CAM ROLLER โดย McGill ตลับลูกปืน (BEARING) ที่มีแหวนนอกหนาเป็นพิเศษ มีแกนในตัว ใช้เม็ดลูกปืนเป็นส่วนประกอบรับแรงกระแทก (SHOCK LOAD)

KKC Bearing แนะนำใช้ CAM ROLLER จาก McGill ตลับลูกปืนที่แหวนนอกหนาพิเศษ ทนทานทุกการใช้งาน

อัปเดตล่าสุด 19 ต.ค. 2566
  • Share :
  • 6,270 Reads   

CAM ROLLER โดย McGill ตลับลูกปืน (BEARING) ที่มีลักษณะแหวนนอกหนาเป็นพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงโดยตรง และหมุนไปตามแนวแรงที่มากระทบ โดยแกนในจะอยู่กับที่ 

 

ตลับลูกปืน CAM ROLLER สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบหลัก คือ

1. CAM FOLLOWER แบบมีแกนเป็นแขน (INTEGRAL STUD) 

2. CAM YOKE ROLLER แบบไม่มีแกน 

 
ทั้งสองแบบนี้สามารถใช้แทนกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของเครื่องจักรและเพลา CAM
FOLLOWER มีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีแขนและสามารถติดตั้งได้ง่ายกว่า ในขณะที่ CAM YOKE ROLLER มักจะมีแกนยื่น 2 ข้าง นิยมใช้ในงานที่รับงานหนักเพราะไม่มีปัญหาเรื่องมุมเห หรือการโค้งงอของแกน
 

CAM ROLLER ถูกออกแบบมาครั้งแรกเพื่อใช้ในงานรับแรงเพลาลูกเบี้ยว (CAM) ด้วยคุณสมบัติที่ต่างจากตลับลูกปืนแบบอื่น ๆ คือ แหวนนอกหนา มีแกนในตัว ใช้เม็ดลูกปืนเป็นส่วนประกอบรับแรงกระแทก (SHOCK LOAD) CAM ROLLER จึงถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพราะสะดวกต่อการติดตั้ง การใช้งานและการบำรุงรักษา เช่น เป็นตัวรับแรงโดยตรงบนราง (TABLE SUPPORT) และเป็นลูกกลิ้งในการส่งลำเลียง (CONVEYOR SYSTEM) เป็นต้น

 

การนำ CAM ROLLER ไปใช้งาน มี4 ลักษณะ คือ

  1. INTERNAL CAM รับแรงกระแทกภายใน
  2. EXTERNAL CAM รับแรงกระแทกภายนอก
  3. GUIDE ROLLER เป็นตัวกำหนดทิศทางการวิ่ง 
  4. TRACK ROLLER เป็นตัวรับน้ำหนักและการวิ่ง 

 

คุณสมบัติเด่นของ CAM ROLLER

 
1.แกนใน (STUD) เป็นชิ้นเดียวตลอด ผลิตจากเหล็กลูกปืนอัลลอย (BEARING QUALITY ALLOY STEEL) ชุบแข็งในส่วนที่เม็ดลูกปืนวิ่งอยู่ ส่วนแกนที่ยื่นออกมาสามารถดัดแปลงได้ ในระบบนิ้ว มีให้เลือกทั้งแกนเล็ก (CF) และ แกนใหญ่ (CFH) เพื่อให้เหมาะสมกับงาน
2. ระบบเม็ดลูกปืน (ROLLING ELEMENT) McGill ได้ทำระบบเม็ดลูกปืนไว้ 3 แบบ คือ
 
2.1 ระบบเม็ดลูกปืนเข็มเรียงติดกัน (FULL COMPLEMENT NEEDLE ROLLER) จะมีอยู่ใน แบบ CF / CFH / CYR / MCF / MCYR
 
 
2.2 ระบบมีรังบังคับเม็ด (CAGED NEEDLE ROLLER) โดยแต่ละช่องของรังที่แบ่งไว้ จะมีเม็ดลูกปืนอยู่ 2 เม็ด ซึ่งจะได้ประสิทธิภาพในการรับแรงดี และการหมุนที่ดีกว่าช่องละ 1 เม็ด จะมีใช้อยู่ในระบบมิล MCFR และ MCYRR
 
 
 
2.3 ระบบเม็ดลูกปืนทรงกระบอก 2 แถว เรียงติดกันหมด (DOUBLE ROW CYLINDRICAL ROLLER BEARING) เป็นระบบที่ใช้รับน้ำหนักมาก ๆ โดยเฉพาะ มีอยู่ในรุ่น CFD / MCYRD
 
 
3. แหวนวงนอก (OUTER – RING) มีความหนามากกว่า เนื่องจากใช้เม็ดลูกปืนเข็มทำให้สามารถรับแรงกระแทกได้ เช่นในงาน CAM ซึ่งในตลับลูกปืนแบบอื่น ๆ ไม่สามารถให้ได้ วัสดุที่ใช้ทำแบบเดียวกับแกนในแต่ละชุบแข็งตลอดตัว
 
 
 4. แหวนประกบ (END PLATE) ประกบให้ส่วนประกอบทำงานอยู่ด้วยกัน แหวนนี้ยังสามารถรับแรงในแนวแกนเพลาได้ (THRUST LOAD) 
 
 
5. ซีลแบบ LUBRI – DISC SEAL วัสดุทำด้วย MOLY – DISULFIDE – FILLED NYLON ทนอุณหภูมิได้ –54 องศา ถึง 121 องศา สามารถป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปภายใน และกันจาระบีที่กักขังอยู่ ไม่ให้ไหลออกมา ทำให้ลดการเปลี่ยนถ่ายจาระบีลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ของแบบอื่น ขณะเดียวกันยังสามารถลดแรงเสียดทานที่เกิดระหว่างหน้าสัมผัสของแกนใน และแหวนนอกได้ เมื่อเกิดแรงกระทำในแนวแกนเพลา (THRUST LOAD)
6. มีร่องเก็บจาระบี (RESERVOIR) ด้านในของแหวนนอกเพื่อเสริมจาระบีที่ขาดไปใน ROLLER
 
7. หัวขัน (DRIVE HOLE) มีให้เลือกทั้งแบบใช้ไขควง และใช้ประแจหกเหลี่ยมขันเพื่อการตั้งแรงที่ละเอียดและมั่นคงกว่า
 
 
8. การหล่อลื่น (LUBRICATION) ในรุ่น CAMROL มีทางเดินจาระบีถึง 3 ทาง ที่ปลาย 2 ข้าง และที่แกนซึ่งอัดจากเสื้อ
9. ผิวหน้า (SURFACE) ทั้งหมดเป็นเหล็กชุบดำเพื่อป้องกันสนิม
              
สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่
บริษัท เค เค ซี แบริ่ง เซอร์วิส จำกัด
Tel.: 02-752-8462 Fax: 02-752-8464