อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2564 ไตรมาส 3 - แนวโน้มไตรมาส 4

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2564 ดัชนีผลผลิตไตรมาส 3 ปรับตัวลดลง - แนวโน้มไตรมาสถัดไปยังหนัก

อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 2564
  • Share :
  • 2,427 Reads   

สถานการณ์ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ปี 2564 ประจำไตรมาสที่ 3 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4 จากข้อมูลโดยกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)  

Advertisement

สถานการณ์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2564

 

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิตของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ 96.0 โดยลดลงร้อยละ 3.0 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า

  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์ (PCBA), แผงวงจร (PWB), วงจรรวม (IC), Semiconductor devices transistor โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 11.4 25.3 และ 20.3 ตามลําดับ

  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่  Printer และ HDD โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 12.2 และ 10.6 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิต อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังจําเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สําหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทําให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 10,907.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 

  • สินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนําและส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ และวงจรรวม (IC) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร์อยละ 22.1 16.8 และ 15.6 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2564 ไตรมาส 3 - แนวโน้มไตรมาส 4

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  

 

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รวมมูลค่า 10,740.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.2 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่สหรัฐอเมริกา จีน และเอเชีย

  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนําและส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ (PCBA) และ วงจรรวม (IC) เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.8 21.4 และ 16.4 ตามลําดับ

  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.8

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2564 ไตรมาส 3 - แนวโน้มไตรมาส 4

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  

 

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 

 

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 คาดว่าดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลง เนื่องจากการขาดแคลนของวัตถุดิบในการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ จึงทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เต็มกำลังการผลิต แต่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของตลาดโลกและตลาดผู้บริโภคหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว เช่น ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทยน่าจะมีการผลิตและการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นในระยะยาวตามการขยายตัวของตลาดโลก

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ต้องจับตา ได้แก่ สถานการณ์ขาดแคลนชิปทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อ Supply Chain การผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ และอาจส่งผลต่อการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศในระยะสั้นได้

 

อ่านบทความ: ผลกระทบของการขาดแคลนชิปวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) ต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH