แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2563

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2563

อัปเดตล่าสุด 4 ก.ย. 2563
  • Share :
  • 1,182 Reads   

กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2563

เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม เชน สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ราคาสินคาเหล็กต่างประเทศ การดำเนินการโครงการ ก่อสร้างภาครัฐ และการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ 

อุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่า จะผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 แล้ว โดยคาดว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 มีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะปรับตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0 และ 1.5 ตามลำดับ จากการที่หลาย ประเทศเริ่มมีมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์และสามารถขนส่งสินค้าได้มากขึ้นทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ  

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลคาการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.9 และ 1.9 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับผลบวกจากวัฏจักรของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกสที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ซึ่งทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น  รถยนต์ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 200,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิต 

รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 200,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิต เพื่อจำหนายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50 

รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 300,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหนายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20  

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ จะชะลอตัวจาก ไตรมาสที่ 2 แต่หากประเทศผู้นำเข้าหลักอยางประเทศจีน มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง คาดว่า กลุ่มเยื่อกระดาษ จะยังสามารถขยายตัวได้ ทั้งนี้จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ธุรกิจ เดลิเวอรี่อาหารในรูปแบบ Ready to eat หรืออาหารพรอมรับประทาน จะเป็นโอกาสของบรรจุภัณฑ์กระดาษซึ่งจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น รวมถึงการค้าในระบบออนไลน์ จะส่งผลให้ห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมนี้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้น  

เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุนเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพยของรัฐบาล และการผ่อนคลายล็อกดาวน์หรือมาตรการผ่อนปรน และประกอบกับการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกหลังจากประเทศ คู่ค้าที่คลายความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะกลับมาขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุน และจีน โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศญี่ปุน และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยังกลุ่ม ประเทศ CLMV สำหรับการนำเข้าคาดวาจะมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกจากจีน และญี่ปุน  

ปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตคาดวายังลดลงอยางตอเนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสต็อกคงค้างของอสังหาริมทรัพยยังมีมาก ส่วนการจำหนายคาดวายังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กนอย 

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีกอน คาดว่าจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงชะลอตัว อยางไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่า ภาพรวมการผลิต ส่งออก และนำเข้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวได้จากการที่คู่ค้า ต่างประเทศหลายแห่งสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ และเริ่มมีคำสั่งซื้อมายังประเทศไทย  

ไม้และเครื่องเรือน การผลิตและการจำหนายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทิศทางการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ยังไม่มีแนวโน้มจะสิ้นสุด ส่งผลต่อสถานการณเศรษฐกิจทั่วโลกที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อไป 

ยา คาดวาจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีกอนร้อยละ 5.25 ตามแน้วโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งใน และต่างประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม กัมพูชา ญี่ปุน เมียนมา และสิงคโปร์ 

ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 43.17 ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 21.89 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 10.00 ตามความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมาก  

รองเท้าและเครื่องหนัง คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการผลิต เพื่อการส่งออกลดลง และการหดตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และเฟอรนิเจอร์ เช่นเดียวกับ การผลิตกระเป๋าเดินทางและรองเท้าที่มีแนวโนมลดลง จากความกังวลในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบที่ 2 ในหลายประเทศส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัว  

อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2563 คาดว่า จะมีทิศทางลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึง ร้อยละ 80 สำหรับแนวโน้มการส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะมีแนวโน้มลดลง จากการที่ผู้บริโภคชะลอการบริโภคสินคาไม่จำเป็น ขณะที่การส่งออกในภาพรวม 5 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัว จากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพื่อเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคา เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกขยับตัวอยูในระดับที่สูงขึ้น 

อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะหดตัวมากเมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น ออย ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมันสำปะหลัง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน กอปรกับการบริโภคในประเทศยังชะลอตัวจาก การบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวตางชาติ อยางไรก็ตาม ไทยน่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจสงผล ดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทูน่าและซาร์ดีนกระปอง) นม สิ่งปรุงรส และอาหารสัตวเลี้ยง ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ที่ยังรักษาระดับความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งในประเทศที่ยังคงมีการระบาดรุนแรงและประเทศที่สถานการณ์การระบาดส่งสัญญาณดีขึ้น สงผลใหมูลค่าการสงออกอาจจะขยายตัวเล็กนอย แต่ Food service ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศที่สถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย และในหลายประเทศที่ป้องกันการระบาดรอบ 2 


อ่านเพิ่มเติม: