ผลกระทบของโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการผลิต (PLI) ของอินเดีย ต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย

ผลกระทบของโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการผลิต (PLI) ของอินเดีย ต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย

อัปเดตล่าสุด 12 ก.ค. 2567
  • Share :
  • 565 Reads   

อินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในเอเชีย ด้วยอัตราการเติบโตของ GDP ที่ร้อยละ 6 - 7 และมีมูลค่าการส่งออกสินค้า 4 แสนล้านดอสลาร์สหรัฐ ในปี 2022 หลังจากที่มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มานานเกือบ 10 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการวางเป้าหมายของอินเดียที่ต้องการเป็นศูนย์กลางทั้งการผลิตและการส่งออก โดยอินเดียมีแรงงานต้นทุนต่ำและแรงงานบางกลุ่มมีทักษะไอทีสูง ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในอินเดียมากขึ้น

จากการที่การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอินเดียมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว สะท้อนได้จากการผลิตในประเทศที่มีมูลค่าสูงถึง 76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 - 2020 โดยในปัจจุบันอุตสาหกรรม การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการจัางงานมากกว่า 2 ล้านคนในอินเดียเพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตขนาดใหญ่ การพัฒนาระบบนิเวศของห่วงโซ่อุปทาน และการสร้างกลุ่มการผลิตใหม่ในประเทศ

ด้วยเหตุนี้ ทำให้อินเดียต้องการเป็นศูนย์กลางระดับโลกสำหรับการออกแบบและการผสิตระบบอิเล็กทรอนิกส์และผลักดันวิสัยทัศน์ของนโยบายแห่งชาติเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ อินเดียจึงได้มีการตั้งโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิตหรือ Production Linked Incentives (PLI) เพื่อส่งเสริมการผลิตภายในประเทศและช่วยในการจัดหางานที่ประเทศต้องการ โครงการตังกล่าวนำเสนอสิ่งจูงใจให้กับบรรดาบริษัทผู้ผลิตใน 14 เซ็กเตอร์ ที่มีมูลค่าการขายเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 4 - 6 ในช่วงระยะเวลา 4 - 6 ปี ประกอบไปด้วย 1) ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ด้านไอที 2) เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในครัวเรือน (เครื่องปรับอากาศและหลอดไฟ LED) 3) แผงโซล่าร์เซลล์ 4) ผลิตภัณฑ์อาหาร 5) เครื่องมือทางการแพทย์ 6) แบตเตอรี่ขั้นสูง (ACC 7) ยาและเวชภัณฑ์ 8) ผสิตภัณฑ์โทรคมนาคมแสะเครือข่าย 9) โทรศัพท์เคลื่อนที่ 10) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 11) สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมและเครื่องมือแพทย์ 12) เหล็กกล้าชนิดพิเศษ 13) ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และ 14) โดรน : ซึ่งโครงการนี้ได้ก่อตั้งในเดือนมีนาคม 2020 และจนถึงปัจจุบันมีบริษัทจำนวนกว่า 327 แห่งที่ได้รับการอนุมัติภายใต้โครงการดังกล่าวซึ่งคาดว่าได้สร้างมูลค่าการลงทุนจำนวน 32.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ


ตัวอย่างโครงการ PLI ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้

1) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (PLI) สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในครัวเรือน (เครื่องปรับอากาศและหลอดไฟ LED) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตในประเทศดึงดูดเงินลงทุนในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในครัวเรือนต้องการกำจัดข้อด้อยของภาคอุตสาหกรรม สร้างระบบนิเวศด้านการผลิตขึ้นส่วนให้แข็งแกร่ง สร้างการประหยัดต่อขนาด กระตุ้นการส่งออก และเพิ่มการจ้างงาน3 ซึ่งโครงการนี้จะให้เงินอุดหนุน ร้อยละ 4 - 6 ของมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจากปีฐาน (ปี 2019 - 2020) เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ โดยโครงการมีระยะเวลา 7 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2021 - 2022 ถึงปีงบประมาณ 2028 - 2029 และคาดว่าการทำโครงการนี้จะทำให้มูลค่าภายในประเทศของสินค้าดังกล่าวเทิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 - 20 จากปัจจุบัน เป็นร้อยละ 75 - 80


2) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (PLI) สำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอกส์ในปริมาณมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจทางการเงิน กระตุ้นการผลิตในประเทศ และดึงดูดการลงทุนจำนวนมากในห่วงโซ่คุณค่าทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และบรรจุภัณฑ์เซมิคอนตักเตอร์ การสนับสนุนภายใต้โครงกรนี้จะให้เงินอุดหนุนร้อยละ 3 - 5 ของสินค้าที่ผลิตในอินเดีย ซึ่งจะมอบให้เฉพาะบริษัทที่มีส่วนร่วมในการผลิตตามกลุ่มสินค้าเป้าหมายของอินเดียเท่านั้น โดยโครงการนี้เริ่มมีผสบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2021


3) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (PLI) 2.0 สำหรับอุปกรณ์ด้านไอที เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2021 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตในประเทศ ดึงดูดการลงทุนจำนวนมากในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และพยายามจูงใจบริษัทต่าง ๆ ให้ใช้กำลังการมสิตติดตั้งที่มีอยู่เพื่อรองรับความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โครงการนี้ยังเชื่อมโยงกับมูสค่าการขายและเกณฑ์การลงทุนเพื่อจูงใจให้เกิดการเติบโต โดยโครงการจะให้เงินอุดหนุนประมาณร้อยละ ของมูลค่าการขายที่เพิ่มขึ้นสุทธิจากปีฐาน (ปี 2019 - 2020) ของสินค้าเป้าหมายที่ผลิตในอินเดียและครอบคลุมเป็นระยะเวลา 6 ปี


4) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (PLI) สำหรับโครงการระดับชาติเกี่ยวกับแผงโซลาร์เซลส์ประสิทธิภาพสูง จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2021 วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือ พัฒนาระบบนิเวศในการจัดหาวัสดุในท้องถิ่นเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงนแสงอาทิตย์ การสร้างการจ้างงานและการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยี และส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานบูรณาการเพื่อการควบคุมคุณภาพแสะความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น โดยโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศสำหรับการผสิตแผงโซล่าร์เซลส์ประสิทธิภาพสูงในอินเดียและลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานทดแทน


ภาพรวมการค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างอินเดียกับไทยในปัจจุบัน

ภาพรวมของการค้าสินค้าในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างไทยและอินเดียในช่วงปี 2017 - 2022 พบว่า การนำเข้าสินค้ของไทยจากอินเดียมีอัตราการเติบโตโดยเฉสี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 10.78 หรือมีมูลค่าการนำเข้าจาก 153 ลัานดอลลาร์สหรัฐในปี 2017 เพิ่มขึ้นเป็น 255.3 ลัานดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 สินค้หลักที่ไทยนำเข้าจากอินเดียในปี 2022 ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า

ในขณะที่ การส่งออกสินค้าของไทยไปอินเดียมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 4.55 หรือมีมูลค่าการส่งออกจาก 1,311 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2017 เพิ่มขึ้นเป็น 1,638 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022 ซึ่งไทยมีมูลค่การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปอินเดียมากกว่ามูลค่าการนำเข้ามาโดยตลอด สินค้หลักที่ไทยส่งออกไปอินเดียในปี 2022 ไต้แก่ เครื่องปรับอากาศ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และแผงโซล่าร์เซลล์





ผลกระทบจากโดรงการ PLI ต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย

หากพิจารณาผลกระทบจากโครงการ PLI ต่อการส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และแผงโซล่าร์เซลล์จากไทยไปอินเดีย จะพบว่า

สินค้าเครื่องปรับอากาศ

สินค้าเครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปอินเดียมากเป็นอันดับ 1 มูลค่า 279 สัานตอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากพิจารณาการนำเข้าสินค้าเครื่องปรับอากาศของอินเดียเพิ่มเติมจะพบว่า ไทยเป็นประเทศคู่คัาหลักของอินเดีย โดยอินเดียมีมูลค่าการนำเข้าสินาเครื่องปรับอากาศจากไทยสูงสุดและนำเข้าจากจีนและสหราชอาณาจักรรองลงมา พอกจากนี้ หากเปรียบเทียบมูลค่การนำเข้าสินาเครื่องปรับอากาศของอินเดีย ระหว่างปี 2021 กับปี 2022 จะพบว่า อินเดียนำข้าสินค้าเครื่องปรับอากาศจากไทยแะสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่มีการนำเข้าจากจีนลดลง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการจัดตั้งโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผสิต (PLI) สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในครัวเรือน (เครื่องปรับอากาสและหลอดไฟ LED) จะเป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้ผลิตภายในประเทศแต่ศักยภาพในการผลิตนั้นก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ที่พักอาศัย แสะธุรกิจทั้งในเมืองหลักและเมืองรองของอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อินเดียจึงยังต้องมีการนำเข้าเครื่องปรับอากาศจากประเทศคู่คำโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากไทยซึ่งเป็นคู่าหลัก โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผสิต (PLI) จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากศของไทยไปอินเดียมากนัก

ขณะที่การนำเข้าจากจีนที่ลดลงนั้น อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การจัดตั้งโดรงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (PLI) สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้ขนาดใหญ่ในครัวเรือน (เครื่องปรับอากาศและหลอดไฟ LED) การลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเครื่องปรับอากาศจากจีนและฮ่องกง เป็นต้น

สินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

ในปี 2022 อินเดียมีการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์จากจีนมากเป็นอันดับ 1 (มูลค่า 1,873.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากสิงคโปร์และฮ่องกงมากเป็นอันดับถัดมา ขณะที่นำเข้าสินค้าดังกล่าวจากไทยมากเป็นอันดับที่ ( หากเปรียบทียบมูลค่าการนำเข้าสินค้าสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ของอินเดียระหว่างปี 2021 กับปี 2022 จะพบว่า อินเดียมีการนำเข้าสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์จากทั้งจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง และไทยเพิ่มขึ้น

จากการที่อินเดียต้องการเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับต้องการสร้างแรงจูงใจและดึงดูดการลงทุนโดยการจัดตั้งโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (PLI) 2.0 สำหรับอุปกรณ์ดัานไอที ทำให้อินเดียต้องมีการนำเข้าสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการผลิตสินค้าแท็บเล็ต แล็ปท็อป และคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่งผลดีกับประเทศคู่คำารวมทั้งกับไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินเดียมีการผลักดันและส่งเสริมอุตสาหกรรมการผสิตในประเทศตามนโยบาย*Make in India" เพื่อมุ่งสู่การเป็นแหล่งผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำใน Supply Chain1 อินเดียจึงพยายามลดการนำเข้าสินค้าแท็บเล็ต แล็ปท็อป และคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจัยนี้อาจส่งผลต่อการลดการนำเข้าสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในอนาคต


สินค้าแผงโซลาร์เซลล์

ในปี 2022 อินเดียมีการนำเข้าสินค้าแผงโซล่าร์เซลล์จากจีนมากเป็นอันดับ 1 ด้วยมูลค่า 852.2 ล้านตอลลาร์สหรัฐ และมีการนำเข้าจากเวียดนามและไทยมากเป็นอันดับถัดมา แต่หากเปรียบเทียบมูลค่าการนำเข้าสินค้าแผงโซล่าร์เซลส์ของอินเดียระหว่างปี 2021 กับปี 2022 จะพบว่า อินเดียมีการนำเข้าสินค้าแผงโซล่าร์เซสล์จากเวียดนามและไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่มีการนำเข้าจากจีนลดลงเป็นจำนวนมาก

จากการจัดก็บภาษีนำเข้าแผงโซล่าร์เซลล์ ประกอบกับการพยายามลดการนำเข้าจากจีน ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าแผงโซล่ร์เซลส์ของอินเดียจากจีนในปี 2022 ลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2021 จากปัจจัยตังกล่าว ส่งผลให้ผู้ผลิตในอินเดียหันมานำเข้าสินค้าตังกล่าวจากไทยและเวียดนามแทน นอกจากนี้ ไทยยังได้รับประโยชน์จากการใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ที่มีอัตราภาษีเป็น 0 ด้วย

อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (PLI) สำหรับโครงการระดับชาติเกี่ยวกับแผงโซล่าร์เซลส์ประสิทธิภาพสูง อาจทำให้อินเดียลดการนำเข้าแผงโซล่าร์เซลส์ลงในอนาคต และกระทบต่อการส่งออกแผงโซล่าร์เซลล์ของไทยไปอินเดียในระยะยาว เนื่องจากอินเดียต้องการสร้างระบบนิเวศสำหรับการผลิตแผงโซล่ร์เซลล์ประสิทธิภาพสูงและพึ่งพาพลังงานทดแทนภายในประเทศมากขึ้น


สรุป

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิตหรือ Production Linked Incentives (PLI) ของรัฐบาลอินเดียมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตภายในประเทศและสนับสนุนผู้ผลิตจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในอินเดีย โดยโครงการตังกล่าวจะให้เงินอุดหนุนกับบริษัทผู้ผลิตที่มีมูลค่าการขายเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ร้อยละ 4 ถึงร้อยละ 6 ในช่วงระยะเวลา 4 - 6 ปีโน 14 เซ็กเตอร์ ซึ่งโครงการ PLI ที่สนับสนุนในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเส็กทรอนิกส์แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในครัวเรือน (เครื่องปรับอากาศและหลอดไฟ LED) อุปกรณ์อิเส็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ต้านไอที และแผงโซล่าร์เซลส์ประสิทธิภาพสูง

จากมูลค่าการส่งออกในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเส็กทรอนิกส์ของไทยไปอินเดียในปี 2022 แสดงให้เห็นว่า โครงการดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมากนักเนื่องจากอินเดียมีกำลังการผลิตที่น้อยกว่าอุปสงค์ภายในประเทศ ทำให้ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้า

อย่างไรก็ตาม อินเดียเริ่มมีการลดการนำเข้าและเก็บภาษีจากกลุ่มสินค้าในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้ากลุ่มคอมพิวเตอร์ (HS 8471) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 แสะการโช้มาตรการทางด้านเทศนิค (Technical Barriers to Trade :TBT) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2023 กับสินค้าเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้มูลค่ากรส่งออกสินค้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปอินเดียในอนาคตลดลง สำหรับผู้ประกอบการไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งใน Supply Chain ของอินเดียจึงควรศึกษาแนวทางและผลกระทบของมาตรการที่ได้ประกาศใช้แล้ว และเตรียมความพร้อมกับมาตรการที่อาจประกาศใช้เพิ่มเติมในอนาคต
 

บทความนี้จัดทำโดย

แผนกนโยบายและแผน ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E Intelligence Unit: EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI)