วิกฤตซัพพลายเชน ผลกระทบจากโควิด 19 ต่อธุรกิจ

จับตาภาคธุรกิจ ฝ่าวิกฤตซัพพลายเชน โดมิโน่เอฟเฟกต์จากโควิด

อัปเดตล่าสุด 19 ส.ค. 2564
  • Share :
  • 2,118 Reads   

การฟื้นตัวของภาคธุรกิจขนาดใหญ่กำลังเดินหน้าด้วยดี สืบเนื่องจากการกระจายวัคซีนที่มีคุณภาพในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาชิปขาดตลาด การขาดแคลนชิ้นส่วน การขึ้นราคาวัตถุดิบ ปัญหาภาคการขนส่ง ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิดนำสู่วิกฤตซัพพลายเชนที่ต้องฝ่าฟันกันต่อไป

Advertisement

 

ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวเชื่อมั่น ธุรกิจฟื้นตัว กำไรดี แต่มีปัจจัยเฝ้าระวัง

SMBC Nikko Securities บริษัทหลักทรัพย์และการลงทุนจากญี่ปุ่น จัดทำรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจาก 1,335 บริษัทจากกระดานแรกของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ที่ผ่านมานี้ มีบริษัทที่ฟื้นตัวจากโควิด และทำกำไรได้ดีกว่าที่คาดการณ์รวม 1,045 บริษัท รายละเอียดดังนี้

  • อุตสาหกรรมการผลิต ทำกำไร 534 บริษัทจากทั้งหมด 641 บริษัท
  • อุตสาหกรรมอื่น ๆ ทำกำไร 412 บริษัทจากทั้งหมด 569 บริษัท

จากการสำรวจ บริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตให้เหตุผลว่า สาเหตุที่บริษัทมีผลกำไรมากกว่าที่คาดการณ์เป็นเพราะการกระจายวัคซีนที่รวดเร็วในหลายประเทศ ในขณะที่ ธุรกิจในสหรัฐฯ และยุโรป สามารถกลับมาดำเนินการได้รวดเร็วกว่าคาดการณ์ โดยมีกลุ่มสินค้าที่น่าจับตามองคือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 มียอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้าถึง 62.8% ส่วนบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมโลหะการที่สามารถพลิกกลับมาทำกำไรก็มีจำนวนมากเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมี 188 บริษัทจาก 1,335 บริษัท ได้เปิดเผยว่าจะมีการปรับแก้ตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการณ์ในปีงบประมาณ 2021 ให้สูงขึ้นจากเดิม และมีเพียง 19 บริษัทเท่านั้นที่ปรับแก้ให้ตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการลดลง รายละเอียดดังนี้

  • อุตสาหกรรมการผลิต ปรับแก้ตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการเพิ่มขึ้น 132 บริษัทจากทั้งหมด 641 บริษัท
  • อุตสาหกรรมอื่น ๆ ปรับแก้ตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการเพิ่มขึ้น 53 บริษัทจากทั้งหมด 569 บริษัท

Mr. Hikaru Yasuda นักวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์แผนกตลาดหลักทรัพย์จาก SMBC Nikko Securities รายงานว่า บริษัทในกระดานแรกยังคงเฝ้าระวังการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้า และยังคงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างมั่นคงจากการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธภาพอย่างต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะต้องเฝ้าระวังในปี 2021 นี้ อาจไม่ใช่โควิดโดยตรง แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากโควิดอีกทอดหนึ่งทำให้เกิดวิกฤติซัพพลายเชนโลก ทั้งการขาดแคลนชิ้นส่วน ชิปเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงการขาดแคลนแรงงานในหลายส่วน, วัตถุดิบขึนราคา, และค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น

 

ปัญหาของค่ายรถ ชิปไม่เพียงพอต่อความต้องการ

หนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการฟื้นตัวจากโควิดอย่างโดดเด่น คืออุตสาหกรรมยานยนต์ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวนี้กลับประสบอุปสรรคจากวิกฤตชิปขาดตลาด โดยค่ายรถญี่ปุ่นได้รับผลกระทบ ดังนี้

Honda เปิดเผยว่าปีงบประมาณ 2021 อาจมียอดขายยานยนต์ทั่วโลกน้อยกว่าการคาดการณ์ 150,000 คัน โดย Mr. Seiji Kuraishi รองประธานบริษัท แสดงความเห็นว่า “จำเป็นต้องเร่งลดผลกระทบจากวิกฤตชิปขาดตลาด โดยเฉพาะในตลาดเอเชียอย่างเร่งด่วน”

Subaru มีการปรับแก้ตัวเลยยอดขายยานยนต์ทั่วโลกลงจากเดิม 4 หมื่นคัน Mr. Katsuyuki Mizuma กรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส แสดงความเห็นว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้คือการจัดหาชิปเซมิคอนดักเตอร์ให้เพียงพอ เนื่องจากมีความกังวลว่าราคาชิปจะพุ่งสูงขึ้น

Toyota ผลิตยานยนต์ได้ต่ำกว่าเป้า 100,000 คันในไตรมาสที่ 2

Mazda คาดการณ์ว่าจะผลิตยานยนต์ได้ต่ำกว่าเป้า 100,000 คันในปีงบประมาณ 2021 

 

อิเล็กทรอนิกส์สะดุด ลามถึงผู้บริการเครือข่ายและผลิตภัณฑ์ 5G

ส่วนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นั้น ผลกระทบจากวิกฤตชิปขาดตลาดได้เข้ามาขัดขวางการฟื้นตัวจากโควิดเช่นเดียวกัน 

