ชานนท์ เรืองกฤตยา ฝ่าดิสรัปชั่น-ตีโจทย์แชริ่งอีโคโนมี

อัปเดตล่าสุด 28 พ.ค. 2562
  • Share :
  • 452 Reads   

เลาะตะเข็บเวทีสัมมนาใหญ่กลางปีหัวข้อ “Game Changer Part ll เกมใหม่ เปลี่ยนอนาคต” จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันพุธ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยมี “โก้-ชานนท์ เรืองกฤตยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) รับเชิญเป็นวิทยากรในมุมมองภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์


คีย์เมสเสจไม่เพียงแต่เรารู้เท่าทัน ตามทันเทคโนโลยีหรือเปล่า ไม่ใช่เพียงแต่ไปเรียนรู้เทรนด์ดิสรัปชั่น แต่อยู่ที่นำมาปรับตัว-ปรับใช้มากน้อยแค่ไหนต่างหาก

หุ่นยนต์แทนที่แรงงานคน

วันนี้อยากมาแชร์แนวคิดของ exponential thinking การเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนยังไงบ้าง การเกิด-ตาย ผมว่าคอร์ปอเรตไทยแลนด์มองไม่ค่อยเห็นว่า

การเกิด-ตายของบริษัทไทยแลนด์มันเร็วขนาดไหน สถิติ S&P อเมริกา ปี 1935 บริษัทเล็กมีอายุ 90 ปี ณ วันนี้ต่ำกว่า 15 ปีแล้ว

บริษัทคอร์ปอเรตไทยแลนด์มีประวัติศาสตร์ 30-40 ปีเต็มที่ เราไม่เคยมีโอกาสเห็นการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นยังไง

ตัวอย่างของบริษัทรถยนต์ ฟอร์ด จีเอ็ม ใช้เวลา 100 ปีในการมีมาร์เก็ตแคป 58-60 บิลเลียนยูเอสดอลลาร์ ไครสเลอร์ซึ่งปัจจุบันถูกเทกโอเวอร์โดยเฟียตตั้งในปี 1930 ปัจจุบันมีมูลค่าตลาด 21 บิลเลียนยูเอสดอลลาร์ แต่เทสล่าของอีลอน มัสก์ ตั้งในปี 2004 ปัจจุบันมีมูลค่าตลาด 32 บิลเลียนยูเอสดอลลาร์

ข้อมูลจาก World Bank ประเทศไทยมีสัดส่วน 72% จีน 77% อเมริกาเกือบ 50% จะเห็นชัดเจนว่ามันมาเร็วและแรงมาก เราพร้อมรับขนาดไหน

สำหรับผม อุตสาหกรรมใดที่ digitize มากที่สุด เทรนด์จากกระทบมากไปหาน้อย กระทบมากสุด คือ ไอซีที มือถือ คอมพิวเตอร์ รองลงมาธุรกิจมีเดีย ไฟแนนเชียลเซอร์วิส ท็อป 4 ธุรกิจรับผลกระทบ alert ตลอดเวลา

เวลาผมมองภาพนี้ ผมมองยังไง ผมมองคลื่นสึนามิโดนใครก่อน ท็อป 4 โดนก่อน แล้วเรียลเอสเตตอยู่ตรงไหนของผลกระทบ อยู่ตรงกลาง ๆ ก่อสร้างอยู่ข้างล่าง ท่านต้องถามว่า ท่านอยู่ตรงไหน

เทคโนโลยีเชนจ์อสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์ทุกคนรู้ดี คัมภีร์การพัฒนาโครงการ คือ “โลเกชั่น โลเกชั่น โลเกชั่น” ผมทำอสังหาฯติดรถไฟฟ้าแล้วดี ยิ่งใกล้สถานีรถไฟฟ้า ทฤษฎีระฆังคว่ำ คือ บิสซิเนสโมเดลผมเลย ยิ่งใกล้สถานี อสังหาฯยิ่งราคาดี มีความต้องการสูง เพราะรถติด

