สถาบันยานยนต์ เจาะประเด็น “อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ไปได้ไกลแค่ไหน?”

อัปเดตล่าสุด 19 พ.ย. 2561
  • Share :
  • 548 Reads   

ปัจจุบันหลายภาคส่วนให้ความสนใจกับการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์มากยิ่งขึ้น จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกต้องการลดอัตราการใช้พลังงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สถาบันยานยนต์ (Thailand Automotive Institute) จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์ในประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยเก็บข้อมูลจากเดือนสิงหาคม-กันยายน 2561 จากผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชน  สถาบันศึกษา สื่อมวลชน  ที่จะชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยนั้นไปได้ไกลแค่ไหน ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี (Technology Viewpoint), ด้านความสามารถในการแข่งขันของสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน (Thai Automotive Industry Competitiveness) และข้อเสนอแนะต่อนโยบายภาครัฐในปัจจุบัน (xEv Policy Recommendations)


Technology Viewpoint

ในด้านเทคโนโลยีของ มุมมองของผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยนั้นมองเห็นตรงกันว่า ปัจจุบันประเทศเรามีแรงกดดันในเรื่องของการลด Co2 ที่เกิดจากการใช้ยานยนต์ให้มากที่สุด และวิธีการที่จะสามารถจะช่วยจัดการปัญหานี้ได้ คือการใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนแทนการใช้เครื่องยนต์สันดาป ซึ่งอาจจะเป็นไปได้หลายแนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ 1


การพัฒนาทางในแนวทางแรก เราอาจจะเริ่มต้นจากการพัฒนารถยนต์พลังงานแบบเก่า (ICE Fossil energy) ไปสู่การใช้รถยนต์ไฮบริดก่อน แล้วจึงพัฒนาไปสู่การใช้รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด  แต่จะสามารถไปได้ไกลกว่านี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาในเรื่องแบตเตอรี่เป็นสำคัญ ว่าสามารถทำให้แบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์นั้นมีต้นทุนที่เหมาะสม และมีสมรรถนะเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ ซึ่งถ้าทำได้ก็จะนำไปสู่การใช้รถยนต์ประเภท Battery Electric vehicle (BEV) หรือจะต่อยอดไปสู่การใช้ Fuel cell  Electric vehicle (FCEV) ในที่สุด


แนวทางที่ 2 

ในแนวทางที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญบางท่านมองเห็นว่าเราไม่จำเป็นจะต้องเริ่มต้นการพัมนาด้วยการใช้รถยนต์ไฮบริดหรือปลั๊กอินไฮบริดเลย เราสามารถกระโดดข้ามจากรถยนต์พลังงานแบบเก่า (ICE Fossil energy)ไปสู่ Battery Electric vehicle (BEV) และต่อยอดไปสู่การใช้ Fuel cell  Electric vehicle (FCEV) ได้เลย แต่การพัฒนาในลักษณะนี้  มีข้อจำกัดในเรื่องการพัฒนาไฮโดรเจนและการกักเก็บสถานีจ่ายของ FCEV ให้มีความสอดคล้องกัน

 

แนวทางที่ 3 

และอีกแนวทางหนึ่งที่เห็นต่างออกไปจากแนวทางอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น คือการเปลี่ยนจากรถยนต์พลังงานแบบเก่า (ICE Fossil energy) ไปสู่พลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถลดอัตราการใช้ Co2 ได้เช่นเดียวกัน 

จากแนวทางการพัฒนาทั้ง 3 แนวทางที่กล่าวมา จะเป็นความคิดเห็นในส่วนของการพัฒนาระบบเครื่องยนต์ แต่ในส่วนของชิ้นส่วนนั้น ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าเราจะต้องมีการพัฒนาด้าน Light weight material ให้ควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ประเภทใดก็ตาม นอกจากนี้จะต้องมีปัจจัยเสริมในเรื่องของระบบ Connected ภายในรถยนต์ที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ซึ่งในประเทศไทย ระบบ Connected จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการพัฒนาด้านโทรคมนาคมอย่างระบบ 5G  ร่วมด้วยการพัฒนาด้าน  Sensing technology, Big data  และ Data security หากเราพร้อมในปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ก็จะทำให้การพัฒนาทั้ง 3 แนวทางนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้อย่างแน่นอน


Thai Automotive Industry Competitiveness

ด้านความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ถึงจุดอ่อน จุดแข็งของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย  โดยจะแบ่งเป็นมุมมองที่มีต่อผู้ประกอบการไทย, อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และภาพรวมในประเทศไทย ดังนี้

มุมมอง จุดแข็ง จุดอ่อน
ผู้ประกอบการไทย + สามารถผลิตสินค้าได้มีคุณภาพและมี Facility ไม่จำเป็นต้องทำตามพิมพ์เขียวอย่างเดียว แค่ให้โจทย์มาก็สามารถทำได้

- ขาดทักษะออกแบบ วิจัยและ พัฒนา

+ สามารถผลิตในระดับ Development

- ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของ Productivity ไม่มากนัก

