อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 2563 Q1 การส่งออกและการนำเข้า

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2563

อัปเดตล่าสุด 15 มิ.ย. 2563
  • Share :
  • 2,036 Reads   

กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยสถานการณ์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 94.0 ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 4.2 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor devices transistors, PWB, HDD และ PCBA เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2, 11.3, 9.4 และ 7.6 ตามลำดับ เนื่องจาก เนื่องจากมีการโยกคำสั่งซื้อจากโรงงานที่ปิดตัวในจีนมาซื้อจากโรงงานใน ไทยเพิ่มขึ้น ในขณะที่การผลิต Printer และ Integrated circuits (IC) ลดลง ร้อยละ 21.9 และ 0.3 ตามลำดับ เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับผลกระทบทำให้ไม่สามารถ นำเข้าวัตถุดิบ (Supply chain disruption) หลังจากหลายประเทศที่เป็นซัพพลายเออร์ประกาศปิด ประเทศ

การนำเข้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่าการ นำเข้า 8,181.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 13.9 (%QoQ) และปรับตัวลดลงร้อยละ 6.5 (%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 31.2 เครื่องโทรศัพท์และ อุปกรณ์ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.6 วงจรรวม (IC) ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 ในขณะที่ไดโอด ทรานซิสเตอร์กลอุปกรณ์กึ่งตัวนํา และส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 

ดัชนีผลผลิต 

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  

การส่งออก สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่าการ ส่งออก 8,498.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 9.3 (%QoQ) ในขณะที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.3 (%YoY) จากไตรมาส เดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 และ 13.3 ตามลำดับ เมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนประกอบและอุปกรณ์ ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 โดย HDD ยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ เพื่อ รองรับความต้องการในการใช้งานบน Cloud และ Data Center ทำให้ ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกเพิ่มขึ้น ส่วนวงจรรวม (IC) ปรับตัว ลดลงร้อยละ 9.7 และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ปรับตัวลดลงร้อยละ 46.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 

มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก 

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  


แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 

สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 คาดว่าจะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากหลายประเทศ สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้ภาคการผลิต กลับมาดำเนินการได้รวมทั้งประชากรส่วนใหญ่ Work From Home และ สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจึงทำให้ เกิดความต้องการใช้ Hard Disk Drive และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการ จัดเก็บข้อมูลเพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานบน Cloud และ Data Center ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง