หุ่นยนต์อุตสาหกรรม LBR iiwa คว้า Red Dot Award - Best of The Best

อัปเดตล่าสุด 18 เม.ย. 2561
  • Share :
  • 1,077 Reads   

Red Dot Award เป็นเวทีแข่งขันออกแบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งมาแล้วกว่า 64 ปี (เทียบกับปี 2018) รางวัลนี้จัดขึ้นปีละครั้งและได้มอบรางวัลให้แก่ผู้ที่มีความคิดนอกกรอบมาแล้วในหลากหลายประเภทและสาขา ความแตกต่างของ Red Dot ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่า เป็นเครื่องหมายที่มีคุณภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับการออกแบบที่ดี ในการประเมินความหลากหลายในด้านการออกแบบอย่างละเอียดและเป็นมืออาชีพ ดังนั้น ผู้ที่ได้รับ Red Dot Award จึงถูกคาดการณ์ได้ว่า จะเป็นเทรนด์ที่โดดเด่นไปทั่วโลก

รางวัลนี้แบ่งออกเป็นสามสาขา ได้แก่ รางวัล Red Dot ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์, รางวัล Red Dot ด้านการออกแบบการสื่อสาร, และรางวัล Red Dot ด้านแนวคิดการออกแบบ

เป็นเรื่องน่ายินดีว่าในภาคอุตสาหกรรมนั้น ได้มีผู้มุ่งมั่นและคว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้มาได้ โดยในปี 2014 รางวัล Red Dot ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ได้รับรางวัล  Red Dot Design Award

LBR iiwa หุ่นยนต์ตัวนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ Best of the Best จากเวทีการประกวดที่ยิ่งใหญ่ ด้วยน้ำหนักที่เบาและการทำงานที่นุ่มนวลเลียนแบบมนุษย์ อีกทั้งยังถูกออกแบบมาเพื่อป้องการการได้รับบาดเจ็บของมนุษย์จากการทำงานร่วมกัน LBR iiwa จึงถูกรับเลือกให้เป็นผู้ชนะในฐานะที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ และยังเป็นผู้ช่วยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายอีกด้วย เรามาดูจากคลิปด้านล่างนี้กัน

จะเห็นได้ว่าการทำงานร่วมกันของมนุษย์และหุ่นยนต์ ทั้งสองจะทำงานและติดต่อสื่อสารร่วมกันโดยตรง มนุษย์มีหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบการผลิต โดยมีหุ่นยนต์ทำหน้าที่ภาคปฏิบัติด้วยพละกำลังกายภาพ ใช้ทักษะความสามารถพิเศษของมนุษย์และหุ่นยนต์ในการทำงานร่วมกัน

สำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ หุ่นยนต์จะเป็นผู้ช่วยมนุษย์ หมายถึง เครื่องจักรจะไม่เข้ามาแทนที่มนุษย์ แต่ทว่าจะช่วยเสริมความสามารถและช่วยลดภาระการทำงานลง ตัวอย่างเช่น การทำงานในแบบกลับหัวหรือการยกของที่หนัก อีกทั้งในการจัดส่งของตำแหน่งการทำงานในการผลิต จะมีการนำเอาหุ่นยนต์ที่เป็นอิสระและให้ความร่วมมือกันมาใช้งาน

ในโรงงานแห่งอนาคตในยุค Industry 4.0 จะไม่มีการแยกระหว่างตำแหน่งการทำงานแบบอัตโนมัติและตำแหน่งการทำงานด้วยมือ มนุษย์และหุ่นยนต์จะทำงานอย่างร่วมมือกันและเหมาะสมที่สุด – โดยไม่มีการแยก โดยไม่มีรั้วกั้น ซึ่งนั่นฟังดูดีไม่น้อยทีเดียว

แล้วการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับหุ่นยนต์ดีอย่างไร เราจะมาจำแนกเป็นข้อ ๆ ให้ได้อ่านกัน

  • มีความยืดหยุ่นสูงสุดในการผลิต
  • ลดภาระของพนักงานลงได้ โดยการรับช่วงของขั้นตอนการทำงานด้วยมือที่ไม่เหมาะสมตามหลักสรีรศาสตร์
  • ช่วยลดอันตรายจากการบาดเจ็บและการติดเชื้อ
  • สามารถดำเนินการของกระบวนการในการทำซ้ำที่มีคุณภาพสูง – โดยปราศการลงทุนที่เฉพาะเจาะจงสำหรับประเภทหรือการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบ
  • สามารถเพิ่มผลผลิต และทำงานสลับซับซ้อนได้ด้วยการรวมเข้าของระบบเซ็นเซอร์

นอกจากนี้หุ่นยนต์ที่มีความสามารถทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์จะถูกทำให้มีความยืดหยุ่นต่อสถานที่และมีความยืดหยุ่นต่อภารกิจด้วยความช่วยเหลือของแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างเฉพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่ และเพื่อวัตถุประสงค์ที่เหมาะกับความต้องการในการผลิต หุ่นยนต์เหล่านี้จะช่วยให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสมโดยเป็นผู้ช่วยและทดแทนการขาดแคลนแรงงานในการผลิตอีกด้วย

และเพื่อตอบสนองต่อการเดินทางสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อย่างแท้จริง วันนี้เราจะมาพูดถึงหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ที่ชื่อว่า LBR iiwa กัน เจ้าหุ่นยนต์ LBR iiwa นั้นน่าสนใจอย่างไร เรามาค่อย ๆ ทำความรู้จักเจ้าตัวนี้กันดีกว่า

รู้จัก LBR iiwa

LBR iiwa เป็นหุ่นยนต์น้ำหนักเบาที่มีความไวในการตรวจจับชุดแรกในซีรีส์ ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์

LBR ย่อมาจาก “Leichtbauroboter” (ภาษาเยอรมันแปลว่า หุ่นยนต์น้ำหนักเบา) และ iiwa ย่อมาจาก “ผู้ช่วยงานอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Intelligent Industrial Work Assistant)” และทำให้เกิดยุคใหม่ของระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีความไวในการตรวจจับได้ขึ้นมา โดยจะกลายเป็นรากฐานในกระบวนการผลิตรูปแบบใหม่สำหรับอนาคต

นี่นับว่าเป็นครั้งแรกที่มนุษย์และหุ่นยนต์จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดสำหรับงานที่ต้องการความไวในการตรวจจับสูง จึงเกิดรูปแบบการใช้งานใหม่ที่คิดค้นขึ้น พร้อมด้วยแนวทางที่คุ้มค่าต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพสูงสุด หุ่นยนต์ประสานงานและมีความไวในการตรวจจับ LBR iiwa มีวางจำหน่ายสองรุ่น โดยมีความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก 7 และ 14 กิโลกรัม และมีระยะการยืดของแขนเป็น 800 และ 820 มิลลิเมตร

ทำอะไรได้บ้าง

• ตอบสนองอย่างว่องไว

ด้วยเซ็นเซอร์แรงบิดข้อต่อทำให้ LBR iiwa รับรู้ว่าจะกระทบโดนวัตถุอื่นได้ทันที ทั้งยังสามารถลดแรงกระทำกับความเร็วได้ด้วยระบบควบคุมตำแหน่งพร้อมกำกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดช่วยให้หุ่นยนต์หยิบจับชิ้นส่วนที่เปราะง่ายได้โดยไม่ต้องตัดหรือหนีบชิ้นส่วน และด้วยการออกแบบที่บอบบาง ไม่มีขอบแหลมคม LBR iiwa จึงช่วยลดปัญหาเรื่องการบดและการตัดทั้งหมด แถมยังลดความเสี่ยงในการทำงานกับมนุษย์อีกด้วย

• แม่นยำเหมือนจับวาง

LBR iiwa มีน้ำหนักเบาเพราะทำจากอะลูมิเนียม อีกทั้งยังมีระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถรับรู้เส้นโครงร่างได้อย่างรวดเร็วและควบคุมได้โดยทันที โดยจะทำการบันทึกตำแหน่งในการติดตั้งที่ถูกต้องและชิ้นส่วนที่ติดตั้งอย่างแม่นยำในทันทีด้วยโดยมีความแม่นยำของแรงบิดเฉพาะแกนที่ ±2% ของแรงบิดสูงสุด LBR iiwa นั้นสามารถพบชิ้นส่วนเปราะบางขนาดเล็กได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วย

• ตั้งโปรแกรมได้

การตั้งโปรแกรมสำหรับใช้งาน LBR iiwa นั้นง่ายแสนง่าย เราสามารถเลือกโหมดปฏิบัติการได้สามโหมด และทำการตั้งโปรแกรมให้ LBR iiwa ผ่านทางระบบการจำลอง โดยระบุตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นหุ่นยนต์จะจดจำตัวประสานจุดของเส้นทาง เราสามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ด้วยการสัมผัสหากต้องการให้หยุดพัก ดังในคลิปนี้

• ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ

ชุดควบคุม KUKA Sunrise Cabinet ของ LBR iiwa จะช่วยให้ระบบเริ่มทำงานได้รวดเร็วแม้แต่ในขอบเขตงานที่ซับซ้อน โดยเปลี่ยนหุ่นยนต์ให้กลายเป็นมือที่สามของมนุษย์ และสามารถไว้ใจจนปล่อยให้จัดการทำงานซ้ำ ๆ ได้

นำไปใช้กับงานแบบไหนบ้าง

  • การทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลอื่น
  • การจัดเรียงขึ้นพาเลต
  • การหีบห่อและการจัดสรรสำหรับคำสั่งซื้อ
  • การยึดติด
  • การประกอบและการถอดแยก
  • การเคลือบ
  • การวัด การทดสอบ และการตรวจสอบ
  • งานยึดติด และงานซีล
  • การวาง การติด
  • การแก้ไขปรับปรุงด้วยเครื่องจักรกล
  • กระบวนการปฏิบัติงานอื่น ๆ

ค่าย KUKA ไม่ใช่ธรรมดา

LBR iiwa เป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาภายใต้การดูแลของบริษัท KUKA คำว่า KUKA นั้นย่อมาจาก "Keller und Knappich Augsburg" ซึ่ง Keller กับ Knappich นั้นเป็นผู้ก่อตั้งโรงงานแก๊สอะเซทิลีน (Acetylene) ผลิตแสงสว่างด้วยแก๊สขึ้นในเมืองเอาก์สบวร์ก ในปี 1898 และได้ขยายกิจการไปสู่อุตสาหกรรมการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สอะเซทิลีน (Gas Welding) จากนั้นบริษัทได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เกิดการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายโดยมองหาเส้นทางสู่อุตสาหกรรมภาคอื่น และในปี 1973 KUKA จารึกประวัติศาสตร์ในฐานะผู้บุกเบิกวิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) ด้วยการพัฒนาเจ้า FAMULUS หุ่นยนต์อุตสาหกรรม 6 แกนตัวแรกของโลก

40 ปีหลังจากมีการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมครั้งแรก KUKA กำลังเปิดบทใหม่ในประวัติศาสตร์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยหุ่นยนต์ LBR iiwa

ปัจจุบัน KUKA คือหนึ่งในผู้นำการให้บริการโซลูชั่นระบบออโตเมชั่นระดับโลก ในฐานะผู้นำทางเทคโนโลยี KUKA จึงได้กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีสากล นอกจากสำนักงานใหญ่ในไซต์การผลิตและพัฒนาในเมืองเอาก์สบวร์กแล้ว KUKA Group ยังมีบริษัทย่อย และตัวแทนสาขาอยู่อีกราว 100 แห่งในหลายประเทศครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

อ่านต่อ:

ไทยอันดับ 1 ในอาเซียน ที่มีอัตราการเติบโตของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสูงสุด

เรียนรู้จาก S.P. Metal ที่กำลังเดินทางสู่ Smart Factory

ครั้งแรกของโลก Progressive Bending Robot ที่งานอินเตอร์แมค 2018