TCC Confidence Index ในเดือนมีนาคม 2564

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังลดต่อเนื่อง 3 เดือน เชื่อไตรมาส 3 เศรษฐกิจฟื้นตัว

อัปเดตล่าสุด 9 เม.ย. 2564
  • Share :
  • 11,554 Reads   

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนมีนาคม 2564 (TCC Confidence Index) อยู่ที่ 30.7 เพิ่มขึ้น 1.1 จากเดือนที่แล้ว โดยค่าดัชนีกลับมาเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรก หลังจากลดลงติดต่อกันนาน 3 เดือน แม้ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง แต่ยังเชื่อจะกลับมาฟื้นตัวได้ในไตรมาส 3 ปีนี้

จากการสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 23 - 29 มีนาคม 2564 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวลดลง ค่าดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 30.7 เพิ่มขึ้น 1.1 จากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 29.6 เป็นผลความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รอบใหม่ ที่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง , ความกังวลเกี่ยวจากเสถียรภาพทางการเมือง, การส่งออกของไทยเดือน ก.พ. 64 ที่หดตัวลง 2.59% และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย

Advertisement

 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านลบ

  • ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รอบใหม่ ที่มีการระบาดและมีผู้ติดเชื้อภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลงบ้างแต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
  • ความกังวลเกี่ยวจากเสถียรภาพทางการเมืองและสถานการณ์ทางด้านการเมือง ตลอดจนการชุมนุมทางการเมือง
  • การส่งออกของไทยเดือน ก.พ. 64 หดตัวร้อยละ 2.59 มูลค่าอยู่ที่ 20,219.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 21.99 มีมูลค่าอยู่ที่ 20,211.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 7.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อยจากระดับ 29.986 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ก.พ. 64 เป็น 30.789 ฿/$ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 64 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ปรับดีขึ้น
  • ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.60 บาทต่อลิตร

ปัจจัยด้านบวก

  • สถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อไวรับ COVID-19 รอบใหม่เริ่มคลี่คลายลง ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมาดำเนินชีวิตได้ค่อนข้างเกือบปกติ
  • ภาครัฐดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในโครงการ “คนละครึ่ง” “เราเที่ยวด้วยกัน” “เราชนะ” และ“เรารักกัน” เพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ สถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 รอบใหม่เริ่มคลี่คลายลง ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมาดำเนินชีวิตได้ค่อนข้างเกือบปกติ
  • ภาครัฐดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในโครงการ “คนละครึ่ง” “เราเที่ยวด้วยกัน” “เราชนะ” และ“เรารักกัน” เพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ
  • แผนการกระจายวัคซีนโควิดของรัฐบาลในพื้นที่เสี่ยงเป็นรูปธรรมมากขึ้น และจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มลดลงอย่างชัดเจน รวมถึงการฉีดวัคซีนของทั้งโลก ทำให้สถานการณ์โควิดในระดับโลกปรับตัวดีขึ้น
  • SET Index เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 90.43 จุด จาก 1,496.78 ณ สิ้นเดือน ก.พ. 64 เป็น 1,587.21 ณ สิ้นเดือน มี.ค. 64
  • ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลงประมาณ 0.50 บาทต่อลิตร 
  • ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา

  • เร่งพิจารณาแผนการผ่อนคลายภายในประเทศและการเปิดประเทศ เพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
  • พิจารณากฎระเบียบในการเดินทางเข้าออกประเทศ อาทิ การนำวัคซีนพาสปอร์ตมาใช้สำหรับการเดินทางเข้าออกประเทศ รวมทั้งมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศ
  • เร่งกระจายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง เพื่อให้การดำเนินชีวิตกลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มมีการคลี่คลายลง
  • ออกมาตรการทางการเงินช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ในการช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินกิจการรักษาการจ้างงาน พัฒนาทักษะแรงงานและปรับรูปแบบธุรกิจ ให้กลับมาสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

 

อ่านต่อ: ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.พ. 64 ลดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3