สรุปยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล 7 แบรนด์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่น ปีงบประมาณ 2020

สรุปยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล 7 แบรนด์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่น ปีงบประมาณ 2020

อัปเดตล่าสุด 27 เม.ย. 2564
  • Share :
  • 3,752 Reads   

♦ สรุปยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล 7 แบรนด์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่นประจำปีงบประมาณ 2020 ปิดที่ 2,524 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ลดลง 15.8% จากปีก่อนหน้า

♦ การสั่งซื้อเครื่องจักรกลฟื้นตัวอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยเฉพาะในประเทศจีน 

Advertisement

สำนักข่าวนิคคัง โคเกียว ชิมบุน จัดทำรายงานยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล (Machine Tools) 7 แบรนด์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่น ประจำปีงบประมาณ 2020 (เมษายน 2020 - มีนาคม 2021) มีมูลค่าการสั่งซื้อรวม 273,192 ล้านเยน หรือราว 2,524 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 15.8% จากปีก่อนหน้า ผลจากการระบาดของโควิดทำให้การลงทุนชะลอตัวลงในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม พบว่าในช่วงปลายปีที่แล้ว จนถึงไตรมาสที่ผ่านมา การสั่งซื้อเครื่องจักรกลมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศจีน

ในปีงบประมาณ 2020 ผู้ผลิตเครื่องจักรกลญี่ปุ่นทั้ง 7 ค่ายใหญ่มียอดสั่งซื้อลดลงทุกรายยกเว้น Tsugami เป็นเพียงบริษัทเดียวที่มียอดสั่งซื้อจากนอกประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น โดยยอดสั่งซื้อส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมยานยนต์จีน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในหลายภูมิภาค รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์และจักรยานยนต์ในอินเดีย

Okuma ตัวแทนจากฝ่ายการตลาดจากบริษัทเปิดเผยว่า บริษัทมียอดสั่งซื้อลดลงต่ำสุดในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม พบว่าในเดือนมีนาคม 2021 ซึ่งเป็เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ มียอดสั่งซื้อจากประเทศจีนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ในขณะที่ยอดสั่งซื้อจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 40% โดยมีอุตสาหกรรมที่โดดเด่นคือยานยนต์และอากาศยาน และยอดสั่งซื้อจากยุโรปเพิ่มขึ้น 80% จากกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และระบบไฮดรอลิก โดยคาดการณ์ว่าความต้องการจะฟื้นตัวมากกว่านี้ในช่วงประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2021

Tsugami รายงานตรงกันว่า อุตสาหกรรมในหลายประเทศมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดย Tsugami เป็นบริษัทเดียวที่มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2020 โดยทางบริษัท เปิดเผยว่าในเดือนมีนาคม 2021 บริษัทมียอดส่งออกเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 2.8 เท่า โดยเป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์จีน และการฟื้นตัวในยุโรปที่รวดเร็วขึ้น

Shibaura Machine เปิดเผยว่าในช่วงท้ายปีงบประมาณ ความต้องการเครื่องจักรสำหรับผลิต Precision Part เพิมขึ้นเป็นอย่างมาก และมีประเด็นที่น่าสนใจคือ ความต้องการเครื่องคว้านแนวนอน (Horizontal Boring Machine) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าเป็นผลจากมาตรการด้านพลังงานสะอาด ทำให้มีความต้องการกังหันลมเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