วิเคราะห์ส่งออกไทยครึ่งหลังปี 2566: “ภายใต้การเมืองที่ไม่แน่นอน”

วิเคราะห์ส่งออกไทยครึ่งหลังปี 2566: “ภายใต้การเมืองที่ไม่แน่นอน”

อัปเดตล่าสุด 20 ก.ค. 2566
  • Share :
  • 36,384 Reads   

ม.หอการค้าไทย เผยผลการศึกษา "การวิเคราะห์ส่งออกไทยครึ่งหลังปี 2566 ภายใต้การเมืองที่ไม่แน่นอน” ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัว รวมถึงประเด็นที่ต้องติดตามอย่าง ต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูงทั้ง ค่าไฟฟ้า พลังงาน และค่าจ้าง

Advertisement

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย ได้ทำการวิเคราะห์ทิศทาง “การส่งออกไทยทั้งปี 2566 และครึ่งหลังของปี 2566 ภายใต้ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยที่ต้องติดตามต่างๆ" โดยผลการวิเคราะห์แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ 

1. กรณีที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในเดือนสิงหาคม 2566 คาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยไปตลาดโลกในปี 2566 จะมีมูลค่าเท่ากับ 283,738 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 282,038 ถึง 289,422 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือหดตัว -1.2 % (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง -1.8% ถึง 0.8%) สำหรับครึ่งหลังของปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่าเท่ากับ 142,244 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 140,545 ถึง 147,928 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือขยายตัว 3.1% (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 1.9% ถึง 7.2%)

2. กรณีที่ไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในเดือนสิงหาคม 2566 คาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยไปตลาดโลกในปี 2566 จะมีมูลค่าเท่ากับ 279,891 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 278,169 ถึง 281,614 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือหดตัว -2.5% (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง -1.9% ถึง -3.1%) สำหรับครึ่งหลังของปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่าเท่ากับ 138,398 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 136,675 ถึง 140,120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือขยายตัว 0.3% (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง -0.9% ถึง 1.6%) สำหรับปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยที่ต้องติดตามที่สำคัญมีดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่

  • เศรษฐกิจโลก และคู่ค้าสำคัญชะลอตัว
  • เศรษฐกิจจีนอาจโตไม่ถึง 5%
  • การเมืองที่ยังไม่ชัดเจนจากการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า
  • อัตราการว่างงานของประเทศคู่ค้าที่สูงขึ้น
  • ค่าเงินที่ผันผวนจากอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯที่ทรงตัวในระดับสูง และมีโอกาสปรับขึ้น
  • เอลนีโญส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตร
  • ราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก

ประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่

  • ต้นทุนการผลิตที่สูง เช่น ค่าไฟฟ้า พลังงาน และค่าจ้าง
  • Inflation หรือ Disinflation
  • ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์
  • สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ
  • การลดการพึ่งพิงเงินสกุลดอลลาร์ (De-Dollarization)

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH