เคล็ดไม่ลับ เจาะตลาด SME หันมาใช้หุ่นยนต์ในสายการผลิต

เจาะตลาด SME หันมาใช้หุ่นยนต์ในสายการผลิต

อัปเดตล่าสุด 7 ต.ค. 2563
  • Share :
  • 887 Reads   

การตัดสินใจซื้อหุ่นยนต์ระหว่างธุรกิจขนาด SME มีความแตกต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการหุ่นยนต์เพื่อทดแทนแรงงานและลดต้นทุนการผลิต แต่เหตุผลนี้ไม่จูงใจและไม่อาจใช้เจาะตลาด SME ได้

สมาคม SIer แห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Factory Automation & Robot System Integrator Association) ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีประจำจังหวัดแห่งประเทศญี่ปุ่น ทำการสำรวจข้อมูลเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานตัดสินใจใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในสายการผลิต โดยวิธีการสอบถามข้อมูลไปยังธุรกิจในหลากหลายขนาดซึ่งมีการติดตั้งหุ่นยนต์มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักในการตัดสินใจใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจขนาด SME มีความต้องการหุ่นยนต์ที่แตกต่างกัน โดยธุรกิจขนาดใหญ่เลือกใช้หุ่นยนต์เพื่อทดแทนแรงงาน และลดต้นทุนการผลิต ในขณะที่ธุรกิจ SME มักเลือกหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้า โดยเฉพาะผู้ผลิตที่เน้นผลิตสินค้าเพียงชนิดเดียวเป็นจำนวนมาก

บริษัท Takamaru Engineers อยู่ในธุรกิจ SIer มีผลงานโดดเด่นในการอบรมบุคลากรด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติเข้าสู่ตลาดกว่า 1,000 รายต่อปีเล่าว่า จากการเข้าร่วมจัดสัมมนาให้กลุ่ม SME ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม 2020 นั้น ทำให้บริษัทฯ มียอดสั่งซื้อหุ่นยนต์จากผู้เข้าร่วมงานสัมมนารวมแล้ว 32 เครื่อง ซึ่ง Mr. Tadashi Takamaru ประธานบริษัทฯ แนะนำว่า การขายหุ่นยนต์ให้ SME ต้องเริ่มที่การเข้าหาและสอบถามความต้องการเสียก่อน ซึ่งความต้องการเหล่านี้จะต่างไปจากธุรกิจรายใหญ่เป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่ผู้ขายจะได้รับอย่างแน่นอนคือข้อมูลสำหรับนำไปปรับใช้ต่อในอนาคต และแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า 

“สำหรับกลุ่ม SME การเปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างค่าจ้างพนักงาน และราคาหุ่นยนต์ เป็นเรื่องที่ไม่ช่วยให้การขายหุ่นยนต์คืบหน้าแต่อย่างใด”

ส่วนอีกเหตุผลหนึ่ง เกิดจากความแพร่หลายของหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ และเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเมื่อผู้ผลิตรายใหญ่ต่างมีการติดตั้งหุ่นยนต์มากขึ้นแล้ว ก็ย่อมต้องการให้ซัพพลายเออร์ของตนติดตั้งหุ่นยนต์เช่นกัน เพื่อให้การควบคุมคุณภาพได้มาตรฐานเดียวกัน

สมาคม SIer แห่งประเทศญี่ปุ่นเชื่อว่า หาก SME มีความรู้ความเข้าใจในหุ่นยนต์มากขึ้น ก็จะกระตุ้นให้เกิดความต้องการหุ่นยนต์มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีในจังหวัดที่มีการจัดสัมมนาแล้วเสร็จนั้น มีรายงานว่า มีความต้องการสั่งซื้อหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นจากกลุ่มธุรกิจรายย่อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับตั้งแต่เดือนเมษายน ได้มีการจัดสัมมนารวมแล้วใน 5 จังหวัด รวมถึงการสัมมนาออนไลน์

นอกจากนี้ ในเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นการจัดสัมมนาครั้งล่าสุดที่จังหวัดวากายามะนั้น Mr. Tomonobu Nakamoto แผนกสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตจากศูนย์เทคโนโลยีประจำจังหวัด รายงานว่ามีธุรกิจในท้องถิ่นแสดงความประสงค์จัดซื้อหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แม้จะอยู่ในช่วงประหยัดค่าใช้จ่ายจากการระบาดของโควิด ต่างจากก่อนหน้านี้ซึ่งกลุ่ม SME ลังเลที่จะซื้อหุ่นยนต์ หรือซื้อไปแล้วใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอีกด้วย

 

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในช่วงสถานการณ์โควิด