ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.ค. 63 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.ค. 63 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

อัปเดตล่าสุด 21 ส.ค. 2563
  • Share :
  • 487 Reads   

ผศ.ดร.ธนวรรธน์  พลวิชัย  อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนกรกฎาคม 2563 (TCC CONFIDENCE INDEX) อยู่ที่ 31.8 เพิ่มขึ้น 0.3 จากเดือนที่แล้ว ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 2

จากการสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 364 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 27-31 กรกฎาคม 2563 พบว่า ภายหลังรัฐบาลมีมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 ผู้ประกอบการมีความมั่นใจมากขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ เริ่มกลับมาเปิดกิจการได้ และภาครัฐยังคงดำเนินมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ยังทรงตัว 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านลบ

  • สศค. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะหดตัวอยู่ที่8.5% ต่อปี ลดลงจากเดิมเมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.8% ต่อปี
  • ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบทำให้การดำเนินชีวติของประชาชน และการดำเนินธุรกจิเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และภาคบริการต่าง ๆ
  • ความกงัวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองตลอดจนการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มเยาวชน ที่อาจส่งผลให้ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาความขดัแย้งทางการเมืองเหมือนอดีตที่ผ่านมา
  • การส่งออกของไทยเดือน มิ.ย. 63 ลดลงร้อยละ 23.17 มูลค่าอยู่ที่ 16,444.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 18.25 มมีูลค่าอยู่ที่ 14.833.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ค่า SET Index เดือน ก.ค. 63 ปรับตัวลงลด 10.5จุด จาก 1,339.03 ณ สิ้นเดือน มิ.ย.63 เป็น 1,328.53 ณ สิ้นเดือน ก.ค. 63
  • ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับ 31.156 ฿/$ ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 63 เป็น 31.417 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ก.ค. 63 ซึ่งสะท้อนว่ามเีงินทุนจากต่างประเทศสุทธิไหลออกจากประเทศไทย

ปัจจัยด้านบวก

  • รัฐบาลมีมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 หลังจากที่ได้มีการผ่อนปรนตั้งแต่ระยะที่ 1-4 มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ ที่ปิดไปสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้ปกติและประชาชนสามารถออกมาทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ภาครัฐดำเนินมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์ COVID 19 เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ
  • ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังทรงตัว โดยราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 21.28 และ 21.55 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2563

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา

  • กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวและเน้นการเจาะตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูง
  • พิจารณาการทำ Bubble หรือ Selective Travel ในกลุ่มประเทศที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
  • พัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นให้ทัดเทียมกับเมืองใหญ่ ๆ เพื่อทำให้เกิดการจ้างงานและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้มีรายได้เกื้อกูลครอบครัว
  • มาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อตามมาตรการของรัฐได้
  • พัฒนาทักษะและมาตรฐานของแรงงานให้มีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการให้มากขึ้น


อ่านต่อ: ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย มิ.ย. 63 เพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 14 เดือน