FIBO ลงนาม MOU 129 โรงเรียน มุ่งเป้าเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง (Robotics, AI, and Coding: RAC), สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

FIBO ลงนาม MOU 129 โรงเรียน มุ่งเป้าเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษ ด้าน Robotics AI และ Coding: RAC

อัปเดตล่าสุด 21 ก.ค. 2566
  • Share :
  • 3,271 Reads   

FIBO - หน่วยงานพันธมิตร ลงนาม MOU 129 โรงเรียน มุ่งเป้าเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษา-อาชีวศึกษาและเครือข่ายด้าน Robotics AI และ Coding: RAC

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) ร่วมกับ หน่วยงานพันธมิตร จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือ 129 โรงเรียน ภายใต้โครงการพัฒนาเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษา-อาชีวศึกษาและเครือข่ายด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง (Robotics, AI, and Coding: RAC)

โดย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และผู้อำนวยการโรงเรียน จากกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สยาม เจริญเสียง รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และหัวหน้าโครงการพัฒนากำลังคนโดยเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษา-อาชีวศึกษาและเครือข่ายด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง กล่าวถึงรายละเอียดโครงการและกล่าวต้อนรับ

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษา-อาชีวศึกษาและเครือข่ายด้านวิทยาการหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง (Robotics, AI, and Coding: RAC)” กับ 4 สถาบัน ประกอบด้วย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอาชีวศึกษาจากกลุ่มโรงเรียน เครือข่ายความร่วมมือฯ ที่เข้าสู่ระบบเพื่อเพิ่มสมรรถนะ โดยจะเน้นการเรียนที่ลงมือปฏิบัติจริงทั้งรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ ในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ที่มีความสามารถพิเศษจะแบ่งตามความสนใจของผู้เรียนสอดคล้องกับหน่วยงานในกลุ่มเครือข่าย (Consortium) รวมถึงการส่งนักเรียนเข้าฝึกงานกับภาคเอกชนในกลุ่มเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านให้สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาศักยภาพครูแกนนำจากกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายฯ โดยจัดกิจกรรมอบรมเพื่อให้ครูแกนนำมีความรู้และสมรรถนะด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง และร่วมคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษเข้าร่วมโครงการ

FIBO ลงนาม MOU 129 โรงเรียน มุ่งเป้าเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง (Robotics, AI, and Coding: RAC), สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH