ส่งออกไทย 2565 เดือนมกราคม

ส่งออกไทย 2565 เดือน ม.ค. ขยายตัว 8% เทียบปีก่อน

อัปเดตล่าสุด 3 มี.ค. 2565
  • Share :
  • 1,700 Reads   

สถานการณ์ส่งออกในเดือนมกราคม 2565 ไทยยังคงรักษาตัวเลขส่งออกเหนือระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ตัวเลข 8% เมี่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน

วันที่ 2 มีนาคม 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ตัวเลขการส่งออกเดือนมกราคม 2565 มีมูลค่า 21,258.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 708,312 ล้านบาท ขยายตัว 8% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ท่ามกลางบรรยากาศการค้าโลกที่ฟื้นตัว ขณะที่ความรุนแรงของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น จึงส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในวงจำกัด

นอกจากนี้ IMF ยังมองว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2565 จะยังเติบโตได้ร้อยละ 4.4 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศหลักทั่วโลก ทั้งการค้า การผลิต การบริโภค และการเดินทาง จะกลับเข้าสู่ระดับปกติก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และปัญหาด้านสาธารณสุขจะลดลงสู่ระดับต่ำภายในสิ้นปี 2565 จากอัตราการฉีดวัคซีนทั่วโลกเพิ่มขึ้น และการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงส่งผลดีต่อการส่งออกไทยในระยะต่อไป

สรุปมูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม 2565 การส่งออก มีมูลค่า 21,258.6ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,785.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.5 ส่วนดุลการค้าขาดดุล 2,526.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปยังกลุ่มตลาดสำคัญส่วนใหญ่ยังคงขยายตัว (ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย และทวีปแอฟริกา) ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงบ้าง เนื่องจากการแพรระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่รวดเร็วในหลายประเทศ และส่งผลกระทบตออุปสงค (ความต้องการซื้อ) ของประเทศคู่ค้า

ภาพรวมการส่งออกไปกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 9.2 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 24.1 จีน ร้อยละ 6.8 ญี่ปุ่น ร้อยละ 0.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 13.2 CLMV ร้อยละ 2.3 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 1.4 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 5.1 ขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ร้อยละ 27.1 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 0.2 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 5.0 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 16.2 ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย และทวีปแอฟริกา หดตัวร้อยละ 4.1 และร้อยละ 9.2 ตามลำดับ และ 3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 0.9

ทั้งนี้ กรมศุลกากรมีการปรับปรุงรหัสสถิติสินค้าตามพิกัดศุลกากรเพื่อให้สอดคล้องกับพิกัดศุลกากร ระบบฮาร์โมไนซ์อาเซียน (AHTN) ฉบับปี 2022 ทำให้โครงสร้างหรือจำนวนรายการสินค้าส่งออก-นำเข้ามีการ
เปลี่ยนแปลง ซึ่งในขณะนี้การจัดกลุ่มสินค้าตามโครงสร้างสินค้าของกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างปรับให้สอดคล้องกับรหัสสถิติสินค้าระบบพิกัดศุลกากรฉบับปัจจุบัน โดยจะสามารถเผยแพร่ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์ในไตรมาสแรกของปี 2565

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH