คาดการณ์ตลาดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน 2030

จับตา “ตลาดแบตลิเธียม” คาดความจุทั่วโลกโต 5 เท่าในปี 2030

อัปเดตล่าสุด 28 มี.ค. 2565
  • Share :
  • 2,660 Reads   

จากการขยายตัวของผู้ใช้หลักของแบตเตอรี่ลิเธียมฯ ซึ่งก็คือรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้กำลังการผลิตทั่วโลกในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ การลงทุนสร้างโรงงานแบตเตอรี่จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองโอกาสที่ถูกคาดการณ์ว่า ความต้องการแบตเตอรีลิเธียมไออนจะเติบโตสูงถึง 5 เท่าภายปี 2030

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2022 Wood Mackenzie บริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงานและอื่น ๆ เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทั่วโลกจะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 5,500 gigawatt-hour (GWh) ในปี 2030 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2021 มากถึง 5 เท่า และมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมากกว่า 300 แห่งทั่วโลก

โดยในปี 2021 ที่ผ่านมา จีนเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนอันดับ 1 มีกำลังการผลิตคิดเป็น 90% ของกำลังการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมทั่วโลก แต่สัดส่วนนี้จะลดลงเหลือ 69% จากการขยายการลงทุนในยุโรปและอเมริกาทำให้มีกำลังการผลิตในระดับโลกเพิ่มขึ้น

 

Advertisement

นาย Jiayue Zheng ที่ปรึกษาจาก Wood Mackenzie เปิดเผยว่า ความต้องการแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในปัจจุบันเกือบ 80% มาจากรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดการณ์ว่า วิกฤตวัตถุดิบราคาแพงตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมานี้ จะทำให้กำลังการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการจนถึงปี 2023

อีกหนึ่งแนวโน้มที่ควรติดตาม คือ แบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต (Lithium Iron phosphate) หรือ LFP กำลังเริ่มแย่งส่วนแบ่งตลาดจากแบตเตอรี่ลิเธียมลิเธียมนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์ (nickel-cobalt-manganese) หรือ NCM ซึ่งในปีที่ผ่านมา แบตเตอรี่ลิเธียม NCM มีสัดส่วนคิดเป็นครึ่งหนึ่งของตลาดโลก แต่มีราคาสูง จึงคาดการณ์ว่าแบตเตอรี่ลิเธียม LFP จะมีสัดส่วนแซงหน้าได้ในปี 2028 เนื่องจากมีราคาถูกกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า และปลอดภัยกว่า

ด้วยความต้องการที่พุ่งสูงเช่นนี้เองทำให้ค่ายรถต่างประกาศแผนขยายธุรกิจอีวีอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างเช่นฟอร์ดที่มีแผนเปิดตัวอีวี 7 รุ่นเข้าสู่ตลาดยุโรปภายในปี 2024 และร่วมมือกับ Volkswagen เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่

ส่วนทางด้าน GM ได้มีการประกาศร่วมมือกับ POSCO Chemical จากเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาฐานการผลิตวัสดุแบตเตอรี่ในแคนาดา และคาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในปี 2025

Contemporary Amperex Technology (CATL) ซัพพลายเออร์ของเทสล่า ก็มีแผนขยายกำลังการผลิตเช่นเดียวกัน โดยมีแผนลงทุนโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในอเมริกาเหนือ เม็กซิโก และแคนาดา รวมแล้วกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดย Wood Mackenzie คาดการณ์ว่า จะยังมีอีกหลายบริษัทที่จะประกาศแผนสร้างโรงงานแบตเตอรี่แห่งใหม่ภายในปี 2022 นี้อีกด้วย

 

ความคืบหน้าด้านแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจากฝั่งญี่ปุ่น

 

#แบตลิเธียม #แบตเตอรี่ยานยนต์ #แบตรถยนต์ไฟฟ้า #อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ #โรงงานแบตเตอรี่ #เทคโนโลยีแบตเตอรี่ #Investment #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH