ส่งออกไทย 2566 เดือนกรกฎาคม (ก.ค.) กระทรวงพาณิชย์, ส่งออกไทย กรฎาคม 2566, ส่งออกไทยไปจีน, ส่งออกไทยล่าสุด, ส่งอกไทย ก.ค. 66

ส่งออกไทย 2566 เดือน ก.ค. หดตัว 6.2% ลดลง 10 เดือนติด

อัปเดตล่าสุด 26 ส.ค. 2566
  • Share :
  • 15,364 Reads   

สถานการณ์ส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2566 ไทยทำตัวเลขส่งออกอยู่ที่ระดับ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 6.2% เมี่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลง 10 เดือนติด

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่า 22,143.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (764,444 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 6.2 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.0 ผลของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของโลกลดต่ำลงมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในยูเครน ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องชะลอลงอย่างมาก ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายภูมิภาค และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้การบริโภคชะลอตัว อีกทั้ง จีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลกฟื้นตัวช้าลงจากกำลังซื้อในประเทศที่หดตัวจากการขาดความเชื่อมั่นทางธุรกิจ

อย่างไรก็ดี จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านอาหารของโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอาหารเติบโตได้ดี โดยเฉพาะข้าว ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และสุกรสด แช่เย็น แช่แข็ง ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมของไทยมีสัญญาณที่ดีจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า โซลาร์เซลล์ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ยางรถยนต์ และเครื่องจักรกล เป็นต้น ทั้งนี้ การส่งออกไทย 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.5 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.3

สรุปมูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกรกฎาคม 2566 การส่งออก มีมูลค่า 22,143.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,121.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 11.1 ดุลการค้า ขาดดุล 1,977.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 7 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 163,313.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 171,598.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.7 ดุลการค้า 7 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 8,285.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 9.6 (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 7.7 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 11.8 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 5.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ฮ่องกง สหรัฐฯ ญี ปุ่น และแคนาดา) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 18.8 กลับมาขยายตัว หลังจากหดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ มาเลเซีย และแคเมอรูน) สิ่งปรุงรสอาหารขยายตัวร้อยละ 17.8 กลับมาขยายตัว หลังจากหดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่นเนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 17.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน(ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และออสเตรเลีย) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 27.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์ และฮ่องกง) ไข่ไก่สด ขยายตัวร้อยละ 92.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ญี ปุ่น ไต้หวัน และมาเก๊า)

 

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ยางพารา หดตัวร้อยละ 37.8 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี ปุ่น และตุรกี แต่ขยายตัวในตลาดอิตาลี และกัมพูชา) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 12.9 หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และซาอุดีอาระเบีย แต่ขยายตัวในตลาดลิเบีย อิสราเอล จีน ชิลี และสหราชอาณาจักร) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 30.3 หดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดเกาหลีใต้ กัมพูชา ไต้หวัน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ ลาว จีน สหรัฐฯ และเวียดนาม) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 7.7 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์และนิวซีแลนด์) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 11.4 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และเบลเยียม) ไขมันและน้ำามันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 62.8 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดเมียนมา มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง และไต้หวัน) ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 3.7

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 3.4 (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 24.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย และเม็กซิโก) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 40.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เม็กซิโก ญี่ปุ่น และไต้หวัน) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 82.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 29.4 ขยายตัวต่อเนื อง 21 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก อิตาลี และฮ่องกง) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 10.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เบลเยียม สหรัฐฯ บราซิล และเนเธอร์แลนด์) ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ขยายตัวร้อยละ 15.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 28.8 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในญี่ปุ่น ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ โอมาน และบราซิล) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 24.2 หดตัวต่อเนื อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง และสิงคโปร์แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐเช็ก และฝรั งเศส) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 6.2 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ บราซิล และแอฟริกาใต้) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม หดตัวร้อยละ 24.0 หดตัวต่อเนื อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย เวียดนาม และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดจีน กัมพูชา นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี) ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.0

ตลาดส่งออกสำคัญ

ภาพรวมการส่งออกไปยังตลาดส าคัญยังมีความไม่แน่นอน โดยยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ดี แม้ว่าการส่งออกไปตลาดหลัก อาทิ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และยุโรปจะหดตัว แต่การส่งออกไปตลาดรองส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี

ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 9.6 โดยกลับมาหดตัวในตลาดจีนและญี่ปุ่น ร้อยละ 3.2 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ หดตัวต่อเนื่องในตลาดอาเซียน (5) CLMV และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 18.3 ร้อยละ 26.5 และร้อยละ 6.6 ตามลำดับ ขณะที ตลาด สหรัฐฯ กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.9 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 0.8 โดยขยายตัวเกือบทุกตลาด ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 2.4 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 8.2 แอฟริกา ร้อยละ 3.1 ลาตินอเมริกา 14.8 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 39.2 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 5.8 ขณะทีตลาดเอเชียใต้ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ร้อยละ 5.6  (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 66.8 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 64.9

แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป

สำหรับแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าการส่งออกจะได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว การผลิตและการบริโภคชะลอลง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และความผันผวนของค่าเงิน แต่คาดว่าฐานที่ต่ำในช่วงปลายปี ภาคบริการของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว และอานิสงส์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีน ทำให้คู่ค้าหันมานำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางตัวจากไทยทดแทนตลาดจีนมากขึ้น ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าในหมวดอาหารที่เป็นสินค้าจำเป็น มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยหลายประเทศเพิ่มการนำเข้าเพื่อรักษาความมั่นคงทางด้านอาหาร และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในเส้นทางใหม่ผ่าน รถไฟไทย-ลาว-จีน จะช่วยเพิ่มโอกาสการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH