ทางออกของอุตสาหกรรมในยุค COVID-19

ทางออกของอุตสาหกรรมในยุค COVID-19

อัปเดตล่าสุด 14 พ.ค. 2564
  • Share :
  • 12,623 Reads   

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทุกอุตสาหกรรม ทุกภาคส่วน ทุกด้านของชีวิต ไม่เว้นแม้แต่โรงงานใหญ่ ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ด้วยการสูญเสียทางเศรษฐกิจ การเงิน และทีสำคัญ คือ ความไม่แน่นอนในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงการแก้ปัญหา และทางออกที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมอยู่รอดในยุคโควิด  

COVID-19 และผลกระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรม 

ผลกระทบของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นกับโรงงานต่าง ๆ ทั้งการปิดโรงงานชั่วคราว ลดจำนวนพนักงาน ลดจำนวนการผลิต เพื่อรอวิกฤตผ่านพ้น หรือปิดโรงงานถาวรเมื่อไปต่อไม่ไหว

การแก้ปัญหาระยะสั้น (resolve) 

สำหรับโรงงานที่ยังอยู่ก็มีการปรับตัวเกิดขึ้นมากมาย ผู้ประกอบการต้องวางแผนป้องกันและแก้ปัญหา COVID-19  เริ่มจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วน เพื่อปรับใช้ตามประกาศหรือคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เช่น 

- การให้พนักงานบางส่วนทำงานจากบ้าน หรือ Work From Home (WFH)  
- แบ่งกะการทำงานในทีม 
- การจัดการคนเข้าออกสถานประกอบการ
- การทำความสะอาดฆ่าเชื้อในสำนักงานหรือสถานประกอบการ

หากโรงงานยังใช้คนเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ตามมาหลัง COVID-19 คือ ความปลอดภัยของพนักงานที่จะกลายเป็น New Normal ซึ่งทุกคนต้องทำความเข้าใจกันอย่างถ้วนทั่ว ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่พนักงานใช้ การล้างมือ สวมหน้ากาก การเว้นระยะห่าง

ทางออกของอุตสาหกรรมในยุค COVID-19

ไปจนโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ซึ่งการใช้เทคโนโลยีเข้ามาประกอบกับโรงงานในช่วงโควิด 19 นั้น มีมากมายหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น

- ใช้ระบบจดจำใบหน้าแทนการตอกบัตรเพื่อลดการสัมผัส
- เทคโนโลยีการตรวจจับอุณหภูมิ ทั้งกล้องและเครื่องตรวจ
- ผสานเทคโนโลยีการทำงานแบบ Work from home สำหรับฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ ที่สามารถควบคุมดูแลจากระยะไกลได้

ความยืดหยุ่นขององค์กร (resilience) ทำอย่างไรองค์กรจึงจะอยู่รอดนั้นก็สำคัญ เช่น 

- การจัดการด้านการเงิน จำเป็นต้องหมุนเงินให้พอจ่ายหนี้ธนาคาร แม้รายได้จะน้อยลง
- การปรับโครงสร้างธุรกิจให้ไปต่อได้ 
- การปรับลดพนักงาน และอื่น ๆ

ทั้งนี้ผู้ประกอบการเองย่อมต้องมีการอธิบายถึงความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ ความเข้มงวดเท่านั้นที่จะทำให้สถานประกอบการและสมาชิกทั้งหมดอยู่รอดปลอดภัยจากเชื้อไวรัสร้าย ไม่ให้มีผลกระทบต่องานในภายภาคหน้าอีก 

ทางรอด คือ ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่

เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนไปแล้ว เพื่อให้ทันกับยุคสมัย พฤติกรรม เทคโนโลยี และโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การเริ่มต้นใหม่ (restart)  คิดใหม่ ทำใหม่ (reimagine) และปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ (reform) เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่จะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมอยู่รอด

ทางออกของอุตสาหกรรมในยุค COVID-19

การหาสิ่งที่ดีกว่าเพื่อรองรับการผลิตทั้งสำหรับวันนี้และในอนาคต ซึ่ง Automation ก็ถูกคาดหวังว่าจะเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น

- ปรับเปลี่ยนเป็นระบบ Automation บางส่วนในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ช่วยให้สามารถคงศักยภาพการทำงานภายในโรงงานให้เหมือนเดิม และพัฒนาให้ดีขึ้น

เพื่อเป็นการรับมือของ COVID-19 โรงงานอุตสาหกรรมได้มีการปรับใช้ระบบ Automation ทั้งในประเทศไทยและระดับสากล บางโรงงานแม้จะไม่มีการปรับเปลี่ยนทันที แต่มีการวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตไว้แล้ว

AUTOMATION คำตอบภายใต้วิกฤตโรคภัย

การใช้ Automation หรือระบบอัตโนมัติภายในโรงงาน มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เกิดการ Digital Disruption ในช่วงแรก จนมาถึงสถานการณ์โรคระบาดในครั้งนี้  ยิ่งตอกย้ำว่า การใช้งานเครื่องจักรในการผลิตบางรูปแบบนั้นเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า

เดิมทีเรามักเห็นระบบ Automation ในการทำงานอยู่ 3 อุตสาหกรรมหลัก คือ

1. อุตสาหกรรมยานยนต์
2. อุตสาหกรรมพลาสติก
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

สังเกตได้ว่า 3 อุตสาหกรรมนี้จะเน้นความละเอียด และงานบางส่วนอาจมีอันตรายจากสารเคมี จึงใช้หุ่นยนต์และระบบ Automation 

แนวโน้มความต้องการใช้งานหุ่นยนต์และระบบ Automation อาจเปลี่ยนไป

โดยมีการคาดการณ์จากผู้ผลิตและนำเข้าหุ่นยนต์บางส่วนว่า แนวโน้มความต้องการใช้งานหุ่นยนต์และระบบ Automation จะเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจาก COVID-19 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและยา ที่ต้องเน้นความสะอาดและสุขอนามัย ซึ่งการใช้ระบบ Automation เข้าช่วยในส่วนนี้นอกจากทำให้การผลิตเกิดมาตรฐานมากขึ้น ยังลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อต่าง ๆ จากมนุษย์อีกด้วย

ทางออกของอุตสาหกรรมในยุค COVID-19

นอกจากนั้น ยังมีโรงงานอีกไม่น้อยที่พยายามเปลี่ยนวิกฤตนี้เป็นโอกาส ปรับตัวเองเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่ใช้ระบบการควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์และ Automation 

ซึ่งสิ่งที่จะเข้ามามีบทบาทต่อจากนี้เห็นจะเป็นเหล่า System Integrator หรือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการและบูรณาการระบบ Automation ให้เหมาะสมกับโรงงานนั้น ๆ นั่นเอง
 

สรุปบทความ

จากผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้เรามั่นใจได้ระดับหนึ่งว่า เทรนด์การใช้ Automation หลัง COVID-19 ที่ช่วยให้โรงงานมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น และลดความเสี่ยงได้มากขึ้น จะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน ไม่ใช่แค่ในไทยแต่เป็นทั้งโลก

แม้หลายโรงงานต้องการการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางวิกฤต แต่อย่าลืมว่าทุกการเปลี่ยนแปลงต้องมีผลกระทบตามมาเสมอ โดยเฉพาะการทำระบบ Automation ที่ถือเป็นงานใหญ่ ทั้งในแง่ของการจัดการและเงินทุน การทำ System Integration จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสำรวจเสียก่อนว่า โรงงานของเรามีอะไรอยู่แล้ว สามารถปรับใช้ระบบแบบไหนได้บ้างถึงจะดีที่สุด ภายใต้งบประมาณที่กำหนดเอาไว้ เพื่อให้การติดตั้งระบบ Automation ในโรงงานของคุณนั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ลื่นไหล ไม่ติดขัด อีกทั้งยังเกิดประสิทธิภาพได้มากที่สุด

บริการด้านการผลิตและการจัดการคลังสินค้าจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบ Automation การทำ System Integration ทั้งระบบ และการแสดงผลข้อมูล IoT  รวมถึงระบบควบคุมการผลิต ด้วยบุคลากรคุณภาพมีประสบการณ์ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด เพื่อช่วยให้ท่านวางแผนปรับเปลี่ยนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพได้ในอนาคต

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่