  • Fujitsu ได้รับผลกระทบในกลุ่มผลิตภัณฑ์ 5G
  • NEC เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทั้งผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนทั่วไป และชิ้นส่วนคุณภาพสูง
  • Canon จำเป็นต้องปรับดีไซน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ และเรียกร้องให้ซัพพลายเออร์ผลิตชิปเพิ่ม
  • Casio คาดว่ารายได้จากการดำเนินงานจะลดลง 500 ล้านเยน หรือราว 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
  • Nidec ได้รับผลกระทบในกลุ่มผลิตภัณฑ์มอเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งพบว่าไม่สามารถลดต้นทุนให้ต่ำกว่านี้ได้อีกแล้ว
  • Omron รายได้จากการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 2021 ติดลบ 2,800 ล้านเยน หรือราว 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมการผลิตก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในญี่ปุ่นอย่าง Rakuten Mobile และ KDDI พบว่าไม่สามารถเปิดให้บริการเครือข่าย 5G ได้ตามกำหนดเนื่องจากมีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ไปจนถึงมีรายได้ลดลงเนื่องจากไม่สามารถจัดโปรโมชันได้เพราะมีสมาร์ทโฟนไม่เพียงพอ ซึ่ง Mr. Junichi Miyagawa ประธานบริษัท SoftBank Group แสดงความกังวลว่า iPhone อาจจะเริ่มผลิตไม่ทันความต้องการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป

 

ผู้ผลิตจะแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หรือ ขึ้นราคาสินค้า

ปัญหาวัตถุดิบราคาแพง เป็นอีกปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอย่างมาก  

Kohei Takeuchi กรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัทฮอนด้า เปิดเผยว่าในปีงบประมาณ 2021 ฮอนด้าอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 250,000 แสนล้านเยน หรือราว 2,265 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และคาดการณ์ว่าอะลูมิเนียมและพลาสติกจะแพงขึ้นหลังจากนี้

Naoto Nakamata กรรมการผู้จัดการ บริษัทอีซูซุ รายงานว่า ปัจจุบันบริษัทมียอดขายยานยนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคง และปัญหาวัตถุดิบราคาแพงยังไม่กระทบกับบริษัท อย่างไรก็ตาม หากเหล็กและโลหะอื่น ๆ ยังมีราคาแพงขึ้นอีก อาจจะกระทบต่อรายได้จากการดำเนินงาน 10,000 ล้านเยน หรือราว 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โตโยต้า นิสสัน และมาสด้า ต่างรายงานตรงกันว่า ทางบริษัทจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบอย่างเร่งด่วน ในขณะที่ซัพพลายเออร์ของค่ายรถหลายรายเห็นพ้องกันว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับค่ายรถ เพื่อพัฒนาสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้

Hirokazu Umeda CFO บริษัทพานาโซนิค รายงานว่าในไตรมาสที่ 2 บริษัทยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาทองแดง แต่คาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2021 นี้ ราคาทองแดงจะแพงขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก ทางบริษัทจึงอาจจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องการใช้วัตถุดิบ หรืออาจต้องขึ้นราคาสินค้าก็เป็นได้

Ken Horikoshi CFO บริษัทโคมัตสุ เปิดเผยว่าบริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานลดลง 3,100 ล้านเยน หรือราว 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังโชคดีที่เครื่องจักรก่อสร้างทำยอดขายได้มาก

Keiichiro Shioshima เจ้าหน้าที่บริหาร Hitachi Construction Machinery เล่าว่าราคาเหล็กกล้าทำให้รายได้บริษัทในเดือนเมษายน 2021 ลดลง 200 ล้านเยน หรือราว 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่คาดว่าทั้งปีงบประมาณ 2021 นี้จะยังมีกำไรเท่าที่คาดการณ์ เนื่องจากเล็งเห็นว่าความผันผวนของราคาวัตถุดิบเป็นเรื่องที่ต้องประเมินไว้อยู่แล้ว

Yuichi Kitao ประธานบริษัทคูโบต้า รายงานว่า บริษัทมีวัตถุดิบคงเหลือในสต็อกจำนวนมากจากปีที่แล้ว  จึงไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวัตถุดิบราคาแพงมากนัก แต่ก็ยอมรับว่ามีผลกระทบจริง

Hidetaka Matsuishi CFO บริษัท Ricoh เล่าว่าบริษัทได้รับผลกระทบจากค่าขนส่งสินค้าทางเรือที่สูงขึ้น และอาจต้องพิจารณาปรับราคาสินค้า

Masahiko Mori ประธานบริษัท DMG MORI เปิดเผยว่าเกิดการจัดส่งชิ้นส่วนล่าช้าจากวิกฤตซัพพลายเชน 

Kazuhisa Makino เจ้าหน้าที่บริหารบริษัท JTEKT รายงานว่าต้นทุนของสินค้าต่อชิ้นเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากราคาค่าขนส่งสินค้า


#ผลกระทบจากโควิด 19 ต่อธุรกิจ #วิกฤตซัพพลายเชน 2021 #วิกฤตซัพพลายเชน #Supply Chain Crisis 2021 #โลจิสติกส์ #ตู้สินค้าขาดแคลน #ชิ้นส่วนขาดตลาด #ชิปขาดตลาด #วิกฤต ชิป #ชิป รถยนต์ ขาดตลาด #Semiconductor ขาดตลาด #Semiconductor Shortage 2021 #ผลกระทบ ชิปขาดแคลน #ขึ้นราคา #ราคาวัตถุดิบ #สินค้าราคาแพง #ซัพพลายเชน #ปัญหาการขนส่งสินค้า #5G #M Report #Mreport #ข่าวออนไลน์ เอ็ม รีพอร์ต #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรมการผลิต

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH