เมื่อปัญหาสังคม กลายเป็นโอกาสของ SME

อัปเดตล่าสุด 30 พ.ค. 2562
  • Share :
  • 1,110 Reads   

National Association of Small and Medium Enterprise Promotion Organizations ประเทศญี่ปุ่น จัดทำงานวิจัยว่าด้วย “ผลกระทบของปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสังคมผู้สูงอายุ ที่มีต่อ SME” พบว่า SME จำนวนมาก มีความเห็นว่าการเกิดที่ลดลง จะนำมาซึ่งปัญหาหลายอย่างในการบริหารองค์กร แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะเพิ่มโอกาสให้กับผู้เล่นรายใหม่ในตลาด รวมไปถึงโอกาสทางธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นเดียวกัน

ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสังคมผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างยั่งยืน นำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีหลายด้านอย่างที่เห็นในปัจจุบัน จนมีหลายฝ่ายแสดงความเห็นว่า ธุรกิจที่ไม่มีเทคโนโลยี ย่อมไม่อาจอยู่รอดในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

นอกจากนี้ ปัญหาทั้งคู่ ยังนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม เช่น ความต้องการอุตสาหกรรมบริการที่เพิ่มขึ้น อุปสงค์ และอุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การเข้าซื้อกิจการ หรือรวมตัวกับธุรกิจอื่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้องกรณ์ และอื่น ๆ ส่งผลให้ความสนใจที่มีต่อ SME มีแนวโน้มจะลดลง เนื่องจากผู้คนส่วนมาก มีความเห็นว่า ผู้มีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสังคมมีเพียงธุรกิจรายใหญ่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ก็เริ่มมี SME ที่ทำการ “ลงทุนด้านสังคม” และโฟกัสที่การหาผลประโยชน์ส่วนตน ควบคู่ไปกับผลประโยชน์สาธารณะ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ ถูกเรียกว่า “B Corporation” โดยธุรกิจเหล่านี้ จะให้ความสำคัญกับการขายสินค้า หรือบริการ ที่ตรงความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาค ทำให้ SME กลุ่มนี้ได้รับการจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปตามกระแสโลกในขณะนั้น เห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน และตอบโจทย์ของผู้คนในภูมิภาคมากกว่า

โดนธุรกิจเหล่านี้ แทนที่จะเลือกเป็นผู้พัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ได้เลือกที่จะเป็น “ผู้ใช้นวัตกรรม” แทนที่ โดยนำเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นจากธุรกิจรายใหญ่ เช่น Cloud Platform, Sharing Service, และอื่น ๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ซึ่งเมื่อรวมกับการโฟกัสในระดับภูมิภาคที่เหมาะสมแล้ว จะส่งผลให้ได้ซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถบริหารได้ดียิ่งกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจการรับเดินสายไฟ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยีในกลุ่มผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม การที่ SME จะก้าวไปถึงจุดนี้ได้นั้น มีสิ่งที่จำเป็นอย่างแรกคือการปรับเปลี่ยนแนวคิด โดยให้มองว่าสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่ต้นทุนที่บริษัทต้องจ่าย แต่เป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ว่า บริษัทตน จะสามารถใช้ปัญหาเหล่านี้ในการสร้างผลกำไรได้อย่างไร 

นอกจากนี้ SME ยังมีศักยภาพอีกอย่างที่ได้เปรียบธุรกิจรายใหญ่ คือ คุณสมบัติในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว และมีอิสระกว่าองค์กรขนาดใหญ่เป็นอย่างมาก ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ สามารถนำมาซึ่งแนวทางการเพิ่มศักยภาพของบริษัทได้เป็นอย่างดี