10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งปี 2020 โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ (ตอนที่ 1)

อัปเดตล่าสุด 25 ธ.ค. 2562
  • Share :
  • 1,300 Reads   

หอการค้าไทย เผยแนวโน้ม 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งปี 2020 จากการวิจัยทางธุรกิจ โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เกิดการดิสรัปท์ในหลายมิติ ส่งผลต่อหลายธุรกิจที่สอดรับกับโลกยุคดิจิทัล หอการค้าไทยได้ออกมาเผยถึงเทรนด์ธุรกิจ หรือธุรกิจดาวรุ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2020 นี้

 

ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 1 “ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์)”

ปัจจัยสนับสนุน 

1) ความหลากหลายและรูปแบบการให้บริการ รวมทั้งความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น
2) การใช้ชีวิตที่เร่งรีบในชีวิตประจำวัน ความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้คน
3) พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลง และหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งความเคยชินกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
4) กระแสการพัฒนาแพลตฟอร์มทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด
5) ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6) การผลักดันนโยบาย มาตรการ ธุรกิจแพลตฟอร์มของภาครัฐ

ปัจจัยเสี่ยง

1) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งในประเทศและคู่แข่งต่างประเทศ
2) ข้อจำกัดทางด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในการพัฒนา Platform ยังไม่เพียงพอ
3) ความไม่ชัดเจนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4) ความปลอดภัยและการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล
5) การเปลี่ยนแปลงของระดับเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว

 

ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 2  มีธุรกิจที่น่าจับตามอง 2 ธุรกิจด้วยกัน คือ 

“ธุรกิจ E-Commerce”

ปัจจัยสนับสนุน 

1) พฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันที่มีความสะดวกและการเข้าถึงง่าย และราคาไม่แพง ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก ฐานผู้ซื้อขยายกว้างขึ้น
2) การที่มีผู้ประกอบการในการให้บริการ Platform รายใหญ่เข้ามาขยายในไทย อาทิ อาลีบาบา ลาซาด้า ช้อปปี้ เป็นต้น
3) ระบบการขนส่งที่ทันสมัยและรวดเร็ว รวมไปถึงพัฒนาไปตามความต้องการของลูกค้า มีระบบการติดตาม (Tracking) ตรวจสอบสถานะที่แม่นยำ
4) มีช่องทางการจำหน่ายจำนวนมาก และต้นทุนต่ำไม่ต้องมีหน้าร้าน และสามารถซื้อขายสินค้าได้ 24 ชม.
5) ประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ประกอบกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีราคาถูกลง
6) นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น นโยบายพร้อมเพย์ (PromptPay) และโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs Go Online เป็นต้น
7) ระบบการชำระเงินที่หลากหลาย สะดวกและรวดเร็ว เช่น เก็บเงินปลายทาง ชำระเงินผ่านระบบออนไลน์
8) การมีแอปพลิเคชั่นในการเลือกซื้อสินค้าและบริการโดยมีส่วนลด เงื่อนไข หรือราคาพิเศษให้กับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
9) การเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ๆ ของสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปิดการขายได้ภายในแอปพลิเคชันเดียว เช่น Facebook Pay, Instragram Shopping, Line Shopping เป็นต้น
10) การรีวิวสินค้าของ Net Idol หรือ Youtuber หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงและลูกค้าที่เคยใช้สินค้า

ปัจจัยเสี่ยง

1) นโยบายเก็บภาษีธุรกิจค้าขายออนไลน์
2) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งเดิมและคู่แข่งรายใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่หันมาทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น
3) ความน่าเชื่อถือของร้านค้า หรือผู้ค้าออนไลน์
4) ปัญหาการหลอกขายสินค้า สินค้าไม่ได้คุณภาพ
5) ข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบอินเทอร์ของผู้บริโภคบางส่วน
6) กฎหมายด้านภาษีนำเข้าและส่งออกของแต่ละประเทศ
7) การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศ มีข้อจำกัดเรื่องค่าขนส่งที่สูง และระยะเวลาการจัดส่ง


“ธุรกิจการให้บริการด้านเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุปกรณ์ รวมทั้งผู้ให้บริการโครงข่าย”

