ผู้ผลิตสายไฟมีเฮ ความต้องการสายไฟ และสายไฟอะลูมิเนียมพุ่ง

อัปเดตล่าสุด 22 ม.ค. 2562
  • Share :
  • 1,423 Reads   

ผู้ผลิตสายไฟ ร่วมรับผลประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ สืบเนื่องจากความต้องการชุดสายไฟ จำนวนผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้ารายใหม่ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้น และความแพร่หลายในการพัฒนายานยนต์ตามเทคโนโลยี และแนวคิดใหม่ ๆ เช่น CASE

เมื่อวันที่ 21 มกราคม Furukawa Electric ประกาศเปิดโรงงานอะลูมิเนียมแห่งใหม่ในเวียดนาม เพื่อเสริมกำลังผลิตอะลูมิเนียม ให้สามารถรองรับความต้องการสายไฟที่มากขึ้น ด้วยเงินลงทุน 3.5 พันล้านเยน และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในเดือนกันยายน ปี 2020 และมีแผนยกระดับการผลิตโดยรวมของบริษัทให้สูงกว่าเดิม 40% ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และคาดการณ์ว่า จะสามารถทำยอดขายได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า

Mr. Shigenobu Abe เจ้าหน้าที่บริหารบริษัท กล่าวแสดงความเห็นว่า “ในปี 2021 ความต้องการยานยนต์ญี่ปุ่นขนาดใหญ่จะเกิดขึ้น”

ปัจจุบัน ในยานยนต์ 1 คัน จะมีชุดสายไฟรวมแล้วเป็นน้ำหนัก 20 - 50 กิโลกรัม และใช้ทองแดงเป็นวัสดุหลัก ซึ่งหากเปลี่ยนไปใช้อะลูมิเนียมก็จะสามารถลดน้ำหนักในส่วนนี้ลงได้ 10 - 40% ทำให้ความต้องการสายไฟอะลูมิเนียมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อะลูมิเนียมจะเพิ่มขึ้น

Sumitomo Electric เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เล็งเข้าร่วมตลาดสายไฟอะลูมิเนียม เนื่องจากคาดการณ์ว่า ในปี 2025 ยานยนต์รุ่นใหม่ที่จะออกสู่ตลาดจะใช้สายไฟอะลูมิเนียมมากถึง 60% ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่มากกว่า 10% ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก และอยู่ระหว่างการเสริมกำลังผลิตอะลูมิเนียมให้สูงขึ้น เช่น การเริ่มผลิตอะลูมิเนียมในไทยนับตั้งแต่ปี 2017

อีกรายหนึ่งคือ Fujikura ซึ่งได้ตั้งเป้าให้ธุรกิจสายไฟ ที่ปัจจุบันมีกำไรน้อย กลายเป็นธุรกิจหลักของบริษัทในอนาคต เนื่องจากเล็งเห็นว่า สามารถนำมาใช้ทำตลาดร่วมกับธุรกิจสารสนเทศน์ และพลังงาน ในการเข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้ ซึ่งปัจจุบัน ทางบริษัทอยู่ระหว่างการเสริมกำลังผลิตสายไฟ และมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นให้รองรับกับรถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น

Mr. Fumiaki Nakajima ประธานบริษัท SWCC SHOWA HOLDINGS คาดการณ์ว่า “ในปี 2026 รถยนต์ไฟฟ้าจะเริ่มผลิตดอกออกผล” จึงลงทุนกว่า 5 พันล้านเยน เพื่อยกระดับธุรกิจให้สามารถตอบสนองแนวโน้มนี้ได้ และพิจารณาเข้าซื้อกิจการธุรกิจที่มีนวัตกรรม เพื่อเพิ่มความหลายหลายของผลิตภัณฑ์ที่มีให้มากยิ่งขึ้น