- ฺBargaining power ของผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศต่ำมาก และเริ่มมี Tier 0.5 ต่างชาติมากขึ้นเรื่อยๆ 
อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย + มี FDI หลายเจ้าที่เข้ามาลงทุนในประเทศแล้ว - ต้นทุนการผลิตสูงมาก โดยเฉพาะค่าแรง และไม่มีวัตถุดิบหลักในประเทศ
+ มี Supply chain ที่เข้มแข็งทั้งด้านยาวและด้านลึกที่สามารถต่อยอดได้
ภาพรวมในประเทศไทย + มีนโยบายสนับสนุนการผลิต xEV และการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

- ระบบการทำงานของสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา ทำให้ยังไม่สามารถทำวิจัยและพัฒนาร่วมกับเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ขาดการพัฒนาบุคลากรประเภท Technology development
- ระบบ Logistics ในประเทศ ไม่มีประสิทธิภาพ

 

ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญต่างให้ความเห็นเกี่ยวกับโอกาสและวิธีการที่จะต่อยอดการพัฒนาจากสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งถ้ามองในภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันนั้น เราเป็นผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ที่ส่งออกไปทั่วโลก เพราะฉะนั้นควรต่อยอดในเรื่องของการผลิตอะไหล่ตกแต่งสำหรับยานยนต์ ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่น่าสนใจ และสร้างให้เกิดอะไหล่ที่เรียกว่า  “Made in Thailand” ที่ทั่วโลกให้การยอมรับได้ 

ในส่วนของการต่อยอดไปถึงยานยนต์สมัยใหม่ ผู้เชี่ยวชาญก็มองว่าประเทศไทยมีโอกาสเปลี่ยนไปผลิต xEV ได้ โดยมีต้นทุนการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการลงทุน Core technology ไว้มากนัก แต่ในขณะเดียวกันแนวโน้มดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จริง แต่ไม่ใช่ว่าจะสามารถไปได้ง่ายๆ เนื่องจากคนที่จะไปได้ก็ต้องมีความพร้อมในเรื่องของเทคโนโลยี บุคลากร และเงินทุน เฉกเช่น Tesla ถึงจะทำสำเร็จ หรืออีกโอกาสหนึ่งที่จะเป็นไปได้คือการทำอุตสาหกรรม EV Nich ที่ผู้ประกอบการไทยมีกำลังมากพอที่จะไปได้ แต่ต้องระวังคู่แข่งในต่างประเทศที่มีศักยภาพมากกว่าอย่างเช่น ประเทศจีนที่กำลังเป็นผู้เล่นรายใหม่และจะมีบทบาทสำคัญมากในอุตสาหกรรมนี้


xEv Policy Recommendations
ในส่วนของนโยบายรัฐของประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญได้มีความเห็นว่า เรามีนโยบายด้าน Demand ที่จะทำให้เกิดการถือครองรถ EV น้อยกว่าด้าน Supply ที่เน้นการส่งออกมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศที่เน้นนโยบายด้าน Demand มากกว่า Supply  อีกทั้งนโยบายทางด้าน Demand ของภาครัฐที่จะให้หน่วยงานรัฐบาลสั่งซื้อรถ EV เพื่อสร้างภาพลักษณ์ในการส่งเสริมการใช้รถ EV ยังทำไม่ได้จริง จึงส่งผลต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ ดังรายละเอียดในตาราง

ข้อเสนอแนะต่อนโยบายด้าน Demand ข้อเสนอแนะต่อนโยบายด้าน Supply
  • ยังไม่มีนโยบายด้าน Demand ที่ชัดเจน ซึ่งภาครัฐควรจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้รถ EV เป็นจริงให้ได้ จึงจะเกิดการลดปริมาณการใช้รถพลังงานแบบเก่า
  • การจัดซื้อรถ EV ของภาครัฐทำไม่ได้จริง

Mass 

  • ควรแยกอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ (ICE+HEV+PHEV) และรถยนต์ที่ไม่มีเครื่องยนต์ (BEV) คิดตามการปล่อย Co2 ซึ่งจะทำให้ราคาสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง
  • การส่งเสริมการลงทุน BOI ต้องพึ่งเงื่อนไขด้านการใช้ Local content และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นรูปธรรม มีประสิทธิผล
  • ต้องเสริมให้มีการ Localize ชิ้นส่วนสำคัญ เช่น EV Parts , E&E Parts และ Software based parts 

Niche

  • ( รถบัส รถสามล้อ รถสิบล้อ)
  • ด้านการผลิตสามารถทำได้ เพราะผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมด้านองค์ความรู้
  • ด้านการใช้งาน ผู้ประกอบการเดินรถยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน เช่น การจอดเติมแบตเตอรี่ที่ใช้เวลานานทำให้การใช้รถแบบเดิมเหมาะสมกว่า

 

สรุปข้อเสนอแนะที่มีต่อภาครัฐต่อการดำเนินนโยบายให้ประสบผลสำเร็จ ได้แก่

  • ต้องมีนโยบายสนับสนุนด้าน Technology Matching
  • สนับสนุนการทำชิ้นส่วน อะไหล่ตกแต่ง Made in Thailand
  • กำหนดนโยบายที่เอื้อต่อการทำวิจัย
  • ดำเนินนโยบายให้ทุกภาคส่วนสอดคล้อง ไปในทิศทางเดียวกัน

จากการสำรวจ ทำให้พบว่าการร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายในการทำวิจัยและพัฒนา เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตที่มีบทบาทในระดับโลก เพราะฉะนั้นภาครัฐ ภาคเอกชน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือการเพื่อสร้างให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสามารถเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมนี้