ข้อมูลวิเคราะห์ อัตราแลกเปลี่ยนบาทไทย

อัปเดตล่าสุด 23 ก.พ. 2562
  • Share :
  • 550 Reads   

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมประกอบแถลงข่าวดัชนี และข้อมูลวิเคราะห์อัตราแลกเปลี่ยนบาทไทย โดยข้อมูล เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวรอยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกสินค้า และบริการ แต่ในขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลชะลอตัว และการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง

รวมทั้งปี 2561 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2560และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจไทยในชวงที่ผ่านมาของปี 2562 พบว่า มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการได้แก่ การส่งออกที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลก, ผลกระทบของสงครามการค้า,ค่าเงินบาทที่แข็งค่า, การปรับขึ้นอัตราคาจ้างขั้นต่ํา ประจําปี 2562 ที่จะปรับขึ้นในชวงเดือนเมษายนนี้ รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนและบรรยากาศทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง

โดยสงครามการค้าได้สงผลกระทบตอการส่งออกสินคาไทยให้ลดลง เนื่องจากไทยเป็นหวงโซ่การผลิตให้กับจีน เมื่อสินค้าจีนสงออกไปสหรัฐฯ ได้ลดลง จึงได้รับผลกระทบตามไปด้วย

 

ภาคอุตสาหกรรมเริ่มประเมินความเสี่ยง และปรับตัวรองรับผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจข้างต้น

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาจมีการปรับเป้าการส่งออกในปี 2562 ลง โดยขอประเมินสถานการณในชวงไตรมาสแรกของปีนี้กอน โดยเบื้องต้นคาดว่า การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์จะขยายตัวได้ประมาณ 6.5% จากมูลค่าการส่งออกในปี 2561 ที่ 2.0 ล้านล้านบาท (ลดลงจากปี 2560 ที่ส่งออก 2.03 ล้านบาท หรือลดลง 1.3% จากเป้าหมายตั้งไว้ขยายตัว 7%)

อุตสาหกรรมยานยนต์ มีความกังวลต่อภาวะสงครามการค้ามากที่สุด สงผลให้ในปีนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 1,100,000 คัน ลดลงจากปี 2560 ที่ส่งออกได้ 1,140,000 คัน อย่างไรก็ตาม กลุ่มฯ ขอติดตามสถานการณในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ก่อนว่าจะปรับเป้าหมายหรือไม่

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม มีความกังวลเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูงเกินไปจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผูประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของการแข็งค่าของเงินบาทอยู่แล้ว ในเบื้องต้นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมได้มีการปรับตัว และเตรียมแผนรับมือ ดังนี้

  • ลดต้นทุน เช่น การลดการทํางานล่วงเวลา (โอที)
  • การต่อรองราคาซัพพลายเออร์ที่นําเขาวัตถุดิบ และกึ่งสําเร็จรูป
  • ลดสัดส่วนการส่งออกสิ้นคาไปจีนลง
  • หาตลาดส่งออกใหม่ที่มีศักยภาพ
  • เพิ่มสัดส่วนการทําตลาดในประเทศ
  • ด้านโครงการลงทุน จะมีปรับลดงบลงทุน เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น และพิจารณาจัดลําดับความสําคัญของโครงการลงทุน

การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ํา ขณะนี้บอร์ดค้าจ้างกลางอยู่ระหว่างรอผลศึกษาจากคณะอนุกรรมการค่าจ้างฯ โดยอัตราค่าจางขั้นต่ำที่จะปรับขึ้นนั้น ยังไม่มีขอสรุปเป็นตัวเลขที่ชัดเจน มีเพียงแต่การหยิบยกตัวเลขตามขอเสนอของบางจังหวัด ที่เสนอให้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มอีก 1-2 บาท หรือ 4-8 บาท ขึ้นพิจารณา ซึ่งการพิจารณาปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจําปี 2562 จะประกาศบังคับใช้วันที่ 1 เมษายนนี้ โดยจะเสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อตรวจสอบว่าตัวเลขที่เสนอเหมาะสมเป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศหรือไม่ ซึ่งคาดว่า จะมีการหารือ และนําเขาสู่การพิจารณาของบอร์ดค่าจ้างกลางภายในเดือนมีนาคม เสนอขอความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) จากนั้นบอร์ดค่าจ้างกลาง จะออกประกาศบัญชีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

อ่านต่อ
ดัชนีความเชื่อมั่น มกราคม 2562