อุตสาหกรรมพลาสติกไทย 2564 สถานการณ์และแนวโน้ม

อุตสาหกรรมพลาสติกไทย 2564 ไตรมาส 2 สถานการณ์และแนวโน้ม พบดัชนีผลผลิต-ส่งสินค้าหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้า

อัปเดตล่าสุด 1 ก.ย. 2564
  • Share :
  • 1,941 Reads   

สถานการณ์ของอุตสาหกรรมพลาสติกไทย ปี 2564 ประจำไตรมาสที่ 2 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3 จากข้อมูลโดยกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)  

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกไทย

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกหดตัวร้อยละ 0.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ขยายตัวร้อยละ 0.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดัชนีผลผลิตที่ขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ พลาสติกแผ่น

ดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติกไทย

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติกหดตัวร้อยละ 3.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และหดตัวร้อยละ 0.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ ท่อและข้อต่อพลาสติก

 

ดัชนีผลผลิต – ดัชนีการส่งสินค้า 

อุตสาหกรรมพลาสติกไทย 2564 สถานการณ์และแนวโน้ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม


มูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมพลาสติกไทย

ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 อุตสาหกรรมพลาสติกมีปริมาณการส่งออกรวม 1,112.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวตัวร้อยละ 0.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ขยายตัวร้อยละ 24.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) 

มูลค่าการนำเข้าอุตสาหกรรมพลาสติกไทย

ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 อุตสาหกรรมพลาสติกมีปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และขยายตัวร้อยละ 17.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนําเข้าขยายสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922)

 

ปริมาณการส่งออก – การนำเข้า (ตัน) 

อุตสาหกรรมพลาสติกไทย 2564 สถานการณ์และแนวโน้ม

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาส 3 ปี 2564 

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 3 ปี 2564 คาดว่าการส่งออกและการนําเข้าจะขยายตัว เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศคู่ค้าหลักยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องคํานึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ทั้งจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ และสถานการณ์ความผันผวนของราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกอาจส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนวัตถุดิบ

 

อ่านย้อนหลัง:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH