ภาคอุตฯ ญี่ปุ่น VS. การรับมือกับการลดลงของประชากร

อัปเดตล่าสุด 23 เม.ย. 2561
  • Share :
  • 1,547 Reads   

ในช่วงปี 2011 นั้นนับว่าเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 6 ของญี่ปุ่น ทั้งการแข็งตัวของค่าเงินเยน เหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ ด้วยความรู้สึกต้องการรับผิดชอบ ประธานบริษัท Toyota Mr. Akio Toyoda ได้กล่าวเอาว่า “ไม่ว่าจะลำบากแค่ไหน ก็ต้องรักษาความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเอาไว้ให้ได้” โดยประกาศรักษากำลังผลิตของตนและบริษัทลูกในประเทศญี่ปุ่นให้เป็น 3 ล้านหน่วยให้ได้ ซึ่งในช่วงนั้นประธาน Toyoda เองยังได้ยอมรับว่ามันเป็นการกระทำที่แปลกประหลาดและไม่สมเหตุสมผลเท่าไรนัก

7 ปีให้หลัง Toyota ประสบความสำเร็จในการรักษากำลังผลิตในญี่ปุ่นไว้ที่ 3 ล้านหน่วยต่อปี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางด้านซัพพลายเชนนั้นย่ำแย่ลงจากเดิมมาก แม้ว่าค่าเงินเยนจะอ่อนตัวลงแล้ว แต่ด้วยแนวคิดเรื่อง “CASE” ซึ่งจะกลายเป็นนวัตกรรมในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น ทำให้ Toyota ต้องแบกรับภาระเรื่องต้นทุนชิ้นส่วนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งปัญหาการลดลงของประชากรยังส่งผลให้มีแรงงานไม่เพียงพออีกด้วย

จนกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่พีระมิดของอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นกำลังสั่นคลอนเลยทีเดียว ไม่เพียงผู้ผลิตยานยนต์เท่านั้น แต่ทางด้านซัพพลายเออร์เองก็มีท่าทีต่อสถานการณ์นี้ด้วยเช่นกัน โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ในเครือ Toyota นั้น ได้มองข้ามไปยังปี 2025 ซึ่งประชากรยุคเบบี้บูมเมอร์จะมีอายุมากกว่า 75 ปี ซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงานในภาพรวม วิเคราะห์แนวทางการลงทุน กลยุทธ์ การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ และการอบรบบุคลากร เพื่อรองรับการลดลงของคนงานจำนวนนับพันในอนาคต

ทางด้าน Toyoda Iron Works ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องเพรสนั้น ได้เริ่มมาตรการหนึ่งไว้ตั้งแต่ปี 2014 เพื่อรักษากำลังผลิตในญี่ปุ่นให้ได้ปีละ 2.5 ล้านหน่วย ด้วยการปรับปรุงไลน์การผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไลน์แต่ละส่วนไว้ในโรงงานแต่ละแห่ง รวมถึงนำ IoT เข้าใช้งาน

หลังจากนี้ การแก้ไขปัญหาแรงงานจะกลายเป็นปัญหาสำคัญสำหรับซัพพลายเออร์รายต่าง ๆ แม้กระทั่งในปัจจุบัน เช่น Yokoyama ซึ่งมีสินค้าหลักเป็นเบาะนั่งยานยนต์นั้น ได้นำเทคโนโลยีงานโลหะของตนไปใช้ผลิต Cocktail Shaker และเล็งไปที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในภัตตาคารเพิ่มเติม และจะใช้ช่องทางการขายซึ่งจะได้มาในเดือนพฤษภาคมนี้ในการวางจำหน่าย “สินค้าสิ้นเปลืองคุณภาพดี” เช่น ผ้าเช็ดตัวเพิ่ม

นอกจากนี้ แนวทางความต้องการก็มีท่าทีจะเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เห็นได้จากบริษัทเช่น DYNAX ซึ่งมีสินค้าหลักเป็นแผ่นคลัตช์สำหรับเกียร์ออโต้นั้น ได้เร่งพัฒนาสินค้าเพื่อรองรับการมาของ Wheel hub motor สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต โดยมี FOMM เป็นผู้ร่วมลงทุน ซึ่งประธานบริษัท DYNAX Mr. Koji Akita กล่าวว่า “แม้ว่าความต้องการแผ่นคลัตช์จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะไม่พัฒนาสินค้ามารองรับรถยนต์ไฟฟ้าเลยก็เป็นไปไม่ได้”

หลังจากนี้ คาดว่าการเพิ่มขึ้นของกำลังผลิตในประเทศญี่ปุ่นอย่างมากนั้นจะเป็นไปได้ยาก และการซื้อขายระหว่างผู้ผลิตยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนจะมีมากยิ่งขึ้น หาก Toyota ต้องการรักษาอัตราการผลิตของตนไว้เช่นนี้แล้ว สิ่งสำคัญคือการสนับสนุนจากซัพพลายเออร์ด้วย

 

อ่านต่อ

Toyota ประกาศเพิ่มยอดขายให้ถึง 80% ในปี 2023

TRAMI” ความร่วมมือครั้งใหญ่ของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วทั้งญี่ปุ่น

รถยนต์ไฟฟ้า “FOMM”