หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robots) ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ คลังสินค้า และขนส่งเดลิเวอรี่

เทรนด์ ‘หุ่นยนต์เคลื่อนที่’ ในงานโลจิสติกส์

อัปเดตล่าสุด 23 ธ.ค. 2565
  • Share :
  • 7,629 Reads   

หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robots) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ คลังสินค้า และขนส่งเดลิเวอรี่ ด้วยความก้าวหน้าในวิทยาการหุ่นยนต์จะทำให้มีการใช้งานหุ่นยนต์บางชนิดเพิ่มขึ้น ในขณะที่หุ่นยนต์บางชนิดใกล้ถึงจุดอิ่มตัวในไม่ช้า

Mobile Robot คือ หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้ ถูกใช้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และคลังสินค้าเป็นหลัก ซึ่งครอบคลุมเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติ หรือ รถ AGV (Automated Guided Vehicle), หุ่นยนต์หยิบจับสินค้าแบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Picking Robot), หุ่นยนต์เดลิเวอรี่ (Delivery Robot), ไปจนถึงรถขนส่งสินค้าอัตโนมัติ และโดรนขนส่งสินค้า

จากความนิยมใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ชนิดต่าง ๆ งานโลจิสติกส์ คลังสินค้า และขนส่งเดลิเวอรี่ ทางสำนักวิเคราะห์ตลาด IDTechEx จึงรวบรวมข้อมูลนำมาคาดการณ์มูลค่าตลาด ซึ่งพบว่า ในปี 2032 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (รวมรถบรรทุกอัตโนมัติและโดรน) สำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีมูลค่า 8.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และในอีก 10 ปีข้างหน้า ตลาดจะมีมูลค่า 3.34 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

Advertisement

หุ่นยนต์เคลื่อนที่สำหรับงานโลจิสติกส์ภายในองค์กร (Intralogistics Mobile Robots)

หลายปีมานี้ ระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กร (Intralogistic) มักใช้รถ AGV (Automated Guided Vehicle)  หรือ AGC (Automated Guided Cart) ซึ่งก็คือหุ่นยนต์หรือรถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติในโรงงานนั่นเอง โดยรถนี้จะเคลื่อนที่ตามทางบนแถบแม่เหล็กซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบกริด

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่ต้องอาศัยการนำทางด้วยแถบแม่เหล็กนั้นเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลา และการปรับเปลี่ยนเส้นทางทำได้ยาก เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นจึงมีการพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอิสระ สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มาก และเคลื่อนที่ในระยะทางไกลได้ ทำให้แนวโน้มเอนเอียงไปทางหุ่นยนต์เคลื่อนที่อิสระมากกว่า จึงเป็นที่คาดการณ์ว่า รถ AGV จะเติบโตไปอีกระยะหนึ่งเท่านั้นก่อนชะลอตัวช่วงปี 2032 - 2037 และหลังจากนั้นตลาดจะอยู่ในภาวะถดถอย

อย่างไรก็ตาม การใช้ grid-based AGCs และ AGVs จะยังคงพบได้มากในศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าขนาดใหญ่ เนื่องจากสถานที่เหล่านี้มีพื้นที่มาก สามารถจัดแบ่งพื้นที่ได้ง่าย ทำให้การลำเลียงสินค้าจากชั้นวางไปยังพนักงานทำได้สะดวก โดยคาดว่าจะมีการเติบโตอย่างมากในปี 2030 

อีกเทคโนโลยีที่จะมีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบนำทาง ซึ่งอัลกอริทึม SLAM (Simultaneous localization and mapping) จะช่วยให้หุ่นยนต์สามารถจัดทำแผนที่และนำทางตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำทางจากภายนอก การใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้แบบอัตโนมัติ (Autonomous Mobile Robots: AMRs) มีค่าใช้จ่ายลดลง ประหยัดเวลาได้มากขึ้น มีความยืดหยุ่น และติดตั้งได้ง่ายกว่าที่ผ่านมา จึงคาดการณ์ว่า ตลาด AMRs จะเริ่มเติบโตอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2042 เป็นต้นไป ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้เริ่มมีการลงทุนเข้าซื้อกิจการของบริษัทที่มีเทคโนโลยีนี้

หุ่นยนต์หยิบจับสินค้าเคลื่อนที่ได้ (Mobile Picking Robot)

หุ่นยนต์หยิบจับสินค้าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งในปัจจุบัน หลายบริษัทใช้หุ่นยนต์หยิบสินค้าบนชั้นวาง (Shelf Picking Robot) ไปจนถึงการใช้โรบอทหยิบสินค้าทั้งกล่อง (Case Picking Robot) ซึ่งโดยทั่วไปสามารถหยิบจับกล่องได้หลายขนาดด้วยงายกของแบบ Telescopic และกริปเปอร์สูญญากาศ (Vacuum Gripper)

เทคโนโลยีมือหุ่นยนต์กำลังอยู่ในการพัฒนาเพื่อให้สามารถหยิบจับสิ่งของที่มีรูปทรงซับซ้อนได้มากขึ้น ซึ่งมือหุ่นยนต์จะนำไปติดตั้งกับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Manipulator) แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังไม่ดีนักและมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้ Picking Robot จะยังคงครองส่วนแบ่งหลักในตลาด ในขณะที่ Mobile Manipulator จะเริ่มเติบโตหลังปี 2035

รถบรรทุกอัตโนมัติระดับ 4 (Heavy Duty Level 4 Trucking)

การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์มานาน อย่างไรก็ตาม การขนส่งด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องบริหารจัดการพนักงานขับรถซึ่งเป็นกระบวนการที่ยุ่งยาก ในอนาคตที่เทคโนโลยีด้านการขับขี่อัตโนมัติและการจัดขบวนรถขนส่งสินค้าอัตโนมัติจะเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เป็นที่คาดการณ์ว่ารถบรรทุกอัตโนมัติระดับ 4 จะเริ่มมีการเติบโตตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป

หุ่นยนต์เดลิเวอรี่จัดส่งสินค้า (Delivery Robot)

การจัดส่งสินค้าในช่วงสุดท้าย (Last mile delivery) ที่ลำเลียงสินค้าลงจากรถแล้วจัดส่งไปถึงหน้าประตูบ้านผู้รับเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในกระบวนการโลจิสติกส์ ทำให้เริ่มมีการใช้หุ่นยนต์เดลิเวอรี่จัดส่งสินค้า (Delivery Robot) มาทดแทนวิธีการเดิม จากการคำนวณพบว่า การใช้ Delivery Robot จัดส่งสินค้าในช่วงสุดท้าย สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ราว 55% ในเส้นทางระยะสั้น และมีโอกาสที่จะลดลงได้มากถึง 80% เลยทีเดียว

แม้หุ่นยนต์เดลิเวอรี่จะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็มีการใช้หุ่นยนต์ถึง 3 ประเภทด้วยกัน คือ รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ (Autonomous Delivery Vans), Sidewalk Robots หุ่นยนต์ส่งของที่วิ่งบนทางเท้า, และโดรนขนส่งสินค้า

รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ และ Sidewalk Robots เป็นโซลูชันการขนส่งทางบก ซึ่งคาดการณ์ว่าทั้งสองชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก และวิ่งด้วยความเร็วต่ำในพื้นที่จำกัด ทำให้การพัฒนาเทคโนโลนีชนิดนี้ไม่ซับซ้อนมากหากเทียบกับยานยนต์อัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่ต้องวิ่งเป็นระยะทางไกลพร้อมแผนที่แบบเรียลไทม์ 

สำหรับรถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติจะมีพื้นที่เก็บของมากกว่า และมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานกว่า Sidewalk Robots ทำให้เหมาะสำหรับการลำเลียงสินค้าขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไปยังเป้าหมายหลายแห่งในการขนส่งเที่ยวเดียว ในทางกลับกัน Sidewalk Robots ที่มีขนาดเล็กและมีราคาต่ำกว่า สามารถใช้งานได้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าได้พร้อมกันหลายแห่ง

ส่วนโดรนขนส่งสินค้านั้น แม้จะมีราคาสูง มีข้อกำจัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมายรองรับ แต่ก็มีความเร็วในการขนส่งสินค้าสูงกว่า

รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ และ Sidewalk Robots เป็นโซลูชันการขนส่งทางบก ซึ่งคาดการณ์ว่าทั้งสองชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก และวิ่งด้วยความเร็วต่ำในพื้นที่จำกัด ทำให้การพัฒนาเทคโนโลนีชนิดนี้ไม่ซับซ้อนมากหากเทียบกับยานยนต์อัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่ต้องวิ่งเป็นระยะทางไกลพร้อมแผนที่แบบเรียลไทม์ 

รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ มีพื้นที่เก็บของมากกว่า และมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานกว่า Sidewalk Robots ทำให้เหมาะสำหรับการลำเลียงสินค้าขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไปยังเป้าหมายหลายแห่งในการเดินทางเที่ยวเดียว ในทางกลับกัน Sidewalk Robots ที่มีขนาดเล็กและมีราคาต่ำกว่า สามารถใช้งานได้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าได้พร้อมกันหลายแห่ง

ส่วนโดรนขนส่งสินค้านั้น แม้จะมีราคาสูง มีข้อกำจัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมายรองรับ แต่ก็มีความเร็วในการขนส่งสินค้าสูงกว่า

เป็นที่คาดการณ์ว่า รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติจะเป็นตัวเลือกหลักสำหรับ Last mile delivery และมีสัดส่วนมากถึง 75% ของการขนส่งสินค้าทางบกในปี 2042 ในขณะที่โดรนขนส่งสินค้าจะยังต้องอาศัยเวลาอีกมากกว่าตลาดจะเริ่มเติบโต

 

#Delivery Robot #หุ่นยนต์เดลิเวอรี่ #หุ่นยนต์ขนส่งสินค้า #หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ #โลจิสติกส์ #Logistics #Robot #Logistics #โดรนขนส่งสินค้า #Drone #AGV #รถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติ #โซลูชัน โลจิสติกส์ #Robot #เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์  #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH