ดัชนีความเชื่อมั่น ธันวาคม 2561

อัปเดตล่าสุด 24 ม.ค. 2562
  • Share :
  • 368 Reads   
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมนายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมฯเปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนธันวาคม 2561 จำนวน 1,206 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 93.9  ในเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นการปรับตัวลดลง ในองค์ประกอบยอดคำ-สั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
 
จากการสำรวจ พบว่า ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการได้เร่งผลิตสินค้าไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน เพื่อชดเชยในเดือนธันวาคมที่มีวันทำงานน้อยและมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะSMEs นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่งออกมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้าของไทย
 
อย่างไรก็ตาม พบว่าการจัดกิจกรรมกระตุ้นการขายของผู้ประกอบการ ได้ส่งผลดีต่อยอดคำสั่งซื้อและยอดขายในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
 
ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.9 ลดลงจาก 107.4 ในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยให้ชะลอตัวลง ขณะเดียวกันราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อต้นทุนประกอบการในอนาคต
 
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนธันวาคม 2561 จากการสำรวจ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออก และภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน โดยมีรายละเอียดมีดังนี้ 
 
ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 96.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 97.3 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
 
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
 
 
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 109.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 110.2 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
 
ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม2561 อยู่ที่ระดับ 78.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 79.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
 
อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
 
  1. อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว มีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่อเนื่อง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศจีนและตลาด CLMV)
     
    ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 98.6 ปรับตัวลดลงจากระดับ 99.6 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
     
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวลดลง จากระดับ 90.8 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
     
    อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
     
    1. หัตถอุตสาหกรรม (เครื่องปั้นดินเผา ร่ม มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงท่องเที่ยว สินค้าพรีเมียม มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น)
       
      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.5 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
       
      ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 112.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 110.4 ในเดือนพฤศจิกายน  องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
       
       
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
 
  1. อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูปประเภทเสื้อผ้ากีฬา และเสื้อกันหนาว มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐ, ยุโรป และเอเชีย ขณะที่ตลาดในประเทศเสื้อผ้าสำเร็จรูปมียอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่)
    ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.4 ลดลงจากระดับ 113.7 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
     
    ภาคใต้  ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 78.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 74.9 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
     
    อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
     
    1. อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (คอมเพรสเซอร์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มจากประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และจีน สินค้าเครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น อาเซียนและยุโรป)
    2. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (อัญมณีและเครื่องประดับมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากอินเดียและยุโรป เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องใช้เป็นของขวัญของฝากช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการมีการออกแบบสินค้าคอลเล็กชั่นใหม่มากขึ้น)   
    3. อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง (ผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนัง กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นตามความต้องการของนักท่องเที่ยวจีน หนังฟอกสำหรับทำรถยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์)
       
      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.2 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
       
       
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ
 
1. เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการใช้สกุลเงินบาท เพื่อการค้าระหว่างประเทศกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างกัน
2. เสนอให้ภาครัฐหามาตรการเยียวยารายการสินค้าที่เสียดุลการค้าอย่างมากกับประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา
 
อ่านต่อ