1810110035-00-Toyota e-Palette

Mobility as a Service (MaaS) ระบบขนส่งเป็นการให้บริการ คลื่นลูกใหม่ของอุตฯ ยานยนต์

อัปเดตล่าสุด 5 ต.ค. 2561
  • Share :
  • 2,850 Reads   

แนวคิด “MaaS (Mobility as a Service)” ที่มองระบบขนส่งเป็นการให้บริการ ทั้ง Ride Sharing, Car Sharing, และร้านค้าเคลื่อนที่ กำลังเป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้ผลิตยานยนต์มากยิ่งขึ้น โดยมีเทคโนโลยีล้ำยุคที่จะผลักดันให้แนวคิด MaaS เป็นจริงขึ้นมาได้ ทั้งเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า, Connected Car, ระบบขับขี่อัตโนมัติ และอื่น ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า แนวคิดนี้กำลังวิวัฒนาการไปพร้อมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เลยทีเดียว

ด้วยเหตุนี้เอง MaaS จึงเปรียบได้กับคลื่นลูกใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม Honda ได้ประกาศความร่วมมือทางด้านธุรกิจ Ride Sharing กับ General Motor (GM) จากนั้นในวันที่ 4 จึงเป็นคราวของ Toyota และ Soft Bank  ซึ่งหากพิจารณาจากแนวคิด MaaS แล้ว  ธุรกิจด้านงานบริการมีแนวโน้มที่จะเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตยานยนต์มากยิ่งขึ้น หรือกระทั่งผู้ผลิตยานยนต์อาจลงเข้าสู่ตลาดด้วยตนเอง

 

เมื่อบริษัท IT กลายเป็น Subcontract

Toyota “e-Palette” รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งพัฒนาเพื่อแนวคิด MaaS

Toyota e-Pallet


ในวันที่ 4 ตุลาคม Mr. Akio Toyoda ประธานบริษัท Toyota เล่าให้ฟังว่าเคยพบกับ Mr. Masayoshi Son CEO บริษัท SoftBank นับตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว ซึ่ง Mr. Son ได้ยื่นข้อเสนอนี้ให้ตั้งแต่ครั้งนั้น แต่ทาง Toyota ได้ปฏิเสธไป

อย่างไรก็ตาม 20 ปีให้หลัง Toyota ได้เล็งเห็นว่าแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการจะผันตัวจาก “ผู้ผลิตยานยนต์” เป็น “บริษัทด้านการคมนาคม” ด้วยเหตุนี้เอง Toyota จึงตัดสินใจประสานความร่วมมือกับ SoftBank ในครั้งนี้

นอกจากนี้ ประธาน Toyoda ยังได้กล่าวเสริมว่า “วิสัยทัศน์อันเป็นจุดแข็งของ SoftBank นั้น เมื่อนำมาร่วมกับ Toyota Production System (TPS) ของเรา แล้ว ก็อยากให้รอรับชมกันว่า “อนาคตของการเดินทาง” ที่พวกเรา 2 บริษัทจะสร้างขึ้นนั้น จะออกมาในรูปแบบใด”

ซึ่งบริษัทที่ตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ใช้ชื่อว่า “MONET Technologies” ซึ่งมีกำหนดเริ่มให้บริการด้วย “e-Palette” หลังจากปี 2020 เป็นต้นไป โดยเริ่มต้นในฐานะร้านอาหารเคลื่อนที่พร้อมบริการรับส่งผู้โดยสาร และได้ตั้งเป้าให้บริการในฐานะโรงพยาบาลเคลื่อนที่ และออฟฟิศเคลื่อนที่ในอนาคต

GM Cruise Ride Sharing
 

 

ส่วนทางด้าน Honda และ GM นั้น ได้ร่วมลงทุนให้กับ GM Cruise Holding บริษัทในเครือ GM ซึ่งรับผิดชอบธุรกิจด้านระบบขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ในตลาดอเมริกาเหนือนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไป 

Mr. Seiji Kuraishi รองประธานบริษัท Honda กล่าวว่า “เราอยากมีส่วนร่วมในตลาด Ride Sharing ซึ่งจะมีอเมริกาเหนือเป็นศูนย์กลาง” และเล็งเห็นว่ายานยนต์ไร้คนขับ คืออนาคตของ Ride Sharing 

นอกจากนี้ PwC's Consulting ยังคาดการณ์ว่า ในปี 2030 มูลค่าตลาด MaaS ในอเมริกา ยุโรป และจีนรวมกัน จะขึ้นไปอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านดอลล่าร์อีกด้วย

 

ความร่วมมือเพื่อรถยนต์คุณภาพ

 

แนวคิด Maas คือสิ่งที่จะเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยานยนต์และงานบริการ ด้วยเหตุนี้เอง ค่ายรถในหลายประเทศจึงยกแนวคิดนี้ไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจในอนาคตของตน เช่น Volkswagen ซึ่งก่อตั้ง MOIA ขึ้นเพื่อรับผิดชอบธุรกิจด้าน MaaS และ Ford ที่วางแผนผลิตยานยนต์ไร้พวงมาลัยและคันเร่งสำหรับงานบริการโดยเฉพาะในปี 2021

อย่างไรก็ตาม ในงานบริการที่มีสมาร์ทโฟนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นด้านที่ผู้ผลิตยานยนต์ไม่ได้มีองค์ความรู้มากนัก และหากจะลงทุนพัฒนาเองก็อาจจะเป็นภาระมากเกินไป ซึ่ง Mr. Takaki Nakanishi นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมยานยนต์จาก Nakanishi Research Institute ได้แสดงความเห็นว่า “สิ่งที่จะช่วยให้ค่ายรถข้ามอุปสรรคนี้ไปได้ก็คือการเปิดรับความร่วมมือที่กว้างขวางขึ้น”

 


ด้วยเหตุนี้เอง การประสานความร่วมมือจึงเป็นธีมที่ฝ่ายบริหารของค่ายรถ จำเป็นต้องนำมาคิดในการวางแผนก้าวถัดไป และการจะทำให้แนวคิด MaaS ประสบความสำเร็จได้นั้น สิ่งสำคัญคือการนำยานยนต์ที่มีคุณภาพความปลอดภัยสูง สามารถผลิตจำนวนมากได้ในราคาต่ำ มาใช้ร่วมกับ User Interface ที่มีประสิทธิภาพจากผู้พัฒนา IT

ซึ่งการออกแบบยานยนต์เพื่อใช้ตามแนวคิดนี้ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่ง Toyota ได้นำรถมินิแวน “Sienna” มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนายานยนต์อัตโนมัติสำหรับ Ride Sharing โดยเฉพาะ และวางแผนให้บริการผ่านบริการของ Uber ส่วนทางด้าน Honda ซึ่งร่วมมือกับ GM นั้น อยู่ระหว่างการออกแบบการตกแต่งภายในอยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้ รถที่ออกแบบขึ้นนี้ยังจำเป็นต้องมีความทนทานสูง เหมาะแก่ผู้ใช้บริการทุกเพศทุกวัย และรองรับการใช้งานแบบอเนกประสงค์ ซึ่ง Mr. Koichi Sugimoto นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Mitsubishi UFJ Securities คาดการณ์ว่า “ในอนาคต สงครามระหว่างค่ายรถ อาจกลายเป็นการแข่งขันกันในเรื่องการออกแบบยานยนต์เชิงพาณิชย์ที่มีหน้าตาเรียบง่ายแต่ดูดีก็เป็นได้”