ยกตัวอย่าง รถยนต์ขับด้วยตัวเองได้โดยอีลอน มัสก์ ทำรถยนต์เทสล่า ออโตโนมัสคาร์ ในเมืองซานฟรานซิสโก รถยนต์ขับตัวเองได้ก็คือหุ่นยนต์นั่นแหละ คนไม่อยากอาศัยอยู่ไกลจากที่ทำงานเกิน 40-45 นาที แต่ถ้าเราขึ้นรถแล้วอ่านหนังสือ ดูซีรีส์ (ภาพบรรยากาศในรถเหมือนลิฟวิ่งรูม) นั่งสมาธิได้ เขาบอกบ้านอยู่ไกลหน่อยก็ได้นะ ไม่ต้องอยู่ใกล้

นั่นก็คือการดิสรัปต์อสังหาฯ เพราะอสังหาฯ บอกว่าคือโลเกชั่น แต่มันมี pain point ของโลเกชั่น ปัญหารถติดคือ pain point ของโลเกชั่น ยิ่งอยู่ไกลจากรถไฟฟ้า เอา pain ออก ทำงานได้มากขึ้น

แต่เทสล่าอาจจะโดนดิสรัปต์ด้วยนะ เพราะ “นายอี แฮง มิเกล” สตาร์ตอัพจากเมืองจีน เขาทำโดรนพาสเซนเจอร์ เทสต์มา 3 ปีแล้วที่เมืองดูไบ เรื่องนี้โตโยต้าก็ลงมาเล่นด้วยกำลังจะเทสต์ที่โอลิมปิกปีหน้า, โรลส์-รอยซ์ก็ทำ, อูเบอร์บอกว่าอย่าลืมฉันสิ ฉันอยู่ในเกม mobility, แอร์บัสด้วย ผลิตไม่พอ แอร์บัสบอกฉันมีแอปด้วยนะ เหมือนอูเบอร์

ถ้ามองอย่างนี้ ภาพในอนาคตจะเป็นยังไง อีกไม่นาน…บิสซิเนสโมเดลผมพังเลยนะ (อสังหาริมทรัพย์) ใครมีที่ดินต่างจังหวัดอาจจะโชคดี ไม่ต้องติดถนน

ถ้าเป็นอย่างนี้ สิ่งที่รีบควรไปซื้อ คืออะไรรู้ไหม ไปขอเช่า (เน้นเสียง) ตึกทุกตึกทำที่จอดโดรน เรียลเอสเตตที่จะราคาดีที่สุด ไปเช่าหลังคาตึกทุกตึกในโลกดีกว่า และไปซื้อที่ดินไม่มีค่าที่สุด อยู่ตามต่างจังหวัดเพราะถนนไปไม่ถึง

ตีโจทย์ “แชริ่งอีโคโนมี”

เราต้องถามตัวเอง What business our we really in ? เราอยู่ในธุรกิจอะไรกันแน่ ตอนนี้หลาย ๆ ธุรกิจต้องมองตัวเองเป็นบริการ ลูกค้าบอกว่า I want to buy service. ไม่ใช่ I want to buy a car. คนเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ บอกว่า ผมแค่อยากจะใช้นะพี่ผมไม่อยากเป็นเจ้าของ

ธุรกิจผมเป็นอสังหาฯรู้กันอยู่แล้ว เราเป็นธุรกิจ mobility หรือเป็นทั้งสองอย่าง สับสนในชีวิตอยู่เหมือนกัน เราอยู่กับก่อสร้างหรือควรจะมองว่า share economy ทำกับ Airbnb เลยไหม ทรัพยากรมีเยอะมันโดนใช้กันหมดทุกอย่างหรือยัง เราพูดกันถึงขั้นว่าในอนาคตไม่ต้องขายแล้ว

Living as a service ซื้อห้องชุดไอดีโอ คอยน์ดีกว่าไหม ใช้ตรงไหนก็ได้ ออกแอสเสต Ideo coin ซีเคียวริไทเซชั่นเข้าไป สร้างตึกใหม่ ซื้อคอยน์แล้วอยู่ตรงไหนก็ได้ แล้วเทรดกันในตลาด อยากอยู่แถวเพลินจิต burn rate เบิร์นคอยน์เร็วหน่อยนะ

แต่ไม่ใช้ก็เทรดได้ เทรดไปอยู่แถวบางนาก็ได้ เพราะทำเลมันต่ำกว่าในแง่ไพรซิ่ง เป็นอะไรที่เราคิดตลอด

ทั้งหมดนี้ เวลามองเราต้องมอง when idea have sex ทุกไอเดียที่เกิดขึ้นตอนนี้ การเปลี่ยนแปลงมันไม่เป็นอะไรที่เราจะมองออกหรอก แต่จะเป็นอะไรที่เราจะมองไม่ออก

เทรนด์ล้ำ ๆ ปี 2045

การที่ผมชวน Singularity University มาจอยน์ที่เมืองไทย ผมว่าคนไทยเราน่าจะเรียนรู้ exponential effect การที่ curve (เส้นกราฟสถิติ) จะหักหัวขึ้น จะเห็นภายใน 100 กว่าปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีขึ้นหักศอกเลย มีรถยนต์ ไฟฟ้า เครื่องบิน มันเกิดขึ้น ไอโฟนเกิดขึ้นใน 100 ปีที่ผ่านมา

มนุษย์ modern man homozapian ประมาณหมื่นปีมาแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงเร็วและแรงเกิดภายใน 100 ปีมานี้ และอยู่ในยุคเราหมดเลย เปลี่ยนแปลงจนตามอะไรไม่ทัน

แนวโน้มปี 2045 ต้องนึกสภาพว่าเซอร์วิสชิปไอโฟนฝังในสมองคนแล้ว ซิงกูลาริตี้กำลังบอกว่าเหลืออีก 20 ปี …ถึงตอนนั้นคนจะทำงานกันยังไงล่ะ ที่มันฝังชิปเข้าไปในสมองแล้ว

ใช้มือถือเพิ่ม 5 พันล้านคน

ถัดมา ภาพ old organization, young organization เหมือนทีมฟุตบอล มีนักเตะดัง ๆ อย่างโรนัลโด้ฟิตมาก ถ้าโดนดิสรัปต์อาจปรับตัวไปเล่นอเมริกันฟุตบอล เพราะยุคดิสรัปชั่นเก่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมี agile ต้องมี agibility ต้องมี mindset ที่ปรับตัวเองให้ได้ แต่มีใครเคยเล่นฟุตบอลแล้วเปลี่ยนมาเล่นอเมริกันฟุตบอลแล้วเคยเป็นแชมป์ไหม

อีกประมาณ 5 ปี มนุษยชาติ จิตของมนุษยชาติจะเชื่อมถึงกันหมด 8,000 ล้านคนโดยมือถือ ใครอยู่แอฟริกามือถือฟรีเลย อีลอน มัสก์ จะยิงแซตเทลไลต์ 5,000 แซตเทลไลต์ทั่วโลก กำลังยิงออกไปจากสเปซ-เอ็กซ์

ตอนนี้คนใช้มือถือ 3,000 ล้านคน ถ้าใครไม่ทำอะไรบนมือถือกำลังสูญเสียลูกค้าไปเท่าไหร่ เพิ่มอีก 5,000 ล้านคน เกือบ 200% ใครทำธุรกิจโรงแรม ออนไลน์เอเยนซี่ เช่น Agoda มาบีบขอเปอร์เซ็นต์ จะเกิดขึ้นอีกมหาศาล
กลับมาดูคนไทย ใช้เวลา 9 ชั่วโมง 38 นาที on internet ใช้เวลา 3 ชั่วโมง on social ลองคิดดูว่าถ้าใครยังไม่ทำอะไรในอินเทอร์เน็ต ผมว่าเตรียมตัวตาย อยู่ไม่ได้ เราอยู่ offline physical world แต่ต้องมี online present โลกสองโลกนี้มัน convert กันอยู่

ปรับองค์กรรับโลกยุคใหม่

ยุคดิสรัปชั่นทำให้ต้องย้อนกลับมาดูโครงสร้างองค์กร คำถามคือทุกโครงสร้างองค์กรวาดผังให้มีตำแหน่งงานตามลำดับ มีผู้นำ 1 คน ผู้บริหารระดับรอง และพนักงาน ทุกวันนี้เราก็ยังยึดติดกับตรงนี้ เรามีผู้ใหญ่เป็นหัวหน้า แต่พฤติกรรมคนไทยเราเล่นเน็ตวันละ 9 ชั่วโมง ถามว่าผู้นำ get ไหม… ไม่มีทาง เขาไม่เก็ตเพราะยืนอยู่คนละโลก เถียงกัน ทะเลาะกัน

องค์กรอนาคต decentralised โลกใหม่ องค์กรแบบเดิมไม่เวิร์กแล้ว ต้องเป็นคลัสเตอร์ แต่ละคลัสเตอร์ของคนเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ

ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ทำได้ไหม เราฟังเขาหรือเปล่า เราลองกลับไปมองสิ ลองเอาเด็กอายุ 25 ปีเป็นผู้บริหาร ทำไมเราไม่ทำกันล่ะ ผมกำลังหาอยู่ เป็นผู้บริหารเลยนะ นั่งข้าง ๆ ซีอีโอ What do you think. ใช้แอปนี้มันดีตรงไหน ทำไมเธอดูซีรีส์นี้ ไม่ดูซีรีส์นั้น ทำไม social influencer คนนี้ มันเท่กว่าคนนี้ล่ะ สังคมเขาว่ายังไงล่ะ

เราถามเขาไหม ผมว่าเราไม่ได้ถาม เพราะเราเล่นเกม hierarchy (สายบังคับบัญชา) เพราะฉะนั้น เกมนี้อันตรายที่สุดในออร์แกไนเซชั่น

ลูกค้าอยากใช้-ไม่เป็นเจ้าของ

องค์กรในอนาคต ผมว่าต้องเป็นองค์กรที่ collaborate กันมาก เลเยอร์แต่ละเลเยอร์ต้องผสมแต่ละเจเนอเรชั่นให้ได้ ผู้ใหญ่ทำตัวเป็นผู้ฟัง ทำตัวเล็ก รับฟัง องค์กรถ้ามีผู้ใหญ่ที่ดื้อ ผมว่าองค์กรเราก็ตายแล้ว

คีย์สำหรับผมไม่ใช่เกี่ยวกับเทคโนโลยี หาคน เอาต์ซอร์สมาได้ แต่เอากลับเข้ามาในองค์กรแล้ว เราปรับตัวเองยังไงล่ะ คีย์ตรงนี้สำคัญที่สุด

สำหรับผม ผมเตรียมดิสรัปต์ไว้แล้ว เขา (ลูกค้า) บอกว่า พี่โก้ชวนผมเป็นหนี้ 30 ปี (ซื้อบ้าน-คอนโดฯ) ผมไม่เอาแล้ว ผมไม่อยากเป็นหนี้แบงก์ 30 ปี พี่ก็ยัดเยียดสินเชื่อให้ผมอยู่นี่ไง ขายของให้ผม

ผมเตรียมแล้วนะครับว่า ยุคใหม่เขาอยากจะใช้ แต่ไม่อยากเป็นเจ้าของ หาโมเดลตี (โจทย์) ให้แตกให้ได้ตรงนั้น

สุดท้าย ฝากเราดูศึกษาดิสรัปชั่นทุกอย่าง จะเห็นว่าการเกิด-ดับ เร็วและแรง ชาร์ลส์ ดาร์วิน บอกว่า สัตว์เลือดเย็นไม่สามารถปรับตัว สัตว์เลือดร้อนก็ครองโลก ณ วันนี้ เราเป็นอะไร… คีย์สำคัญที่สุด คือ การปรับตัว

ปรับตัวเริ่มที่ mindset ของตัวเองก่อน ถ้าเราเป็นผู้มีอำนาจอยู่ เราดูตัวเองก็ได้ เราฟังลูกตัวเองขนาดไหน ถ้ารู้สึกว่าพูดกันไม่รู้เรื่องกับลูกตัวเอง เราต้องบอกตัวเองว่าพูดกับลูกน้องก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง

ผมบอกกับตัวเองว่า ถึงเวลาแล้ว หรือยังให้คนอื่นเป็นผู้นำ ถ้าเราไม่ยอมเป็น