EEC เร่งชงอู่ตะเภา “สนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3” เชื่อมดอนเมือง-สุวรรณภูมิ

อัปเดตล่าสุด 29 เม.ย. 2563
  • Share :
  • 989 Reads   

การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา โดยมี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง ที่ประชุมได้พิจารณาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก อย่างกว้างขวางและมีมติให้เร่งนําเสนอคณะกรรมการนโยบาย ฯ (กพอ.) โดยเร็วที่สุด ซึ่งสาระสําคัญของหนึ่งในโครงการใหญ่ของ EEC นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนา “เมืองการบินภาคตะวันออก” ในพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภา โดยมี 6 กิจกรรมสําคัญ คือ

1) อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Passenger Terminal Building 3)
2) ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน (Commercial Gateway and Ground Transportation
Centre)
3) ศูนย์ซ่อมบํารุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul)
4) เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (Cargo Village or Free Trade Zone)
5) ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Cargo Complex)
6) ศูนย์ฝึกอบรมการบิน (Aviation Training Centre)

การลงทุนของโครงการรวมเป็นเงินลงทุนรวมประมาณ 290,000 ล้านบาท (จากการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ) รัฐได้ประโยชน์เพิ่มเติม คือ

  • ได้ภาษีอากรเพิ่มมากกว่า 60,000 ล้านบาท (ไม่นับรวมรายได้ภาษีทางอ้อมกับธุรกิจเชื่อมโยงนอกเมืองการบินภาคตะวันออก)
  • เกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,640 ตําแหน่งต่อปีในระยะ 5 ปีแรก

ความสําคัญของเมืองการบินภาคตะวันออก 

อีอีซีวางยุทธศาสตร์ให้ เมืองการบินภาคตะวันออก ทําภารกิจสําคัญ 3 ประการ คือ 1) เป็น “สนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3” เชื่อมสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง 2) เป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมายโดยเฉพาะการเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation” ของ EEC

และ 3) เป็นศูนย์กลางของ “มหานครการบินภาคตะวันออก” ที่จะครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประมาณ 30 ก.ม. โดยรอบสนามบิน (เมืองพัทยา ถึง ตัวเมืองระยอง) ซึ่งเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของการพัฒนา Eastern Seaboard ที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสําคัญของประเทศไทย โดยเข้าเชื่อมโยงเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปทางตะวันออก ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้สะดวกทั้งทางน้ำ (เรือและท่าเรือ) ทางบก (ทางด่วน รถไฟ และ รถไฟความเร็วสูง) และทางอากาศ (สนามบิน)

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า การทํางานคัดเลือกเอกชนร่วมทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ดําเนินการโดยคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ซึ่งมี ผบ.ทร.เป็นประธาน และมีกรรมการจากกระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม สํานักงบประมาณ สํานักบริหารหนี้สาธารณะ สํานักงานอัยการสูงสุด และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดําเนินการอย่างละเอียดรอบคอบและดําเนินการเจรจาสัญญาเสร็จสิ้น รวมเวลาทํางานประมาณ 1 ปี 6 เดือน โดยได้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกทั้งหมดรวม 17 ครั้ง และการประชุมคณะทํางานเจรจาสัญญาทั้งหมดรวม 19 ครั้ง 

อ่านเพิ่มเติม: