ระบบนำทางยานยนต์ที่แม่นยำมากขึ้น ด้วยดาวเทียม Michibiki

อัปเดตล่าสุด 26 ก.ย. 2561
  • Share :
  • 809 Reads   

Toyota Tsusho มุ่งพัฒนาการใช้ข้อมูลดาวเทียม จากเทคโนโลยีดาวเทียมที่ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นเองเพื่อใช้เป็นระบบนำทางยานยนต์ โดยเริ่มทดลองใช้ข้อมูลจาก Quasi-Zenith Satellite System (QZSS)  “Michibiki” กับรถแท็กซี่บางส่วนในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม 2018 และประสบความสำเร็จในการแสดงผลการนำทางอย่างแม่นยำ โดย METI (Ministry of Economy, Trade and Industry) รายงานว่า ระบบที่ Toyota Tsusho พัฒนาขึ้นนี้ได้ถูกนำไปใช้โดย “ระบบนำทางยานยนต์อัตโนมัติด้วยดาวเทียมซึ่งผลิตโดยประเทศออสเตรเลีย”, Mitsubishi Electric, และ Dynamic Map Platform อีกด้วย โดย Toyota Tsusho ตั้งเป้าพัฒนาต่อยอด เพื่อยกระดับสู่บริการสำหรับยานยนต์แห่งอนาคต


ลดข้อผิดพลาด

ในขั้นตอนการทดลอง Toyota Tsusho ได้ติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณไว้กับรถแท็กซี่ที่วิ่งในกรุงเทพฯ และรับส่งข้อมูลกับ Michibiki ผลการทดลองใช้งานได้แสดงถึงความแม่นยำในการนำทาง และตรวจสอบความแออัดของท้องถนน โดยมีความคลาดเคลื่อนเพียงไม่กี่เซนติเมตร จึงมีความถูกต้องสูงกว่าระบบ GPS ที่มีความผิดพลาดในเรื่องของตำแหน่งอยู่ที่ช่วงระยะ 5 - 10 เมตรเป็นอย่างมาก สามารถตรวจสอบตำแหน่งยานยนต์ได้แบบคันต่อคัน รวมถึงสามารถตรวจสอบความแออัดแยกตามช่องจราจร เพื่อให้ผู้ขับสามารถหาเส้นทางที่เหมาะสมได้


พัฒนาโดย JAXA

NEXT MOBILITY ผู้พัฒนาโซลูชั่นด้านการคมนาคม และหนึ่งในผู้นำด้านระบบนำทางยานยนต์รายใหญ่ค่ายอิตาลี่ กล่าวแสดงความเห็นว่า “หากระบบนำทางความแม่นยำสูงนี้ถูกนำมาใช้งานจริง การเดินทางถึงที่หมายจะทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น” ซึ่งเทคโนโลยี “MADOCA” ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลจากดาวเทียมมายังแท็กซี่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) และได้ Japan External Trade Organization (JETRO) เป็นผู้ยื่นข้อเสนอให้ทำการทดสอบในประเทศไทย

ปัจจุบัน METI ได้นำระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ไปทดลองใช้ที่ออสเตรเลีย ซึ่งนอกจากระบบของ Toyota Tsusho แล้ว ยังได้รับความร่วมมือจาก Mitsubishi Electric, Dynamic Map Platform, Global Positioning Augmentation Service, Magellan Systems Japan, Japan Research Institute, และ Keio University นอกจากนี้ ยังถูกนำไปใช้ใน “แผนที่ความละเอียดสูง 3 มิติ” ซึ่งพัฒนาโดย Dynamic Map Platform  ภายใต้การร่วมลงทุนจากผู้ผลิตยานยนต์กว่า 10 รายอีกด้วย คาดการณ์ว่า ระบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่ที่มีการจราจรแออัดได้ในอนาคต