ปัจจัยสนับสนุน 

1) คู่แข่งในตลาดมีจำนวนจำกัด โดยเฉพาะทางด้านของผู้ให้บริการโครงข่าย
2) การพัฒนาอุปกรณ์การสื่อสารหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น
3) การผลักดันให้เกิด 5G ในประเทศไทย
4) พฤติกรรมของคนยุคปัจจุบัน เน้นการใช้เทคโนโลยี
5) การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องในทุกปี ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในทุกปี
6) นโยบายภาครัฐที่ให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์หรือ Application มากขึ้น
7) สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ส่งผลให้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกในการชีวิตประจำวัน
8) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบโทรคมนาคมของไทยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
9) ราคาอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ มีระดับราคาต่ำลง และมีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลาย
10) นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐในการส่งเสริมการศึกษาโดยผ่านระบบออนไลน์ หรือ Application

ปัจจัยเสี่ยง

1) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็ว
2) โครงข่ายที่ไม่ครอบคลุมในพื้นที่ที่ห่างไกล
3) ธุรกิจมีการแข่งขันสูงในเรื่องของระดับราคาและคุณภาพ
4) ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จำหน่ายมีการแข่งขันสูง
5) ความปลอดภัยในด้านของข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัยในการขโมยข้อมูล
6) ต้นทุนการพัฒนาโครงข่าย และค่าสัมปทานการประมูลคลื่น

ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 3 “ธุรกิจเกมส์ธุรกิจพัฒนา Application”

ปัจจัยสนับสนุน

1) การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภคมีมากขึ้น
2) พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการเล่นเกมส์เพื่อผ่อนคลาย และสร้างรายได้เสริมจากการขายของที่อยู่ในเกมส์มีมากขึ้น
3) พฤติกรรมของผู้บริโภคต้องการใช้ Application เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันหรือทำธุรกิจมีมากขึ้น
4) การมีเวทีในการแข่งขัน (E-Sports) เพื่อชิงรางวัลมากขึ้น รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นกีฬาอาชีพได้
5) ธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่หันมาลงทุนในตลาดเกมส์มากขึ้น ซึ่งมีการส่งเสริมให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและต่างประเทศ
6) กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของธุรกิจผ่าน Application มีเพิ่มขึ้น
7) สถาบันการศึกษาทั่วโลกมีการเปิดการสอนวิชาที่เกี่ยวกับการออกแบบเกมส์ และการพัฒนา
Application เพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

1) บุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนา Application และเกมส์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
2) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็ว
3) คู่แข่งทางด้านธุรกิจเกมส์ และการจัดทำ Applicationมีจำนวนมาก
4) อุตสาหกรรมเกมส์ของไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้นในการพัฒนา จากผู้ใช้งานเป็นผู้ผลิต โดยยังคงต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน
5) โครงข่ายและความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด

 

ธุรกิจเด่นอันดับ 4 “ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์”

ปัจจัยสนับสนุน

1) บริการส่งสินค้าจากการซื้อผ่านออนไลน์หรือการที่ผู้ค้าส่งรายใหญ่มีบริการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าถึงบ้าน ทำให้ความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
2) การมีธุรกิจแพลตฟอร์มมากขึ้น ทั้งแพลตฟอร์มรับส่งเอกสาร เดินทาง สั่งอาหาร ส่งสินค้า เป็นต้น
3) การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเศรษฐกิจในภูมิภาค ทำให้มีการขนส่งที่กระจายพื้นที่มากขึ้น
4) การพัฒนาเมือง การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในพื้นที่ต่าง ๆ น่าจะทำให้ความต้องการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น
5) การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการขนส่งสินค้า และบริการมีมากขึ้น อาทิ Kerry Grab LineMan
6) การขยายตัวของอีคอมเมิรซ์ทำให้ความต้องการบริการ E-Logistics เพิ่มขึ้นอีกด้วย
7) รูปแบบ Ride-Hailing Delivery ที่พร้อมทั้งส่งตรงสินค้าถึงมือผู้บริโภคภายในวันเดียว (Same Day Delivery) ทำให้ความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้ามากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

1) ราคาพลังงานมีแนวโน้มทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้น
2) มาตรฐานของกฎระเบียบในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
3) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากการเข้ามาของบริษัทต่างชาติ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือบริษัทต่างชาติโดยเฉพาะการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ
4) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมของภาครัฐที่ยังไม่แล้วเสร็จ
5) ความล่าช้าและการแออัดบริเวณชายแดน ทำให้มีการขนส่งล่าช้า และมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
6) ข้อจำกัดด้านเงินทุน ทำให้มีความเสี่ยงของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก


ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 5 มีธุกรกิจที่น่าจับตามอง 2 ธุรกิจด้วยกัน คือ 

“ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต”


 

ปัจจัยสนับสนุน

1) การยกเลิก LTF ทำให้เกิดโอกาสในการออมเพื่อลดหย่อนภาษีผ่านการประกัน
2) ความต้องการซื้อประกันภัยสำหรับธุรกิจมากขึ้น เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงต่อบริษัท และครัวเรือน
3) ความต้องการซื้อประกันภัยและประกันชีวิตสำหรับครอบครัวและตนเองมีมากขึ้น เนื่องจากความรู้และความเข้าใจมีมากขึ้น และลดภาระค่าใช้จ่ายหากมีภัยเกิดขึ้น
4) มาตรการลดหย่อนภาษีของภาครัฐที่ยังมีต่อเนื่อง
5) เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสนับสนุนการดำเนินงาน การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลายครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
6) ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีโอกาสปรับตัวดีขึ้น
7) ประชาชนหันมาให้ความสำคัญการออมในระยะยาวมากขึ้น
8) การลงทุนของบริษัทประกันชีวิตในธุรกิจอื่น ๆ ส่งผลต่อผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น
9) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการวางแผนทางการเงินของคนยุคปัจจุบัน
10) รัฐบาลมีการส่งเสริมให้มีการทำการประกันภัยมากและประกันชีวิตมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

1) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งระหว่างบริษัทประกันชีวิตด้วยกันเอง บริษัทประกันสุขภาพรวมถึงธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน
2) การแข่งขันทางธุรกิจในเรื่องของผลิตภัณฑ์และราคาเพื่อจูงใจลูกค้า
3) หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการกำกับดูแลบริษัทในกลุ่มประกันที่เข้มงวด
4) การเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
5) อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
6) ภัยธรรมชาติ
7) ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจ (การให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนหรือเกินจริงของตัวแทน/การบังคับทำระกันของธนาคาร/ระบบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า)


“ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม”


 

ปัจจัยสนับสนุน

1) กระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามยังมีอย่างต่อเนื่องมีการลงทุนพัฒนาและน าเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
2) การบริการทางการแพทย์และความงามของประเทศไทยมีคุณภาพดีและราคาไม่แพงในสายตาของชาวไทยและชาวต่างประเทศ
3) ประเทศเพื่อนบ้านให้ความเชื่อมั่นกับประเทศไทยในเรื่องการดูแลรักษา และความงาม โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV
4) การขยายธุรกิจสถานพยาบาล เป็นธุรกิจ wellness มากขึ้น
5) พฤติกรรมในการดูแลเรื่องผิวพรรณที่มีมากขึ้น รวมไปถึงจำนวนผู้สูงอายุในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
6) มาตรการลดหย่อนภาษีด้านสุขภาพ
7) สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เกิดเพิ่มขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

1) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งเดิมและคู่แข่งรายใหม่ธุรกิจขนาดเล็กยังขาดการพัฒนานวัตกรรมการก่อสร้าง
2) การแข่งขันทางด้านราคาเพิ่มมากขึ้น เช่น การแข่งขันการทำโปรโมชั่นด้านราคา
3) การเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยี
4) การปลอมแปลงเวชภัณฑ์ และการหลอกลวงในการให้บริการจนเป็นเหตุให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ
5) จำนวนผู้เชี่ยวชาญและความเพียงพอของบุคลากรในการรักษา โดยเฉพาะสาขาพยาบาล และแพทย์เฉพาะทางมีจำนวนจำกัด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : หอการค้าไทย (The Thai Chamber of Commerce)