สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 4/2563

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2563

อัปเดตล่าสุด 12 มี.ค. 2564
  • Share :
  • 1,373 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 113, 721.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 58,392.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 55,329.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหดตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เกินดุล 3,062.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยมูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าพบว่าหดตัวน้อยลง เนื่องจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าทยอยฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 58,392.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออก 5,283.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.8
  • สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการส่งออก 4,317.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 11.5
  • สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออก 47,240.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.5
  • สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มูลค่าการส่งออก 1,550.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 30.3 

สินคัาที่มีการส่งออกหดตัว ได้แก่ 

  • รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 6,2713 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.5
  • เม็ดพลาสติก มูลค่าการส่งออก 2,184.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.5 
  • แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่าการส่งออก 1,954.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 1.8

สินค้าบางรายการยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น 

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 5.019.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.8
  • ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่าการส่งออก 3,465.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.5 เป็นต้น

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2563

ตลาดส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ตลาดส่งออกหลักในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคู่ค้าหลักอื่นยังคงหดตัว ซึ่งสัดส่วนการส่งออก 5 ตลาด ได้แก่ อาเชียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) รวมคิดเป็นร้อยละ 71.3 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 28.7 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการส่งออกของไทย ไปยังอาเชียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) คิดเป็นร้อยละ 24.4, 14.8, 14.0, 10.2 และ 7.9 ตามลำดับ
  • อัตราการขยายตัวของการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 16.0 และ 4.2 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) จีน และสหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) หดตัวลงร้อยละ 13.6, 2.6 และ 1.8 ตามลำดับ

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2563

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 55,329.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 6,684.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 15.0
  • สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 15,156.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.0 
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 22,884.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.5
  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 7, 102.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวตัวร้อยละ 8.9
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 292.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 40.3
  • สินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 367.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 62.2

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2563

ตลาดนำเข้าสินค้า สัดส่วนการนำเข้าแยกตามตลาดนำเข้าสำคัญ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 อัตราการขยายตัวในตลาดนำเข้าสำคัญของไทยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหดตัวทุกตลาด ได้ แก่ จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหกาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) และสหรัฐ ซึ่งทั้ง 5 ตลาด มีสัดส่วนการนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 72.3 และการนำเข้าจากตลาดอื่นคิดเป็นร้อยละ 27.7 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการนำเข้าของไทย จากจีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 24.9, 18.9, 14.9, 8.0 และ 5.6 ตามลำดับ
  • อัตราการขยายตัวของการนำเข้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) จีน และอาเซียน (9 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 24.1, 19.4 , 18.4, 11.1 และ 7.7 ตามลำดับ

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2563

 

อ่านต่อ: