอของคุณภาพที่ดีกว่าเดิม เพื่อให้ควบคุมได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือการบริหารความชื้น อุณหภูมิ และฝุ่น ทางหนึ่งก็คือ เปลี่ยนการผลิตแบบ Batch ไปสู่ระบบการผลิตอัตโนมัติแบบต่อเนื่องในระบบปิด (Sealed Continuous Automated Product System) Dr. J. Simon Xue กล่าวว่าวิธีนี้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลายด้วยเทคโนโลยีเพียงขั้นตอนเดียว “ผมคิดว่าระดับการควบคุมการผลิตที่ระบบต่อเนื่องสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในกระบวนการผลิต แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนนั้นสำคัญมาก อย่างแรก คือ เพราะเป็นระบบปิด จึงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ข้อสองคือ เพราะเป็นระบบอัตโนมัติ จึงช่วยขจัดข้อผิดพลาดจากมนุษย์และลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ซึ่งมักจะหาได้ยาก ข้อสาม การควบคุมคุณภาพตลอดเวลาจะทำให้เกิดความสม่ำเสมอ” 

เมื่อพูดถึงการพิสูจน์ความสม่ำเสมอ Dr. J. Simon Xue กล่วว่า กลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Dalhousie กำลังพัฒนาระบบวิเคราะห์เพื่อคาดเดาอายุของแบตเตอรี่โดยที่ไม่ต้องใช้เวลาทดสอบเป็นปี ๆ Dr. J. Simon Xue  ผู้ซึ่งศึกษาเรื่องนี้ กล่าวว่า งานวิจัยนำร่องในห้องแล็บสามารถช่วยผู้ผลิตสร้างความคงที่ของคุณภาพแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้เร็วขึ้นมากและแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้อาจทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นและเกิดความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคต้องการ เพื่อที่จะขับเคลื่อนการยอมรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับแหล่งพลังงานของพาหนะไฟฟ้าในวงกว้าง ซึ่งรัฐบาล นักกฎหมาย และนักสิ่งแวดล้อมก็พยายามให้เกิดขึ้นเช่นกัน “ผมบอกกับเหล่านักเรียนว่า พวกเราต้องเปลี่ยนแนวคิด นี่คือเรื่องของคุณภาพโดยรวม ทั้งจากวัสดุและขั้นตอน สู่อุปกรณ์และมนุษย์ เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถทำให้แบตเตอรี่มีคุณภาพคงที่ เมื่อนั้นผู้บริโภคจึงเชื่อมั่นในอนาคต”

Dr. J. Simon Xue สมาชิกของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน สมาคมอุตสาหกรรมแหล่งพลังงานแห่งประเทศจีน กล่าวเพิ่มเติมว่า แน่นอนว่ามีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกอื่น ๆ ที่กำลังพัฒนาอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะสมาคมผู้ผลิตแบตเตอรี่และรถยนต์ของญี่ปุ่นที่ร่วมมือกับรัฐบาล พัฒนาให้แบตเตอรี่ของพาหนะไฟฟ้ามีความเสถียรมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากอิเล็กโทรไลต์แบบของเหลวในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนปัจจุบัน เป็นแบบแกนแข็ง ซึ่งราคาถูกกว่าและน้ำหนักเบากว่า ทั้งยังไม่ต้องการการหล่อเย็นจึงทำให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่า และป้องกันไฟอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังมีการคิดค้นสารเคมีทางเลือกสำหรับใช้ในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เช่น ขั้วบวกที่ทำจากซิลิกา ซึ่งสามารถจุไฟได้มากกว่ากราไฟต์ที่มักจะใช้ในการผลิตขั้วบวกทั่วไป โดยสามารถเพิ่มความหนาแน่นของพลังงานได้สูงสุดถึง 40% แต่ในปัจจุบันยังมีโอกาสที่จะระเบิดตัวเองได้ เพราะอาจขยายตัวเวลาชาร์จไฟ ดังนั้น การผสมกราไฟต์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ส่วนสารเคมีอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตขั้วลบก็มีเช่นกัน เช่น ลิเทียมนิเกิลแมงกานีสออกไซด์ (LNMO) ที่สามารถจุไฟได้มากกว่า แต่วัตถุไฟฟ้าแรงสูงสำหรับขั้วลบนี้ ยังมีปัญหาเรื่องของเหลวอิเล็กโทรไลต์แปรสภาพและสูญเสียความสามารถเมื่อใช้กำลังไฟที่แรงขึ้น

สิ่งที่ต้องปฏิบัติต่อไป

Dr. J. Simon Xue ยืนกรานว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมีหนทางอันแน่ชัดแล้วว่าจะสามารถลดต้นทุนได้สำเร็จตามเป้าหมาย ความสม่ำเสมอของคุณภาพจึงควรเป็นจุดมุ่งหมายต่อไป “รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังมุ่งเน้นไปที่การลดควันพิษจากยานพาหนะ แต่นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น สำหรับผู้บริโภคแล้ว สมรรถนะตลอดอายุการใช้งานของพาหนะ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิธีการผลิตเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คุณภาพที่สม่ำเสมอ คือ หัวใจของทั้งสองปัญหานี้” Dr. J. Simon Xue กล่าว หนทางหนึ่งในการพัฒนาให้คุณภาพคงที่ขึ้น คือ อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนต้องนำเทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาปรับใช้ ซึ่งเทคนิคการผสมสารอย่างต่อเนื่องแบบใหม่ของบูห์เล่อร์ ที่คิดค้นมาเพื่อผู้ผลิตสารละลายอิเล็กโทรด จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 80% จากอุตสาหกรรมทั่วโลกที่ใช้การผลิตแบบ Batch อยู่ในปัจจุบัน ด้วยการผลิตอย่างต่อเนื่องที่รวมเอาขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ด้วยกันในอุปกรณ์เพียงหนึ่งเดียวทั้งการผสม การชั่งตวงวัตถุดิบ การเตรียมขั้นตอนก่อนผสม การนวดวัตถุดิบ การแยกสารละเอียด และการลดก๊าซ จะทำให้สามารถตวงของแห้งและของเหลวได้แม่นยำขึ้น และผลิตสารละลายได้มีคุณภาพคงที่มากขึ้น ขจัดปัญหาความแตกต่างระหว่างแต่ละ Batch ขั้นตอนการผลิตแบบนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานลงถึง 3 เท่า แม้ว่าจะได้ผลผลิตเท่ากัน การใช้พลังงานลดลงยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมในการผลิตอีกด้วยการผลิตอย่างต่อเนื่องยังสามารถตรวจวัดและควบคุมได้ตลอดเวลา ระบบควบคุมคุณภาพขั้นสูงของบูห์เล่อร์ QuaLiB™ จะวัดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และปรับเปลี่ยนขั้นตอนการผลิตโดยอัตโนมัติ เพื่อปรับปรุงให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ออกมาเหมือนกัน รวมถึงช่วยลดของเสีย ผลลัพธ์ที่ได้ คือความเสถียรของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ด้วยอัลกอริทึมอันชาญฉลาด

จึงแน่ใจได้ว่ามีเพียงผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงเท่านั้นที่จะผ่านเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป QuaLiB™ ยังทำให้การตรวจสอบเป็นไปได้ง่าย ตั้งแต่การติดตามวัตถุดิบจากเริ่มเข้าสู่กระบวนการจนถึงการสิ้นสุดกระบวนการ 

Dr. Jan Marti Data Scientist and Project Manager for QuaLibTM for Bühler กล่าวว่าการผลิตอย่างต่อเนื่องพร้อมกับการควบคุมคุณภาพตลอดสายการผลิตจะก่อเกิดประโยชน์เช่นกัน “เราคำนวณว่าสายการผลิตสารละลายที่มีกำลังการผลิต 1,000 ลิตรต่อชั่วโมง จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 1.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี ในขณะเดียวกันยังช่วยพัฒนาความสม่ำเสมอของคุณภาพด้วย” ห้องทดลองที่มหาวิทยาลัย Dalhousie มุ่งวิจัยลักษณะกายภาพและเคมีภาพของวัตถุดิบที่ใช้กักเก็บพลังงานโดยเฉพาะแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาวงจรชีวิต และยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน “กลุ่มนักวิจัยกำลังวัดความแตกต่างของกำลังไฟให้แม่นยำ และจะใช้สิ่งนี้คาดการณ์วงจรชีวิตและการหมดอายุ เมื่อตลาดยอมรับแล้ว แทนที่จะใช้เวลาถึง 6 เดือนเพื่อตรวจสอบเวลาหมดอายุจากการใช้งาน 1,000 รอบ สิ่งนี้อาจเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนการผลิต เมื่อรวมกับการผลิตแบบต่อเนื่องและอัตโนมัติแล้ว เราจะสามารถพัฒนาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในรอบหลายปีนี้” 

แล้วมีเทคโนโลยีใหม่อีกหรือไม่?

ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักไว้ คือ มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่ ๆ ที่กำลังวิจัยอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน สำหรับการศึกษาอนาคตของแบตเตอรี่ หลายเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นทั้งยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่การใช้งานอย่างแพร่หลาย และทดแทนสิ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน” เทคโนโลยีการผสมอย่างต่อเนื่องของบูห์เล่อร์พร้อมแล้วที่จะนำไปสู่การผลิตแบตเตอรี่ยุคต่อไปอย่างแน่นอน นอกจากนี้การผสมอย่างต่อเนื่องของบูห์เล่อร์ยังสามารถที่จะผลิตอิเล็กโทรดโดยใช้ตัวทำละลายน้อยลงหรือไม่ใช้เลย ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระบวนการผลิตในอนาคต ตามที่ Avicenne Energy กล่าวไว้ การทำให้เทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในตลาดอาจใช้เวลาหลายสิบปี ซึ่ง Dr. Jan Marti  ก็เห็นด้วย เขากล่าวว่า ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะค่อย ๆ ออกสู่ตลาด อุตสาหกรรมจะต้องโฟกัสไปที่การพัฒนาความคงที่ของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในปัจจุบัน“ความต้องการพาหนะพลังงานไฟฟ้ากำลังจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและการรักษาสิ่งแวดล้อม คือสิ่งสำคัญอันดับแรกในตอนนี้” 

สรุป

  • ต้นทุนแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนกำลังลดลง และควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความคงที่ของคุณภาพการให้ความสำคัญในสิ่งนี้จะส่งผลดีต่อทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
  • ประสิทธิภาพแบตเตอรี่อาจแตกต่างกันได้ในแต่ละ Batch แม้ว่าจะผลิตจากโรงงานเดียวกัน การผลิตสารละลายอิเล็กโทรดแบบต่อเนื่องจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
  • เทคโนโลยีการทดสอบและคาดการณ์วงจรอายุของแบตเตอรี่อาจมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง